แนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorจุฑารัตน์ ชมพันธุ์th
dc.contributor.authorจิรัฏฐ์ จันต๊ะคาดth
dc.date.accessioned2023-09-07T02:53:29Z
dc.date.available2023-09-07T02:53:29Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และปัญหาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครปัจจุบัน (2) ศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ส่งผลต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาคประชาชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บรวบรวม ข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ทำแบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจำนวน 480 ราย รวมทั้งการสัมภาษณ์ตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อหาแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ STATA ยอมรับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 384,233 ตันในปีพ.ศ 2558 เพิ่มเป็น 435,187 ตันในปีพ.ศ. 2564 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในระยะ 7 ปีที่ผ่าน และขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่เข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง โดยสามารถจัดการได้เพียงร้อยละ 22 หรือ 147,293.96 ตันของปริมาณที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้ยังมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกค้างหรือไม่สามารถจัดการได้หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้พฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่บริโภคสินค้าไปตามกระแสความนิยม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงยังไม่แรงจูงใจทางด้านระบบเศรษฐศาสตร์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อจำกัดด้านกฎระเบียบและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม นอกจากนี้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจต่อความตระหนักและพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยภายในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเดือนเฉลี่ย 1.31 ชิ้น และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 409 ราย และ 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.2 และร้อยละ 77.1 ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากการบริการของภาครัฐกว่าครึ่งหนึ่งในระดับน้อย (ค่าระดับคะแนน 0.00 – 0.66) จำนวน 283 ราย คิดเป็นร้อยละ 59 ส่วนใหญ่มีความตระหนักในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 339 ราย คิดเป็นร้อยละ 70.6 รวมทั้งมีพฤติกรรมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในแหล่งที่อยู่อาศัยตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระดับสูง (ค่าระดับคะแนน 1.34 – 2.00) จำนวน 367 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 อย่างไรก็ตามการจะบรรลุถึงความยั่งยืนในอนาคตหรือการจะเป็นมหานครสีเขียวในเอเชีย การจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งผลสู่การบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้บริหารต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน ทั้งด้านนโยบาย มาตรการ รวมทั้งกลยุทธ์ที่ใช้แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชนให้แน่ชัด อีกทั้งควรผลักดันและสร้างการรับรู้ต่อหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อการจัดการขยะของบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในบุคลากรทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ความเข้าใจแนวคิดและหลักการดำเนินงานหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ กระบวนการผลิตได้อีก (Make-Use–Return) หากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้ความร่วมมือจะส่งผลให้เดินหน้าเข้าสู่การดำเนินเศรษฐกิจในรูปแบบดังกล่าวอย่างสมดุลในทุกด้าน ภายใต้วิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด ลดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การบริโภค การจัดการของเสีย และการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่th
dc.description.abstractThis study aims to (1) study the current situation and problems involving E-waste management faced by communities in Bangkok, (2) study the knowledge and understanding that affects awareness and behaviours of E-waste management amongst people according to the circular economy principles in Bangkok, and (3) propose community guidelines for E-waste management according to the principles of the circular economy. This study utilised a combination of quantitative and qualitative approaches. Secondary data were collected from books, academic documents, literature reviews, and the internet. Primary data were collected on-site using questionnaires to collect data from 480 samples in Bangkok. Moreover, representatives from the government, private, and public sectors were interviewed to propose guidelines for E-waste management using the circular economy principles. The results from the study show that the amount of E-waste continues to increase, meaning the E-waste management process is inappropriate, resulting in residual or unmanageable E-waste. However, the population's behaviour also leads to problems for the community's E-waste management due to the consumption of products according to the trends and advancement of technology. Moreover, public relations campaigns for people and entrepreneurs to participate in E-waste management are not continuous; there are no economic incentives to efficiently collect fees for E-waste management, including limitations in regulations and overall E-waste management procedures. From the sample survey, In terms of E-waste disposal, most of them generated E-waste at an average amount of 1.31 pieces/month. However, 301 samples (62.7%) received information about E-waste management, 409 knew, while 370 highly understood E-waste and circular economy principles. On the other hand, more than half (283 or 59%) received a little incentive from the government to manage E-waste. In comparison, 339 (70.6%) have a high level of awareness concerning E-waste management by the circular economy, and 367 (76.5%) of them have a high level of E-waste management behaviour in residential areas according to the circular economy. E-waste management is one of the keys to achieving sustainability in the future to become a green metropolis in Asia. This necessitates cooperation from all sectors, including the government, private, and public sectors. Particularly, administrators must have a clear and common direction to solve problems regarding policies, measures, and strategies. Furthermore, the circular economy principles should be publicised to increase awareness concerning waste management by personnel, both at the policy and operational levels. This will then drive the concept of practices for solid outcomes amongst personnel at the policy and operational levels. If every sector cooperates, it will result in a balanced economy under the vision of maximising economic value and reducing the environmental and social impacts of production, consumption, waste management, and recycling.th
dc.format.extent242 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb215455th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6600th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectขยะอิเล็กทรอนิกส์ -- การจัดการth
dc.subjectการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์th
dc.subjectหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนth
dc.subjectการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherขยะและการกำจัดขยะ -- ไทยth
dc.titleแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeGuidelines for E-waste management of communities according to circular economy principles in Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b215455.pdf
Size:
2.7 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections