ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา

dc.contributor.advisorปุ่น วิชชุไตรภพth
dc.contributor.authorเดโช ชนะสุวรรณ์th
dc.date.accessioned2024-03-22T04:21:14Z
dc.date.available2024-03-22T04:21:14Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.description.abstractการศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุม รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราของสหพันธรัฐมาเลเซีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และประมวลกฎหมายอาญา เพื่อเสนอแนะและหาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราให้เป็นรูปธรรม เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรามี ปัญหาอยู่หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก เนื่องด้วยบทบัญญัติมาตรา 61 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 กำหนดให้ประกาศของผู้อ้านวยการทางหลวงนั้นต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงส้าหรับทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมทางหลวงชนบทสำหรับทางหลวงชนบท และต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับทางหลวงท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติในการออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดหรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายนั้นมีหลายบุคคลแตกต่างกันไปตามสายทางที่รับผิดชอบโดยเป็นอิสระจากกัน การบัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้การดำเนินการออกประกาศไม่มีความเป็นเอกภาพ เกิดความซ้ำซ้อนขององค์กรในการออกประกาศประการที่สอง เนื่องจากทางหลวงของประเทศไทยมีหลายประเภท และแต่ละประเภทอยู่ในความรับผิดชอบคนละหน่วยงาน กล่าวคือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทานอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ทางหลวงชนบทอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท และทางหลวงท้องถิ่นอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ประกาศห้ามใช้ยานพาหนะที่มีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มีประกาศหลายฉบับซึ่งมีความซ้ำซ้อนกัน และอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจในการกำหนดพิกัดบรรทุกของผู้มีอำนาจแตละรายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลจากการบัญญัติกฎหมายในลักษณะดังกล่าว เกิดความซำ้ซ้อนของอำนาจ ย่อมท้าให้เกิดความสับสนและไม่เป็นธรรมแก่ ประชาชนผู้ขับขี่รถยนต์บรรทุกบนทางหลวงได้เพราะทางหลวงแต่ละประเภทเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายกันประการที่สาม การกำหนดในมาตรา 73/2 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 บัญญัติโทษทางอาญาของผู้บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราไว้เพียงการจำคุก 6 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งถือว่าต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และมิได้บัญญัติถึงการลงโทษต่อผู้ประกอบการขนส่งซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้น ตลอดจนไม่ได้บัญญัติถึงการริบทรัพย์สินอันได้แก่รถยนต์บรรทุกซึ่งใช้ในการกระทำความผิดไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้ศาลต้องวินิจฉัยโดยใช้หลักการทั่วไปตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 32 และ 33 ซึ่งศาลอาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ทั้งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 64 ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และส่งผลให้ยังคงพบการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวขึ้นต่อไปผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ประการที่หนึ่งควรกำหนดห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุก หรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไว้ในพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง เพื่อให้มีกฎหมายหลักเพียงฉบับเดียวประการที่สองแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61 ให้ผู้อำนวยการทางหลวงออกประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่กำหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหาย ตามสภาพภูมิประเทศ หรือลักษณะของถนนเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายหลัก ประการที่สามแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 73/2 โดยเพิ่มโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนประกาศห้ามใช้ยานพาหนะบนทางหลวงโดยที่ยานพาหนะนั้นมีน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกหรือน้าหนักลงเพลาเกินกว่าที่ก้าหนด หรือโดยที่ยานพาหนะนั้นอาจทำให้ทางหลวงเสียหายให้สูงกว่าอัตราโทษเดิม ส่วนจะเป็นโทษเท่าใดจะต้องการศึกษาต่อไป ประการที่สี่ควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถขออนุญาตเพิ่มน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดได้แต่ต้องไม่เกินกว่าอัตราน้ำหนักสูงสุดที่ก้าหนดไว้ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมส่วนเกินของน้ำหนักตามสัดส่วนที่กำหนด หากบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่ขออนุญาตก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย ประการที่ห้าควรบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่ง เป็นต้นเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้นไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ประการที่หกควรเพิ่มเติมเรื่องการริบทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่ รถยนต์บรรทุกที่ถูกใช้ในการกระทำความผิดเป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 ทั้งนี เพื่อจำกัดมิให้ศาลใช้ดุลพินิจในการมีค้าสั่งริบหรือไม่ริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา ประการที่เจ็ดกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ต้องขนส่งสินค้าติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักบริเวณสถานประกอบการเพื่อควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกสินค้าก่อนนำรถออกไปวิ่งบนทางหลวง ประการที่แปดกำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทุกรายต้องจัดทำใบกำกับ สินค้าระบุน้ำหนักบรรทุก ประการสุดท้ายนำระบบเทคโนโลยีในการตรวจวัดน้ำหนักรถยนต์บรรทุกมาใช้ เช่น ระบบ Slow Speed WIM (SSWIM) และ ระบบ ITth
dc.description.abstractThis research aims to study the concept of theory on heavy-truck weight control by comparing between the truck weight limits law in Malaysia, the United States, the European Union with the law in Thailand. In order to do the comparison, the problems and any difficulties of controlling overweight truck according to the Highway Act 1992 and related laws including the Land Transport Act 1979, the Vehicle Act, 1979, the Land Traffic Act, 1979, the Motor Vehicle Victims Protection Act, 1992, and the Penal Code were studied to suggest and find guidance to modify or amend the law for appropriateness. The study has found that the law on the overweight trucks control in Thailand has many problems which are, due to the provisions of Section 61 paragraph two of the Highway Act, BE 2535 requires that the Directorate of Highways must be approved by the Director General of Department of Highway, rural roads by the Director General of the Department of Rural Roads and local roads by the Provincial Governor. It shows that authorized officials in the issuance of a declaration prohibit the use of overweight vehicles are from different people along the lines of responsibility and independent of each other, the promulgation of this kind of authority makes the proclamation process not unanimous and caused duplication of the announcement. Secondly, there are many categories of road in Thailand and each category is responsible by different agencies, such as highways are under the responsibility of the Department of Highways and rural roads are under the responsibility of the Department of Rural Roads. Therefore, there are several announcements, which are complex and may be different as it is up to the decision of the authorities which resulting confusion and unfair to the truck drivers because each type of the road is linked into network. Thirdly, the provisions of Section 73/2 of the Highway Act, 1992, criminal penalties for excess weight carry a six-month jail or a fine of $ 10,000, or both, which is considered not very effective with the current economic growth. The most important is that this law does not impose sanctions to the operating company which is an important factor in causing such an offense. It also does not provide for the confiscation of property, including the trucks used in the offense. the court has to identify by applying the general principle According to the Penal Code Section 32 and 33. The Act also does not provide for the revocation of a transport license as well as in the Land Transport Act, BE 2522 under Section 64, enforcement of the law of the governing party is not effective as it should. Consequently, the offenses continue to discover. After the studies and comparisons with the regulations in other countries, the suggestions were recommended as following: Firstly, it should be prohibited to use any vehicles on highways where they are overweight limit and written in the Act by a single ministerial regulation. Secondly, it should be added in the Highway Act Amendment Act, 1992, Section 61 that the director of provincial highways shall authority to issue any proclamation banning the use of overweight vehicles on the highway according to the terrain and road category. Third, the amendment should be added to the Highway Act, Section 73/2 for a penalty to violators of the use of overweight vehicles on the highway, however, the penalty should be under further study for appropriation. Fourth, the additional provisions in Highway Act, 1992, the carrier can apply for an excess weight but not exceed the maximum weight by paying the surplus fees. Fifth, the Highway Act of 1992 should be encompassed to the operator or any person who causes or is involved in the offense both directly and indirectly. Sixth, the confiscation of property which including the trucks was used in the wrongdoing should be added in the Highway Act BE 2535 to limit the court's discretion to order the confiscation of property under the Criminal Code. Seventh, the government should enforce the operators to establish weighting control system before the trucks can run on the highway. Eighth, all the operators are required to make an invoice stating the load. Lastly, new technologies should be introduced to measure and control the weight of the trucks.th
dc.format.extent191 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb197538th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6783th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherรถยนต์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราth
dc.title.alternativeLegal problems and obstacles on controlling automobile truck overweight ratesth
dc.typetext::thesis::master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b197538.pdf
Size:
2.75 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
9.73 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections