แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย

dc.contributor.advisorปิยะนุช โปตะวณิชth
dc.contributor.authorสุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์th
dc.date.accessioned2018-11-02T06:37:35Z
dc.date.available2018-11-02T06:37:35Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาอาชญากรรมค่อนข้างสูง ข้อมูลสถิติการกระทำผิด กฎหมายแสดงให้เห็นว่าสภาพการณ์การกระทำผิดกฎหมายของประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้าง น่าเป็นกังวลเป็นอย่างมากว่า กระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตว่าในบรรดาผู้กระทำผิดอาญาที่เข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมมีทั้งผู้กระทำผิดที่เพิ่งกระทำความผิดอาญาเป็นครั งแรก และก็มีผู้กระทำผิดอีกเป็นจำนวน มากที่เคยมีประวัติการกระทำความผิดอาญามาก่อนแล้วมาถูกจับกุมดำเนินคดีอาญาซ้ำอีก บางรายมี ประวัติการกระทำความผิดอาญาซ้ำจำนวนมากตั งแต่ยังเป็นวัยรุ่นจนเข้าสู่วัยกลางคน บางรายถูก จับกุมมาดำเนินคดีแล้วได้รับการประกันตัวไปในชั้นพิจารณาแต่ก็กลับไปกระทำความผิดซ้ำอีกใน ระหว่างได้รับการประกันตัวโดยเฉพาะในคดียาเสพติด แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายเพิ่มโทษผู้กระทำ ผิดซ้ำด้วยการลงโทษผู้กระทำผิดที่มีประวัติการกระทำผิดมาก่อนให้หนักขึ นกว่าอัตราโทษที่ศาลจะลง แก่บุคคลดังกล่าวในอัตราหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 หรือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 เป็นต้น รวมไปถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ที่ให้นำโทษที่ศาลรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเพื่อให้โอกาสผู้กระทำผิดกลับตัวและแก้ไข ตนเองมาบวกเข้ากับโทษในคดีหลังของผู้กระทำผิดดังกล่าวที่ไม่เข็ดหลาบกระทำผิดกฎหมายซ้ำอีก แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ยังไม่สามารถหยุดยั งการกระทำความผิดอาญาซ้ำหลังจากพ้นโทษได้ จากการศึกษาพบว่า สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดกฎหมายในประเทศไทย ประกอบไปด้วยสาเหตุหลัก 2 สาเหตุหลัก สาเหตุแรกคือ สาเหตุทางสังคม เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาการขาดการศึกษา ปัญหาการว่างงาน การติดยาเสพติด การหารายได้ด้วยการค้ายาเสพติด การ เลียนแบบพฤติกรรม สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยอบายมุข และปัญหาด้านทัศนคติส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น การต้องการทำงานง่าย ๆ แต่ได้เงินมาก เป็นต้น สำหรับสาเหตุประการที่สองคือ สาเหตุจากปัญหาใน กระบวนการยุติธรรมของไทยเองที่ไม่สามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษทางทัณฑวิทยา ทั้งสี่ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน ทฤษฎีป้องปรามการกระทำผิด ทฤษฎีตัดโอกาสในการ กระทำผิด และทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดได้ อันเนื่องมาจากปัญหาการกำหนดโทษที่ไม่เหมาะสม กับผู้กระทำผิดอันเนื่องมาจากสาเหตุหลากหลายประการ เช่น ข้อจำกัดในการใช้และการขาดโทษและ มาตรการที่ศาลจะสามารถนำมาปรับใช้กับผู้กระทำผิดได้อย่างเหมาะสม การขาดข้อมูลเกี่ยวกับตัว ผู้กระทำผิดและพฤติการณ์การกระทำผิดที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจ กำหนดโทษของศาล ข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำ ปัญหาผู้กระทำผิดไม่ได้รับโทษเต็มตามคำ พิพากษาเนื่องจากได้รับการพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษ หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษ รวมไปถึง การที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่สามารถดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดได้อย่างเต็มที่อัน เนื่องมาจากปัญหาในทางกฎหมาย เช่น การขาดกฎหมายกำหนดวัตถุประสงค์และกระบวนการแก้ไข ฟื้นฟูผู้กระทำผิดในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาในทางปฏิบัติอื่นๆอีกหลายประการ เช่น การขาด แคลนกำลังเจ้าหนำที่และงบประมาณเป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาเมื่อเกิดขึ้นร่วมกันแล้วส่งผลให้ กระบวนการยุติธรรมไทยไม่เป็นไปตามทฤษฎีทัณฑวิทยาใด ๆ เลย และจึงส่งผลต่อเนื่องไปถึงการ กระทำผิดกฎหมายซ้ำของผู้กระทำผิดในประเทศไทย เมื่อศึกษากฎหมายและมาตรการของต่างประเทศที่ใช้ในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ ผิดซ้ำพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการ ลงโทษผู้กระทำผิดซ้ำด้วยโทษจ้าคุกที่ยาวนานเพื่อตัดโอกาสในการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดซ้ำ บางประเภทให้ได้มากที่สุด ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำที่คล้ายคลึงกับ ประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศ สิงคโปร์ต่างให้ความสำคัญกับทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำด้วยการนำหลักการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ ผิดตามหลักความเสี่ยง-ความต้องการ-การตอบสนอง (Risk-Need-Responsivity) ที่ให้ความสำคัญ กับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำสูงให้ตรงกับปัจจัยอันนำไปสู่การ กระทำผิดกฎหมายของบุคคลดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำให้ได้มากที่สุดมาใช้แก้ไข พฤตินิสัยของผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง สำหรับประเทศ ญี่ปุ่นก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษที่มีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ด้วยกระบวนการยุติธรรมในทุกกระบวนการบังคับโทษ และยังมีการนำพัฒนาการของผู้ต้องขังในการ แก้ไขฟื้นฟูตนเองและความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำไปเชื่อมโยงกับการพิจารณาพักการลงโทษอีกด้วย งานวิจัยนี้ จึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทยให้อยู่ภายใน กรอบของทฤษฎีทัณฑวิทยาทั งสี่ทฤษฎีให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการแก้ไขกฎหมาย 5 เรื่องหลัก ๆ คือ 1. ให้มีการปรับปรุงกฎหมายอาญาที่มีอัตราโทษโดยเฉพาะโทษปรับให้มีความทันสมัยและ สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2. ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษของศาลให้สอดคล้อง และเป็นไปตามทฤษฎีทัณฑวิทยามากยิ่งขึ น 3. ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับโทษและวิธีการคุมประพฤติผู้กระทำผิดทั่วไปและ ผู้กระทำผิดซ้ำให้มีมาตรการทางเลือกที่ศาลจะสามารถทำมาปรับใช้ได้มากขึ้นและให้มาตรการต่างๆมี ประสิทธิภาพในการป้องกันและตัดโอกาสในการกระทำผิดซ้ำ รวมไปถึงการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดได้ มากยิ่งขึ้น 4. ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานราชทัณฑ์และการปฏิบัติงานคุม ประพฤติให้เป็นไปในแนวทางแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดอย่างเต็มรูปแบบ และ 5. เสนอให้มีการพักการลงโทษและการพระราชทานอภัยโทษให้ความสำคัญกับการ พิจารณาพัฒนาการในการแก้ไขฟื้นฟูตนเองของผู้กระทำผิดและความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำแต่ละ รายให้มากยิ่งขึ้นth
dc.format.extent598 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb190073th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3972th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผู้กระทำผิดth
dc.subject.otherโทษจำคุกth
dc.titleแนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทยth
dc.title.alternativeAppropriate approaches to punish and rehabilitate recidivists in Thai justice systemth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190073.pdf
Size:
10.89 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: