การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย

dc.contributor.advisorวิชชุดา สร้างเอี่ยมth
dc.contributor.authorวสวัตติ์ กฤษศิริสวัสดิ์th
dc.date.accessioned2023-09-07T02:53:29Z
dc.date.available2023-09-07T02:53:29Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจถึงรูปแบบและวิธีการของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในประเทศไทย และพิสูจน์ว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่า ซึ่งส่งผลให้ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าในประเทศไทยยังคงมีความรุนแรงอยู่ โดยได้ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลโพสต์การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊ก และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกกับชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยเชิงเหตุผลที่เพียงพอต่อการนําไปวิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา จากการติดตามกลุ่มการซื้อขายสัตว์เลี้ยงบนเฟซบุ๊กจำนวน 8 กลุ่ม ในระยะเวลา 1 ปี พบว่า มีการโพสต์ซื้อขายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งหมด 248 โพสต์ แบ่งเป็นโพสต์ขาย 192 โพสต์ (77.6%) จาก 26 ผู้โพสต์ และโพสต์ซื้อ 56 โพสต์ (22.4%) จาก 54 ผู้โพสต์ ซึ่งมีสัตว์ป่าจำนวนกว่า 270 ตัว จาก 13 ชนิด ถูกนำมาโพสต์ขายในราคา 1,200 - 60,000 บาทต่อตัว ชนิดพันธุ์ที่พบจำนวนโพสต์มากที่สุดคือ นากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinereus) โดยแหล่งที่มาของการโพสต์ขายสัตว์ป่าสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาสและยะลา จากผลการศึกษาดังกล่าวเป็นเพียงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ ซึ่งอาจยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างแน่ชัด อีกทั้งการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้มีการคัดกรองรูปแบบของการโพสต์ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลซ้ำออก ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้จึงอาจเป็นเพียงการประเมินค่าของการเกิดอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง แม้ว่าในปัจจุบันการเข้ามาของชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง รวมถึงการปรับบทลงโทษทางกฎหมายที่รุนแรงมากขึ้น อาจเป็นแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมด้านสัตว์ป่า แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการลักลอบค้าสัตว์ป่า นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าสัตว์ป่ายังคงมีปรับตัวและรูปแบบวิธีการให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่อยู่เสมอ ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของวิธีการ แนวโน้ม สถานการณ์ และปัจจัยสำคัญของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสนใจ รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างองค์กรด้านสื่อสังคมออนไลน์กับหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนากลไกทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีต่อการเผชิญหน้ากับปัญหาการก่ออาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันth
dc.description.abstractThe objectives of this study were to understand patterns and mechanisms of illegal wildlife trade on social media in Thailand, as well as to demonstrate that social media remain an important platform as wildlife trafficking is still prevalent in Thailand. The study method was to collect data from illegal wildlife trade posts in pet trading groups on Facebook and combine with data from an in-depth interview of the Wild Hawk Unit—a specialized taskforce under the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation—to draw causal factors as needed for analysis and discussion. We monitored eight pet trading groups on Facebook for one year period and recorded 248 trading posts of mammals which are protected wild animals according to Wildlife Conservation and Protection Act: 192 selling posts (77.6%) from 26 individual sellers and 56 buying posts (22.4%) from 54 individual buyers. We estimated that 270 individuals from 13 species were traded with prices ranged from 1,200 - 60,000 Thai baht per individual. Small-clawed otter (Aonyx cinerea) accounted for most of the posts. The geographic locations of the highest prevalence rate of selling posts are Narathiwat and Yala provinces. The results are just a study of social facts in the internet world, and we were unable to confirm the accuracy of the collected data.  In addition, duplicate posts were also included in this analysis. As a result, there is likely a gross overestimation of illegal wildlife trade on social media. Although the appearance of the Wild Hawk unit and stiffer punishments today would be an effective solution to combat wildlife crime, the results of this study indicate that social media can be used to facilitate the wildlife trafficking. Moreover, wildlife traffickers also learned from experience and adapt their strategies to a changing context to avoid and minimize the chances of being arrested by authorities. Therefore, it is important that government agencies should understand change in mechanisms, trends, current situations, and key factors of illegal wildlife trade on social media and should also build strong partnerships with social media organizations to enhance collaborative problem-solving approaches and provide potential strategic approaches for combating illegal wildlife trade on social media.th
dc.format.extent113 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb215453th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6599th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectสัตว์ป่าth
dc.subjectการลักลอบค้าสัตว์ป่าth
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherการค้าสัตว์ป่า -- ไทยth
dc.titleการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยth
dc.title.alternativeIllegal wildlife trade on social media in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b215453.pdf
Size:
4.97 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections