ภาวะผู้นำทางการบริหารของนายกเทศมนตรี

dc.contributor.advisorชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorถวิล ไพรสณฑ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:38Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:38Z
dc.date.issued1966th
dc.date.issuedBE2509th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.th
dc.description.abstractความมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อทราบพฤติกรรมทางการบริหารของนายกเทศมนตรีว่ามีอยู่ในลักษณะเช่นไร โดยผู้เขียนได้กำหนดหัวข้อศึกษาออกเป็น 4 ประการ คือ ภาวะผู้นำที่เกี่ยวกับการปกครองบังคับบัญชาและการควบคุมงานของเทศบาลth
dc.description.abstractในเรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางสังคมนั้น เนื่องจากประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของเทศบาล จึงไม่ค่อยให้ความเคารพนับถือและให้เกียรติแก่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีเท่าที่ควร ทำให้ไม่ค่อยสนับสนุนช่วยเหลือเทศบาล ผู้เขียนเห็นควรเปลี่ยนกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสรรหาบุคคลเข้ามาบริหารงาน หรือลดการควบคุมจากกระทรวงมหาดไทยลงเสียบ้าง และการใช้วิธีการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีโดยตรงจะทำให้ประชาชนสนใจในกิจการของเทศบาลมากขึ้น นอกจากนี้หน้าที่บางอย่างที่เป็นเรื่องของท้องถิ่น ควรมอบให้นายกเทศมนตรีดำเนินการเพื่อส่งเสริมความสำคัญของนายกเทศมนตรีมากขึ้น การกำหนดนโยบายของท้องถิ่น การริเริ่มงาน และความรับผิดชอบในการบริหารงานเทศบาลควรเป็นหน้าที่ของคณะเทศมนตรี โดยการนำของนายกเทศมนตรีและด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล แต่ในทางปฏิบัติของไทยนโยบายเกิดจากพนักงานประจำโดยเฉพาะจากปลัดเทศบาลจึงทำให้เกิดขัดแย้งกันเสมอ ข้อควรปรับปรุง รัฐควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 45 ซึ่งมีว่าเมื่อเทศบาลรับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี คณะเทศมนตรีต้องออกจากตำแหน่งไปนั้นเสีย จะทำให้นายกเทศมนตรีมีอิสระที่จะกำหนดนโยบายบริหารเทศบาลหรือสนองความต้องการของประชาชนได้กว้างขวางขึ้น ปัญหาอีกประการหนึ่งคือการที่นายกเทศมนตรีไม่มีอิสระพอที่จะเลือกวินิจฉัยตกลงใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดตามความประสงค์ได้ เพราะกระทรวงมหาดไทยควบคุมอย่างเคร่งครัด และเพราะมีอิทธิพลภายนอกอื่น ๆ เช่น อิทธิพลของสมาชิกเทศบาล ส่วนการปกครองบังคับบัญชาและการควบคุมงานก็เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของนายกเทศมนตรี เพราะนายกเทศมนตรีไม่มีอำนาจปกครองบังคับบัญชาปลัดเทศบาลและพนักงานอื่น ๆ ได้อย่างแท้จริง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไข เช่น ให้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรีใหม่ ให้มีการมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้นายกเทศมนตรีมากขึ้น ให้มอบภาระหน้าที่ให้เทศบาลมากขึ้น และให้มีการพัฒนาบุคคลในตำแหน่งนายกเทศมนตรี.th
dc.format.extent154 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1170th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJS 7404 .A1 ถ17th
dc.subject.otherเทศบาลth
dc.subject.otherนายกเทศมนตรีth
dc.titleภาวะผู้นำทางการบริหารของนายกเทศมนตรีth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9983.pdf
Size:
3.48 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections