A whistleblowing in Thalland's bureaucracy

dc.contributor.advisorSomsak Samukkethumth
dc.contributor.authorSawai Seesaith
dc.date.accessioned2023-09-07T02:59:55Z
dc.date.available2023-09-07T02:59:55Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.descriptionThesis (Ph. D. (Social Development Administration))--National Institute of Development Administration, 2022th
dc.description.abstractCorruption is a complicated social, political, and economic phenomenon that occurs on a large scale and affects the whole society. The phenomenon undermines democracy, the justice system, human rights, market mechanisms, economic potentiality, and people life’s quality, and causes other negative impacts on human security. Corruption occurs in all countries and is considered one of the most severe problems; there is no sign for the problem to deplete but more and more severe and complicated. All the countries around the world have been trying to establish policies and measures to prevent and eliminate corruption, such as increasing compensation for a government official, decreasing the state’s organization, creating financial transparency, developing the media’s freedom, strengthening a justice system, etc. Among these policies and mechanisms, whistleblowing is one of the tools to fight corruption and promote good governance, responsibility, and transparency and is deemed one of the most effective mechanisms to fight corruption.  However, in Thailand, there are limited studies on whistleblowing and is found in limited contexts. The body of knowledge on whistleblowing in Thailand’s context does not reflect existing and ongoing corruption. The development of mechanisms or systems to support whistleblowing should be based on an understanding of the phenomenon in the Thailand context. This study aims to study corruption and whistleblowing to understand conditions that facilitate or prevent whistleblowing as well as propose the concept to develop a supportive and promotion system of whistleblowing in the future. The study found that the state’s policies do not facilitate or promote whistleblowing in the bureaucratic system. The government’s personnel feel unsure that the government would value the prevention and elimination of corruption. The government does not have a specific mechanism for whistleblowing and there is no exact data about existing whistleblowing. The whistleblowing case is treated as other types of complaints. The whistleblower and the witness feel insecure about government support, organization justice, acceptance, confidentiality, and protection from revenge. Government officials lack of understanding how to handle in case they witness corruption. In addition, the study found that the whistleblowing case is a social exemption case that occurs and influences solely by personal dimensions, including professional norms, self-esteem, locus of control, moral development, and ethical belief. The whistleblowing case which influences by personal dimensions makes it almost impossible to happen again in other contexts; this is because there is no guarantee that personal dimensions would be powerful enough if compared with a fear of revenge, an exclusion from society, and impacts to family and works. Engagement from civil society and the media play an important role in an investigation of corruption and the protection of the whistleblower.  The study suggests that there should be a reform of laws, the justice system, justice strategies, and management approach to prevent and eliminate corruption by developing the specific legal system, justice system, justice strategies, and management for whistleblowing cases, revenge prevention, and whistleblower protection. The government should develop its management mechanism and good governance, eliminate the patronage system, reform roles and responsibilities, professionalism, and transparency. The government should manage the data to separate whistleblowing cases from other complaints and should promote more engagements between civil society and the media.th
dc.description.abstractปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจที่ซับซ้อน การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างและบ่อนทำลายการปกครองในระบบประชาธิปไตย กระบวนการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน กลไกการตลาด ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ คุณภาพชีวิต และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้านอื่น ๆ กับความมั่นคงของมนุษย์ การทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปัญหาที่มีความสําคัญที่สุดปัญหาหนึ่ง ไม่มีแนวโน้มว่าจะหมดไปแต่กลับทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้พยายามกำหนดชุดนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น อาทิเช่น การเพิ่มค่าตอบแทนให้กับบุคลากรภาครัฐ การลดขนาดขององค์กรภาครัฐ การสร้างความโปร่งใสทางการเงินการคลัง การพัฒนาเสรีภาพของสื่อมวลชน การสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น ในบรรดาชุดนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น การแจ้งเบาะแส (Whistleblowing) เป็นเครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นและส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาล ความตระหนักรับผิดชอบ และ ความโปร่งใสในองค์กร และถือเป็นกลไกที่เข้มแข็งประเภทหนึ่งในการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย มีการศึกษาปรากฏการณ์การแจ้งเบาะแสน้อยมากและพบอยู่ในบริบทจำกัด องค์ความรู้ด้านการแจ้งเบาะแสในบริบทของประเทศไทยไม่สอดคล้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนากลไกหรือระบบเพื่อสนับสนุนการแจ้งเบาะแสให้มีประสิทธิภาพต้องมีพื้นฐานมาจากการเข้าใจปรากฏการณ์ในบริบทของสังคมไทยอย่างแท้จริง ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการทุจริตคอร์รัปชั่นและปรากฏการณ์การแจ้งเบาะแส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการแจ้งเบาะแส และนำเสนอแนวคิดซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาระบบสนับสนุนและส่งเสริมการแจ้งเบาะแสในอนาคต ผลการศึกษาพบว่านโยบายภาครัฐไม่ได้เอื้อหรือส่งเสริมให้เกิดการแจ้งเบาะแสในองค์กรภาครัฐ บุคลากรของรัฐไม่มั่นใจว่าภาครัฐให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นจริงหรือไม่ ภาครัฐไม่มีกลไกเฉพาะสำหรับกรณีการแจ้งเบาะแส รัฐไม่มีข้อมูลว่ามีกรณีที่เป็นการแจ้งเบาะแสมากน้อยเท่าใด และ การจัดการกรณีการแจ้งเบาะแสที่มีอยู่ได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกันกับกรณีการร้องเรียนเรียนทุกข์ทั่วไป ผู้เคยแจ้งเบาะแสและผู้รู้เห็นข้อมูลการทุจริตไม่มีความมั่นใจในการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ ความยุติธรรมในองค์กร การยอมรับ การรักษาความลับ และการคุ้มครองจากแก้แค้น และ พนักงานรัฐขาดความรู้ความเข้าใจว่าหากตนเองพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่นจะต้องดำเนินการอย่างไร นอกจากนี้ การศึกษาพบว่า การแจ้งเบาะแสที่เคยเกิดขึ้นในองค์กรภาครัฐถือว่าเป็นกรณียกเว้นทางสังคม เกิดจากปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจากปัจเจกบุคคล คือ ปทัสถานทางวิชาชีพ การนับถือตนเอง พัฒนาการทางจริยธรรม และ ความเชื่อทางจริยธรรม การแจ้งเบาะแสเกิดขึ้นเพราะปัจจัยส่วนบุคคลเป็นหลักทำให้การแจ้งเบาะแส แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นซ้ำในสถานการณ์อื่น เพราะไม่มีสิ่งยืนยันว่าปัจจัยจากปัจเจกบุคคลเหล่านี้จะมีพลังเพียงพอ หากเปรียบเทียบกับความกลัวต่อการถูกแก้แค้น การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และ ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวและการทำงาน และ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนนั้นเกิดขึ้นภายหลังการออกมาแจ้งเบาะแสไปแล้ว แต่ก็มีบทบาทสำคัญต่อการตรวจสอบการทุจริต การสืบค้นหาข้อเท็จจริง และเป็นกลไกทางสังคมสำคัญอย่างไม่เป็นทางในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้วิจัยเสนอว่าควรมีการปรับปรุงกฎหมาย ระบบนิติบัญญัติ ยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยพัฒนากฎหมาย ระบบนิติบัญญัติ ยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการ เฉพาะกับกรณีการแจ้งเบาะแส การป้องกันการแก้แค้น และการปกป้องคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ต้องมีการพัฒนาขบวนการทำงานของภาครัฐให้มีกลไกการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีโดยใช้หลักธรรมาภิบาล กำจัดระบบอุปถัมภ์ในองค์กร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างบทบาทและหน้าที่ให้มีความเป็นมืออาชีพ สร้างความโปร่งใสทางการเงินการคลัง ภาครัฐควรมีการจัดการข้อมูลเพื่อให้สามารถแยกแยะกรณีการแจ้งเบาะแสออกจากประเด็นร้องเรียนร้องทุกข์ทั่วไป และรัฐควรส่งเสริมการทำงานของภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนให้มีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐมากกว่าในปัจจุบันth
dc.format.extent173 leavesth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb216009th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6648th
dc.language.isoength
dc.publisherNational Institute of Development Administrationth
dc.rightsThis work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.th
dc.subjectThai bureacracyth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherWhistle blowing -- Thailandth
dc.subject.otherBureaucracy -- Thailandth
dc.subject.otherCorruptionth
dc.titleA whistleblowing in Thalland's bureaucracyth
dc.title.alternativeการแจ้งเบาะแสในระบบราชการไทยth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationNational Institute of Development Administration. Library and Information Centerth
thesis.degree.departmentGraduate School of Social Development and Management Strategyth
thesis.degree.disciplineSocial Development Administrationth
thesis.degree.grantorNational Institute of Development Administrationth
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameDoctor of Philosophyth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b216009.pdf
Size:
1.91 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: