GSL: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 236
  • Thumbnail Image
    Item
    การคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเราทางเพศในชั้นสอบสวน
    พรไพลิน สุทธิสวาท; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    ในปัจจุบันคดีอาชญากรรมประเภทคดีข่มขืนกระทำช้ำเราได้มีการพัฒนาที่สลับซับซ้อนทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและไม่จำกัดเพศในการตกเป็นผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรา ทำให้มีผู้ตกเป็นผู้เสียหายมากขึ้น ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรามีผลต่อผู้เป็นเหยื่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ และเมื่อผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งในประเทศไทยนั้นกระบวนการในการสอบสวนของพนักงานสอบสวนโดยวิธีการสอบถามปากคำผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรานั้นวิธีการในการสอบสวนเหมือนกับการสอบถามปากคำผู้เสียหายในคดีอาชญากรรมทั่ว ๆ ไป ทำให้ผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรารู้สึกเหมือนตกเป็นเหยื่อซ้ำสอง (Revictimization) ส่งผลต่อความรู้สึกทางจิตใจมากขึ้น ประเทศไทยมีการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ทวิ แต่ในมาตรานั้นให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในการสอบถามปากคำของพนักงานสอบสวนตามข้อบังคับของกฎหมายจะมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ร่วมอยู่ในการสอบถามปากคำ แต่ในการสอบถามปากคำผู้เสียหายที่มีอายุสิบแปดปีขึ้นไปในคดีข่มขืนกระทำช้ำเรากลับไม่ได้รับความคุ้มครองให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ร่วมอยู่ด้วยในการสอบถามปากคำของพนักงานสอบสวนเพราะถึงแม้ว่าผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำช้ำเราจะเป็นเพศใดเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นก็ย่อมถือเป็นผู้เสียหายที่มีภาวะจิตใจอ่อนแอ (Yulnerable Victim) ที่ควรได้รับการคุ้มครองที่แตกต่างไปจาก ผู้เสียหายในคดีอาชญากรรมแบบทั่วไปก็ตามและการแก้ไขในการสอบถามปากคำผู้เสียหายที่มีอายุสิบแปดปีขึ้นไปให้พนักงานสอบสวนสอบถามปากคำผู้เสียหายโดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ร่วมอยู่ด้วยกับผู้เสียหายในการสอบสวน เพื่อมิให้ผู้เสียหายรู้สึกไม่สบายใจในบางคำถามที่พนักงานสอบสวนได้สอบถามปากคำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อตัวของผู้เสียหาย ด้วยเหตุนี้หากการสอบถามปากคำของพนักงานมีการกระทำที่มิทำให้ผู้เสียหายเกิดความกระทบกระเทือนใจมากขึ้น ก็ทำให้ผู้เสียหายรู้สึกมั่นใจและเข้ามาฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได
  • Thumbnail Image
    Item
    สิทธินัดหยุดงานในกิจการสาธารณูปโภค
    สิริณพร ศิริชัยศิลป์; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการรับรองสิทธินัดหยุดงานตามมาตรฐานแรงงานระหว่าง ประเทศและกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิและเสรีภาพ หลักการเจรจาต่อรอง หลักความต่อเนื่องของการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อพิเคราะห์การรับรองสิทธินัดหยุดงานในกิจการสาธารณูปโภคตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในเชิงคุณภาพบนเอกสารทางวิชาการอันประกอบด้วยหนังสือ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายของต่างประเทศผลการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับปัจจุบัน มีบทบัญญัติห้ามมิให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่งนัดหยุดงานโดยเด็ดขาด โดยมิได้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยในแต่ละแห่งว่ามีภารกิจในการดำเนินการเพื่อให้บริการสาธารณะหรือไม่ นับว่าเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างไว้เกินสมควร ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่ได้วางหลักเกณฑ์ในการจำกัดสิทธินัดหยุดงานของ ลูกจ้างไว้ว่าสามารถกระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการรักษาไว้ซึ่งประโยชน์สาธารณะเท่านั้น และไม่ถือว่าขัดต่อหลักเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน โดยให้พิจารณาจากประเภทของบริการสาธารณะที่มีความจำเป็นต่อชีวิต ความปลอดภัย และสุขอนามัยของประชาชนเป็นประการสำคัญแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยการนำความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศมาเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณารับรองสิทธินัดหยุดงานให้แก่แรงงานในรัฐวิสาหกิจ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น แก่สาธารณะชน ควรนำมาตรการทดแทนการใช้สิทธินัดหยุดงานตามกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ให้มีความเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทย รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลต่อไป
  • Thumbnail Image
    Item
    ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม
    ชนิดาภา มงคลเลิศลพ; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิตว่าด้วยหลักประซาธิปไตยและระบบการเลือกตั้ง ศึกษาพัฒนาการระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาปัญหาระบบการเลือกตั้งในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะระบบการเสือกตั้งที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยผลการศึกษาพบว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศไทย ทั้งระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาและระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน ผลการเลือกตั้งไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนเจ้าของอำนาจได้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นระบบที่มีแนวโน้มทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็กเสียเปรียบ ไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่สามารถพัฒนาตนเองในทางการเมืองได้ กล่าวคือ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ไม่มี ศักยภาพเพียงพอที่จะต่อสู้กับพรรคการเมืองขนาตใหญ่ ทำให้ไม่สามารถมีที่นั่งในสภาหรือเติบโตเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนได้เลย ทำให้ระบบรัฐสภาไม่สามารถเป็นกสไกสะท้อนสภาพปัญหาของประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริง ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้งที่ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศโดยการเลือกผู้แทนของตนผ่านการเลือกตั้ง ทั้งนี้ แตกต่างจากระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและประเทศนิวซีแลนด์ มีหลักการคล้ายกับระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน แตกต่างกันในส่วนของวิธีการคิตคะแนน โดยระบบสัดส่วนผสมจะมีการคิดคะแนนจัดสรรที่นั่งซึ่งทั้งสองระบบมีความเชื่อมโยงต่อกัน มีการชดเชยที่นั่งจากระบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นผสให้ผลการเลือกตั้งสามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน์ได้อย่างแท้จริง คะแนนเสียงของผู้ออกเสียงได้สัดส่วนกับจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่เป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้ใหม่ ดังนั้น จึงส่งผลต่อระบบพรรคการเมืองให้มีความหลากหลาย เป็นสถาบันที่มีอุดมการณ์และรากฐานจากประชาชน ระบบรัฐสภาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นกระจกสะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงจึงเห็นได้ว่า ระบบการเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างระบบการเมือง การออกแบบระบบการเลือกตั้งจึงต้องพิจารณให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละประเทศ โดยคำนึงถึงบริบทสังคมและพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ เพื่อให้ระบบการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ ในโครงสร้างทางการเมือง ทั้งพรรคการเมือง ผู้แทนประชาชน และเสถียรภาพของรัฐบาล ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิผลเป็นไปตามครรลองของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำสู่ความปรองดองและความเจริญงอกงามแห่งประชาธิปไตยสืบต่อไปในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า ควรนำระบบการเสือกตั้งแบบสัดส่วนผสมมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยเป็นการผสมระหว่างระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมตาแบบเขตเดียวคนเดียว กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อโดยแบ่งประเทศออกเป็นเขตเลือกตั้งตามเขตการปกครองที่ชัดเจนแน่นอน แต่ละเขตไม่จำเป็นต้องมีจำนวนประชากรเท่ากัน แต่ต้องให้ความเสมอภาคในการเป็นตัวแทนตามสัดส่วนประชากร และควรกำหนดอัตราส่วนระหว่างสมาชิกแบบแบ่งเขตกับสมาชิก ประเภทบัญชีรายชื่อให้มีจำนวนที่ไต้สัดส่วนต่อกันหรือเป็นจำนวนเท่ากัน อีกทั้งรัฐควรเตรียมความพร้อมในต้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย ต้านองค์ความรู้ การบริหารจัดการการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนทุกคนอีกด้วย
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา
    เดโช ชนะสุวรรณ์; ปุ่น วิชชุไตรภพ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุม รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราของสหพันธรัฐมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และประมวลกฎหมายอาญา เพื่อเสนอแนะและหาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราให้เป็นรูปธรรม เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรามี ปัญหาอยู่หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก เนื่องด้วยบทบัญญัติมาตรา 61 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 กำหนดให้ประกาศของผู้อ้านวยการทางหลวงนั้นต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงส้าหรับทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงชนบทสำหรับทางหลวงชนบท และต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับทางหลวงท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติในการออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายนั้นมีหลายบุคคลแตกต่างกันไปตามสายทางที่รับผิดชอบโดยเป็นอิสระจากกัน การบัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้การดำเนินการออกประกาศไม่มีความเป็นเอกภาพ เกิดความซ้ำซ้อนขององค์กรในการออกประกาศประการที่สอง เนื่องจากทางหลวงของประเทศไทยมีหลายประเภท และแต่ละประเภทอยู่ในความรับผิดชอบคนละหน่วยงาน กล่าวคือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทานอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ทางหลวงชนบทอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่นอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มีประกาศหลายฉบับซึ่งมีความซ้ำซ้อนกัน และอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการกำหนดพิกัดบรรทุกของผู้มีอำนาจแตละรายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลจากการบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าว เกิดความซำ้ซ้อนของอำนาจ ย่อมท้าให้เกิดความสับสนและไม่เป็นธรรมแก่ ประชาชนผู้ขับขี่รถยนต์บรรทุกบนทางหลวงได้เพราะทางหลวงแต่ละประเภทเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายกันประการที่สาม การกำหนดในมาตรา 73/2 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 บัญญัติโทษทางอาญาของผู้บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราไว้เพียงการจำคุก 6 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และมิได้บัญญัติถึงการลงโทษต่อผู้ประกอบการขนส่งซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้น ตลอดจนไม่ได้บัญญัติถึงการริบทรัพย์สินอันได้แก่รถยนต์บรรทุกซึ่งใช้ในการกระทำความผิดไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ศาลต้องวินิจฉัยโดยใช้หลักการทั่วไปตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 32 และ 33 ซึ่งศาลอาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 64 ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และส่งผลให้ยังคงพบการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้นต่อไปผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่งควรกำหนดห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไว้ในพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีกฎหมายหลักเพียงฉบับเดียวประการที่สองแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 ให้ผู้อำนวยการทางหลวงออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย ตามสภาพภูมิประเทศ หรือลักษณะของถนนเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายหลัก ประการที่สามแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 73/2 โดยเพิ่มโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้าหนักลงเพลาเกินกว่าที่ก้าหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายให้สูงกว่าอัตราโทษเดิม ส่วนจะเป็นโทษเท่าใดจะต้องการศึกษาต่อไป ประการที่สี่ควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถขออนุญาตเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดได้แต่ต้องไม่เกินกว่าอัตราน้ำหนักสูงสุดที่ก้าหนดไว้ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมส่วนเกินของน้ำหนักตามสัดส่วนที่กำหนด หากบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ขออนุญาตก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประการที่ห้าควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่ง เป็นต้นเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ประการที่หกควรเพิ่มเติมเรื่องการริบทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ รถยนต์บรรทุกที่ถูกใช้ในการกระทำความผิดเป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ทั้งนี เพื่อจำกัดมิให้ศาลใช้ดุลพินิจในการมีค้าสั่งริบหรือไม่ริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา ประการที่เจ็ดกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ต้องขนส่งสินค้าติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักบริเวณสถานประกอบการเพื่อควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกสินค้าก่อนนำรถออกไปวิ่งบนทางหลวง ประการที่แปดกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทุกรายต้องจัดทำใบกำกับ สินค้าระบุน้ำหนักบรรทุก ประการสุดท้ายนำระบบเทคโนโลยีในการตรวจวัดน้ำหนักรถยนต์บรรทุกมาใช้ เช่น ระบบ Slow Speed WIM (SSWIM) และ ระบบ IT
  • Thumbnail Image
    Item
    การควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐ
    เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย; พัชรวรรณ นุชประยูร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดทํา บริการสาธารณะที่รัฐให้เอกชนจัดทําหรือร่วมจัดทํา 2. ศึกษาอํานาจหน้าที่การควบคุม กํากับดูแลในการให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ 3. ศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาหลักการพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎีและพัฒนาการของการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐ ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐในระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสําคัญ พบว่า 1. การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น บริการสาธารณะบางประเภทยังไม่มีกฎหมายกําหนดโดยเฉพาะให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะทําและการควบคุม กํากับดูแลนั้นเป็นเพียงการควบคุม กํากับดูแลโดยคู่สัญญาทําให้มักเกิดการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐแต่ไม่มีความผิดเกิดขึ้น 2. การใช้เอกสิทธิ์ของรัฐเหนือเอกชนในการจัดให้เอกชนจัดทําบริกาสาธารณะยังขาดหลักเกณฑในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาและกฎหมายให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการมีเอกสิทธิ์มากเกินไปรวมถึงการขาดความชัดเจนในการให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการบอกเลิกสัญญา จนทําให้ใช้เอกสิทธิ์ในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาตามอําเภอใจและไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ 3. การควบคุม กํากับดูแลนั้นมักจะขาดประสิทธิภาพเนื่องจากการไม่มีองค์กรกลางที่จะเข้าไปตรวจสอบการควบคุม กํากับดูแลและไม่มีการดําเนินการทางกฎหมายกับบุคคลที่มีอํานาจในการควบคุม กํากับดูแล แม้บุคคลนั้นจะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบก็ตาม 4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในการตรวจสอบหรือติดตามการจัดทําบริการสาธารณะทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรที่ได้รับอํานาจตามหลักการกระจายอํานาจและความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาฝ่ายรัฐกับคู่สัญญาฝ่ายเอกชนการกําหนดความสัมพันธ์ในบทบัญญัติทางกฎหมายยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาทั้ง 4 ประการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. การตั้งคณะกรรมการกลางในการควบคุม กํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะโดยเอกชนในบริการสาธารณะประเภทการให้เอกชนเดินรถร่วมกับรัฐและสัญญาจ้างก่อสร้างของทางราชการ 2.การเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการแก้ไขสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐและการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการบอกเลิกสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 3. แก้ไขระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพว่าด้วยการบริหารจัดการและกํากับดูแลรถโดยสารเอกชนร่วมบริการ พ.ศ. 2550 ให้มีการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนคู่สัญญาในการกํากับดูแลเป็นการควบคุมดูแล
  • Thumbnail Image
    Item
    มาตรการคุ้มครองโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุและรูปแบบกองทุนสะสมทรัพย์กรณีชราภาพ
    อรรถวัฒน์ พูนสวัสดิ์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
    จากสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อนอัตราการเกิดลดน้อยลงและอัตราการมีอายุ เฉลี่ยสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู้สภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในอนาคตจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เต็มรูปแบบตามการประเมินขององค์การสหประชาชาติแต่กฎหมายแรงงานของประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายฉบับใดที่ให้หลักประกันการทำงานแก่ลูกจ้างเอกชน อีกทั้งปัญหาการเกิดสิทธิตาม ประกันสังคมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม และกองทุนชราภาพที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง หลังเกษียณยังไม่ครอบคลุมกลุ่มลูกจ้างในระบบได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อการดำรงชีพ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายแรงงานและสวัสดิการของลูกจ้าง ภายหลังเกษียณ โดยแบ่งเป็นสี่ประเด็น คือ 1. ปัญหาการกำหนดเกณฑ์อายุการทำงานของลูกจ้าง ภาคเอกชน 2. การเลือกปฏิบัติทางด้านอายุ 3. ปัญหาการเกิดสิทธิตามประกันสังคมและการจำกัด สิทธิเข้าประกันตนสำหรับผู้ที่เข้าทำงานใหม่ภายหลังอายุ 60 ปี 4. ปัญหากองทุนการออมเพื่อการชรา ภาพของไทยตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พระราชบัญญัติประกันสังคม พระราชบัญญัติ การออมแห่งชาติ กฎหมายแรงงานของไทยที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างภาคเอกชนยัง ไม่มีระบุไว้อย่างชัดเจนทั้งใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ปัจจุบันนี้ใช้เกณฑ์อายุเกษียณตามพระราชบัญญัติประกันสังคม และ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ คือเกษียณที่อายุ 55 ปี และ 60 ปี ทำให้ลูกจ้างไม่มี หลักประกันการทำงานที่เป็นมาตรฐานชัดเจน อีกทั้งอายุการทำงานไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม ผู้สูงอายุในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นเกณฑ์อายุที่ต่ำกว่าสมรรถภาพการทำงานของประชากรสูงอายุใน ประเทศไทย ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนกำลังแรงงานในตลาดแรงงานและก่อให้เกิดอัตราการพึ่งพิง และเกื้อหนุนต่อวัยแรงงาน ที่ต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุสูงขึ้น ปัญหานี้จึงต้องมีการแก้ไขเรื่อง เกณฑ์อายุเกษียณให้ทันต่อสภาพสังคม รวมถึงการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างสูงอายุให้สามารถ ทำงานโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้านอายุ ซึ่งกฎหมายในประเทศไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองใน เรื่องนี้เอาไว้จึงมีความจำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อแก้ไขกฎหมายแรงงานของ ประเทศไทยในส่วนปัญหาการเกิดสิทธิ ณ ปัจจุบันตามประกันสังคมได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิรับบำเหน็จ บำนาญที่อายุ 55 ปี การเกิดสิทธิที่เร็วในประกันสังคม ส่งผลให้เกิดผลกระทบ คือ ทำให้กองทุน ประกันสังคมขาดเสถียรภาพและไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต เพราะต้องจ่ายเงินเร็วและนานขึ้น จากอายุเฉลี่ยของลูกจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การกำหนดเกณฑ์รับสิทธิควรจะอยู่ในช่วงที่เหมาะสม และให้มีการแบ่งแยกการรับสิทธิออกเป็นสองช่วงคือสิทธิแรกเริ่มและสิทธิรับเต็มจำนวน โดยเกณฑ์ การรับสิทธิ ณ ปัจจุบันของประเทศไทย เมื่อเทียบกับต่างประเทศถือว่าเร็วมากกว่าทุกประเทศไม่ว่า จะเป็นประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนีหรือ สิงคโปร์ที่กำหนดไว้ที่ 60-65 ปี หรือในบาง ประเทศกำหนดถึง 70 ปีนอกจากนั้นการคุ้มครองลูกจ้างที่เข้ามาทำงานใหม่ภายหลังอายุ 60 ปีและ ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาก่อน เกิดปัญหาว่าไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนได้ ทำให้บุคคลกลุ่มนี้ ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของประกันสังคม อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมไม่สามารถเก็บเงินสะสม เข้ากองทุนจากบุคคลเหล่านี้ได้ ปัญหาต่างๆเหล่านี้จึงส่งผลเสียแก่ตัวลูกจ้างและกองทุนประกันสังคม ในประเด็นสุดท้ายคือเรื่องปัญหากองทุนชราภาพ ประเทศไทยมีการจัดกองทุนให้แก่ลูกจ้าง ภาคเอกชนที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งกองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนที่ให้สวัสดิการขั้นพื้นฐานแก่ ลูกจ้างตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ จึงอยู่ในรูปแบบบังคับและมีการแบ่งเงินสะสมออกเป็น แต่ละด้านตามสวัสดิการด้านต่าง ๆ ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนในรูปแบบสมัครใจที่ นายจ้างจะจัดสรรให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับสถานประกอบการที่มีความสามารถเพียงพอที่จะ จัดกองทุนให้แก่ลุกจ้างได้ส่วนลูกจ้างในสถานประกอบการที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะไม่ได้รับ สวัสดิการที่เป็นประโยชน์ตรงนี้จากกองทุน อีกหนึ่งกองทุนคือกองทุนการออมแห่งชาติที่เรียกได้ว่า เป็นกองทุนภาคประชาชนสำหรับคนทำงานอิสระ ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากกองทุนใด ๆ สามารถ เป็นสมาชิกในกองทุนนี้โดยรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการออม ให้มีสิทธิรับบำนาญได้หากสะสมครบตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อพิจารณาจากทั้งสามกองทุนแล้วการ สะสมทรัพย์เพื่อใช้หลังเกษียณของลูกจ้างในระบบยังมีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างลูกจ้างที่มีกองทุน สำรองเลี้ยงชีพและไม่มี คุณภาพชีวิตหลังเกษียณจากสวัสดิการของกองทุนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการ ดำรงชีพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เพราะไม่มีการสะสมทรัพย์ที่เป็นการสะสมเพื่อกรณีชราภาพ โดยเฉพาะทำให้จำนวนเงินที่ได้รับหลังเกษียณไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงต้องมีการศึกษาเพื่อหาแนว ทางแก้ไขโดยเปรียบเทียบกับกองทุนชราภาพของสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนีและสิงคโปร์