GSEDA: Theses

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 108
  • Thumbnail Image
    Item
    ความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย: กรณีศึกษาโครงการ วอเตอร์ฟรอนท์ พัทยา ไทยแลนด์
    นุชนา สกุลสถาพร; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    ในปัจจุบันเมืองพัทยามีการพัฒนาคอนโดมิเนียมตามแนวชายหาดพัทยาอย่างกระจัดกระจายตั้งแต่พัทยาเหนือจรดพัทยาใต้อย่างไรก็ตามการพัฒนาดังกล่าวมีทั้งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบสําหรบผลกระทบทางลบหากไม่ไดรับการแก้ไขหรือเยียวยาจะนํามาซึ่งความขัดแย้ง ดังเช่นกรณีความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์กับคนเมืองพัทยาดังนั้น การวจิยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งสาเหตุของความขัดแย้งจากการพัฒนาโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์พัทยาไทยแลนด์และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนโดยรอบผู้พัฒนาโครงการกับหน่วยงานของรัฐโดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกบการทบทวนวรรณกรรมผลการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งตามวงกลมแห่งความขัดแย้งได้แก่ความเชื่อต่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ระหว่างประชาชนในพื้นที่กับผู้พัฒนา โครงการและประชาชนยังไม่เชื่อมั่นในขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างและขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประชาชนผู้อาศัยโดยรอบยังขาดการรับรู้ข้อมูลโครงการจากผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานภาครัฐเมื่อความขัดแย้งไม่ได้รับการแก้ไขผู้พัฒนาจึงไม่สามารถดําเนินการโครงการต่อไปได้นําไปสู่ความขัดแย้งระหว่างผู้พัฒนาโครงการและหน่วยงานรัฐจากการเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจส่วนเสนอแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งนั้นพบว่าหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นควรร่วมกันหาข้อเท็จจริงชี้แจงและไกล่เกลี่ยโดยคนกลางรวมทั้งผู้พัฒนาโครงการจะต้องดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการทางสิ่งแวดล้อมอย่างเครงครัด
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลือง รุ่น f2
    พัชริดา ตริยาสุข; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาผลกระทบจากแคดเมียมที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของถั่วเหลืองรุ่น f2 โดย การปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 เพื่อศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะภายนอก และการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60 รุ่น f1 ในดินที่มีความเข้มข้นของแคดเมียมในการปลูกแตกต่างกัน และรุ่น f2 ที่น ามาปลูกต่อในดินที่ไม่ผสมแคดเมียม เพื่อทราบปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในดินที่สามารถนำมาใช้ในการปลูกถั่วเหลืองเพื่อการขยายพันธุ์(f1) ทำการวิจัยเชิงทดลองโดยการน าถั่วเหลือง รุ่น f1 ปลูกในกระถางบรรจุดินน้ำหนัก 4.50กิโลกรัม ปริมาณความเข้มข้นของแคดเมียมไนเตรทในดินที่แตกต่างกัน คือ 0, 20.0, 40.0, 60.0, 80.0 และ 100 พีพีเอ็ม จำนวนความเข้มข้นละ 40 ซ้ำ วางแผนแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปปลูกต่อจนได้ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60รุ่น f2 ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ปริมาณแคดเมียมในดินส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนะด้านโปรตีนและไขมันของถั่วเหลือง ทั้งรุ่น f1 และ f2 อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี
    เสาวลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาคร้ังนี้เป็นงานวิจยัเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหา ด้านขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี วิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียจากการจัดการมูลฝอยชุมชนของปทุมธานีร่วมกับการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการทบทวนวรรณกรรม และใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPP-I Model เป็นกรอบในการศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานีแล้วตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ด้านข้อมูล (Data Triangulation)จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่คุณภาพ และพิจารณาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานี โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร (SWOT Analysis) และนำ SWOT Matrix มาดำเนินการประเมิน และวิเคราะห์ เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมของปทุมธานีต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีมีนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของจังหวัดปทุมธานีสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และสามารถแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมภายในจังหวัดได้สำเร็จ แต่ปัจจุบันยังไม่มีสถานที่กำจัดที่ถูกตอ้งตามหลักวิชาการภายในจังหวัด ทำให้ต้องขนส่งไปทิ้งที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะที่ตำบลเชียงรากใหญ่นั้น ยังไม่สำเร็จเพราะประชาชนคัดค้านและจากการวิเคราห์ SWOT พบว่า มีจุดแข็ง คือ หน่วยงานภาครัฐตอบรับนโยบายจากส่วนกลาง และหน่วยงานภาครัฐส่วนทอ้งถิ่นมีโครงการจดัการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม จุดอ่อน คือ องค์การปกครองส่วนทอ้งถิ่น (อปท.) มีงบประมาณประจำปีในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแต่ทำได้ช้าเพราะต้องรองบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัด ปทุมธานีไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประชาชนปฏิเสธสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหากอยในพื้นที่ชุมชนตนเองโครงการของภาครัฐยังเข้าถึงประชาชนไม่ครบถ้วน ด้านโอกาส คือ นโยบายภาครัฐในทุกระดับสอดคล้องกัน บริษัท เอกชนสนใจลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าจากพลงังานขยะ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเดิมในจังหวัดสามารถปรับปรุงและเปิดดำเนินการได้ มีพื้นที่เหมาะสมสำหรับสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแห่งใหม่ มีปริมาณขยะมากเพียงพอสำหรับการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ และประชาชนเข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ต่อรองกับหน่วยงานรัฐได้ส่วนอุปสรรค คือ ประชาชนไม่เชื่อมั่นภาครัฐในการสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในทุกรูปแบบ และมีประชากรแฝงมาก แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี (TOWS Matrix) 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์เชิงรุกได้แก่ให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับเอกชนในโครงการพัฒนาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในจังหวัด กลยุทธ์เชิงป้องกัน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่นต้องเข้าถึงประชาชนทั้งในด้านความสัมพันธ์และการให้ข้อมูลข่าวสารกลยุทธ์เชิงแก้ไข ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในปทุมธานี ของบประมาณจากส่วนกลางเพิ่มเพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะเดิมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนกับประชาชนทุกระดับ กลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยตั้งงแต่ต้นทางและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง รวมถึงให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดปทุมธานี
  • Thumbnail Image
    Item
    แนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร
    จิรัฏฐ์ จันต๊ะคาด; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบัน (2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาคประชาชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจำนวน 480 ราย รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ STATA ยอมรับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 384,233 ตันในปีพ.ศ 2558 เพิ่มเป็น 435,187 ตันในปีพ.ศ. 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในระยะ 7 ปีที่ผ่าน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยสามารถจัดการได้เพียงร้อยละ 22 หรือ 147,293.96 ตันของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้ยังมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกค้างหรือไม่สามารถจัดการได้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้พฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าไปตามกระแสความนิยม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่แรงจูงใจทางด้านระบบเศรษฐศาสตร์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม นอกจากนี้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเดือนเฉลี่ย 1.31 ชิ้น และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 409 ราย และ 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.2 และร้อยละ 77.1 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากการบริการของภาครัฐกว่าครึ่งหนึ่งในระดับน้อย (ค่าระดับคะแนน 0.00 – 0.66) จำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่มีความตระหนักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 339 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.6 รวมทั้งมีพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 อย่างไรก็ตามการจะบรรลุถึงความยั่งยืนในอนาคตหรือการจะเป็นมหานครสีเขียวในเอเชีย การจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลสู่การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย มาตรการ รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชนให้แน่ชัด อีกทั้งควรผลักดันและสร้างการรับรู้ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการจัดการขยะของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินงานหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กระบวนการผลิตได้อีก (Make-Use–Return) หากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้ความร่วมมือจะส่งผลให้เดินหน้าเข้าสู่การดำเนินเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวอย่างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ลดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย และการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่
  • Thumbnail Image
    Item
    รูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
    ภัทรธิดา สามัคคี; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์และการจัดการขยะพลาสติกวิเคราะห์ศักยภาพของการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืน และความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก และเพื่อเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยวิธีการศึกษา ประกอบด้วย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติก ในองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่ รวมทั้งสอบถามนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวที่อุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 600 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากนั้นนำข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ CIPPI Model เป็นกรอบในการเสนอรูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำไปขาย ส่วนขยะพลาสติกที่ไม่สามารถขายได้ประชาชนในพื้นที่จะนำมาทิ้งในถังขยะ เพื่อรอรถเก็บขนขยะที่องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่มีการจัดจ้าง ศักยภาพด้านแรงงานคนในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกในพื้นที่ตำบลตลาดใหม่ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ด้านงบประมาณ ยังไม่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติกที่ต้นทางเพราะตำบลตลาดใหม่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ดังนั้นจึงควรมีการดำเนินการหางบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ด้านวัสดุและอุปกรณ์ โดยวัสดุที่ใช้ คือผักตบชวา เนื่องจากมีปริมาณมาก และส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในพื้นที่ และยังไม่มีงบประมาณสำหรับการจัดซื้อเครื่องขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ ด้านการบริหารจัดการ มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวงจรการเกิดและผลกระทบด้านลบจากขยะพลาสติก รวมถึงการผลิตจานผักตบชวา และจากการศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวด้านบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก พบว่า รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการมีลักษณะเป็นจานก้นลึกมีขนาดความสูง 4 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ผลิตจากพืชหรือ ใบไม้ โดยใช้ผักตบชวา มีสีดั้งเดิมจากวัสดุธรรมชาติที่ใช้ สามารถใช้ซ้ำได้ 4-5 ครั้ง และความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยระดับความคิดเห็นความต้องการ และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ บรรจุภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และจากการประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ ผู้วิจัยจึงเสนอรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกอย่างยั่งยืนจากผักตบชวาสำหรับนำมาใช้ในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ตำบลตลาดใหม่ อำเภอเวิศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
  • Thumbnail Image
    Item
    การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย
    วสวัตติ์ กฤษศิริสวัสดิ์; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2022)
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจถึงรูปแบบและวิธีการของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศไทย และพิสูจน์ว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งส่งผลให้ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงอยู่ โดยได้ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลโพสต์การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊ก และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยเชิงเหตุผลที่เพียงพอต่อการนําไปวิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา จากการติดตามกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊กจำนวน 8 กลุ่ม ในระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีการโพสต์ซื้อขายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมด 248 โพสต์ แบ่งเป็นโพสต์ขาย 192 โพสต์ (77.6%) จาก 26 ผู้โพสต์ และโพสต์ซื้อ 56 โพสต์ (22.4%) จาก 54 ผู้โพสต์ ซึ่งมีสัตว์ป่าจำนวนกว่า 270 ตัว จาก 13 ชนิด ถูกนำมาโพสต์ขายในราคา 1,200 - 60,000 บาทต่อตัว ชนิดพันธุ์ที่พบจำนวนโพสต์มากที่สุดคือ นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) โดยแหล่งที่มาของการโพสต์ขายสัตว์ป่าสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างแน่ชัด อีกทั้งการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีการคัดกรองรูปแบบของการโพสต์ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลซ้ำออก ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้จึงอาจเป็นเพียงการประเมินค่าของการเกิดอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แม้ว่าในปัจจุบันการเข้ามาของชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง รวมถึงการปรับบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น อาจเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมด้านสัตว์ป่า แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการลักลอบค้าสัตว์ป่า นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าสัตว์ป่ายังคงมีปรับตัวและรูปแบบวิธีการให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่อยู่เสมอ ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวิธีการ แนวโน้ม สถานการณ์ และปัจจัยสำคัญของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสนใจ รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างองค์กรด้านสื่อสังคมออนไลน์กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากลไกทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาการก่ออาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน