การยุบพรรคการเมืองตามระบบกฎหมายไทย

dc.contributor.advisorฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์th
dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ หนูชัยแก้วth
dc.date.accessioned2023-09-07T02:57:43Z
dc.date.available2023-09-07T02:57:43Z
dc.date.issued2022th
dc.date.issuedBE2565th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2565th
dc.description.abstractดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การยุบพรรคการเมืองตามระบบกฎหมายไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี วิวัฒนาการของการใช้เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง และค้นหาขอบเขตที่ชัดเจนทางทฤษฎีในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง  และเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ ผลทางกฎหมาย ของการยุบพรรคการเมืองของประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนการศึกษาเพื่อนำเสนอรูปแบบการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง อันนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีผลที่ได้จากการศึกษาสามประเด็น ดังต่อไปนี้ ประเด็นแรก ปัญหาการยุบพรรคการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองของไทยนำเงื่อนไขของการจัดตั้งพรรคการเมืองไปผูกรวมกับการทำให้พรรคต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ซึ่งมีข้อสังเกตุว่าเป็นลักษณะความต้องการของกฎหมายที่ให้พรรคการเมืองต้องเติบโตอย่างเร่งด่วน ซึ่งผิดกับหลักธรรมชาติของการรวมกลุ่มที่การมีสมาชิกจะต้องค่อยเพิ่มขึ้น แต่กฎหมายได้กำหนดให้ต้องมีจำนวนสมาชิกและต้องจัดตั้งจำนวนสาขาได้ตามที่กำหนด โดยเอาเงื่อนไขเหล่านี้มาเป็นข้อกำหนดให้พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองถ้าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะที่ขัดกับเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น การแก้ไขปัญหาทางกฎหมายของจัดตั้งพรรคการเมืองที่ไม่ก่อให้เกิดการยุบพรรคการเมืองของไทย ควรยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดเงื่อนไขของการจัดตั้งพรรคที่ผูกโยงกับการสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองส่วนนี้ออก  ประเด็นที่สอง ปัญหาของกลไกและบทบัญญัติว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองของไทยกับหลักการประชาธิปไตย  ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2560) ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 บัญญัติเหตุที่จะนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองได้ถึง 23 กรณี ซึ่งถือเป็นปัญหาที่กำหนดให้เหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองของไทยเป็นเกณฑ์อย่างกว้าง และการวางขอบเขตอย่างกว้างเช่นนี้นำไปสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีขอบเขตอย่างกว้างเช่นเดียวกัน อันส่งผลกระทบกระเทือนต่อสารัตถะของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองซึ่งถือว่าเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จากการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศเยอรมัน ประเทศฝรั่งเศส ประเทศตุรกี และประเทศชิลี ผู้ศึกษามีความเห็นว่าเหตุแห่งการยุบพรรคการเมืองของไทยควรเป็นเกณฑ์อย่างแคบและศาลรัฐธรรมนูญยังคงเป็นองค์กรที่มีความเหมาะสมในการวินิจฉัยคดีการยุบพรรคการเมืองแต่ควรวินิจฉัยโดยจำกัดอำนาจของตนเองอย่างยิ่ง และควรใช้มาตรการในการยุบพรรคการเมืองเป็นมาตรการสุดท้ายที่มิสามารถใช้มาตรการอื่นได้แล้วและการวินิจฉัยที่จะนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองได้จะต้องมีพยานหลักฐานอย่างชัดเจนเพียงพอและการกระทำของพรรคการเมืองมีท่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบการปกครองอย่างชัดแจ้ง ซึ่งการวินิจฉัยควรคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนด้วย ประเด็นที่สาม ปัญหาผลทางกฎหมายอันเนื่องมาจากการยุบพรรคการเมือง ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพรรคการเมืองใดโดนยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญแล้วทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคนต้องถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปด้วย ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลาว่านานเท่าใด (แนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดโทษ  10 ปี) ดังนั้น ผู้ศึกษามีความเห็นว่าควรที่จะแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและมีความสอดคล้องกับนานาประเทศ โดยลงโทษเฉพาะผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมือง ส่วนของการกำหนดระยะเวลาในการตัดสิทธิทางการเมืองควรกำหนดระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลยพินิจในการลงโทษโดยคำนึงถึงความร้ายแรงและพฤติการณ์ของการกระทำความผิดนั้น และยังส่งผลต่อสมาชิกพรรคในหลายกรณีอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อพรรคการเมืองถูกยุบลงแล้วย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของไทย และไม่ได้เป็นแนวทางหรือมาตรการในการแก้ปัญหาทางการเมืองไทยให้ดีขึ้น แต่ในทางกลับกันเป็นการเพิ่มปัญหาต่อกระบวนการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมืองเสียมากกว่า ประกอบกับทำให้พรรคการเมืองไทยมีความอ่อนแอลงมากขึ้นและได้ใช้กลไกนี้เพื่อหวังผลทางการเมืองอีกด้วย ข้อเสนอแนะ การยุบพรรคการเมืองควรมีได้เฉพาะเหตุร้ายแรงและควรบัญญัติให้มีความชัดเจนไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่กระทบต่อหลักการพื้นฐานในเหตุสองลักษณะ คือ พรรคการเมืองกระทำการล้มล้างหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และควรนำมาตรการ “สั่งให้เลิกการกระทำ” มาใช้แทนการยุบพรรคการเมืองในกรณีที่มีความร้ายแรงระดับกลาง ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองต้องเป็นกรณีที่เลิกพรรคเองตามข้อบังคับ ส่วนกรณีอื่น ๆ เห็นควรยกเลิก โดยมีเป้าประสงค์เพื่อมุ่งคุ้มครองเสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองของประชาชนเป็นสำคัญth
dc.description.abstractThis dissertation under the title “Dissolution of Political Parties According to the Thai Legal System is aimed to investigate concepts, theories, and the revolution on the exercise of freedom in forming a political party, to find out a clear scope of the theory on limitation of rights and freedom regarding the dissolution of political parties, and to make a comparative analysis to the rules, procedures, and legal effects on the dissolution of political parties of Thailand and those of other countries. In addition, this study is to exhibit some approaches to amend the provisions of law on dissolution of political parties to be in line with the purposes of the exercise of freedom in forming a political party in order to generate approaches that is right and suitable for Thailand. The results of this study can be described in three points as follows. The first point: problems regarding dissolution of political parties that affect the freedom to form a political party. The finding reveals that Thailand’s law on establishment of political parties has bound conditions in forming a political party with the termination of a political party. Noticeably, this is a legal requirement to make a political party grow up rapidly, which is in contrary to the nature of assembling as a group where members should have been gradually increased. On the other hand, the law stipulates a political party to collect members and establish branches in amount as required by the law. These conditions are taken to determine a pollical party to be terminated if it fails to fulfill and complete such provisions within a required period of time. This is a manner that is contrary to the freedom in forming a political party as prescribed under the Constitution. Therefore, to solve the legal problem of Thailand on establishment of political parties to prevent dissolution of political parties, the part of the provisions in which conditions of the establishment of a political party are bound with the termination of political party should be abolished. The second point: problem of the mechanism and provisions regarding dissolution of political parties of Thailand against the principle of democracy. According to the finding, the Constitution of The Kingdom of Thailand (B.E. 2560 (2017)), the Organic Act on Political Parties B.E. 2560 (2017), and the Organic Act on Election of Members of the House of Representatives B.E. 2560 (2017) prescribe 23 causes that can lead to a dissolution of political parties.  The problem is that these causes are set out as broad criteria for dissolution of political parties, leading to a broadly-made decision on the dissolution of political parties by the Constitutional Court. This impacts the essence of the democracy and the exercise of the right and freedom to form a political party, which is fundamental to people under the democratic system. Compared with Germany, France, Turkey, and Chile, the researcher views the causes of the dissolution of political parties should be narrowly set out as criteria, while the Constitutional Court is still the correct entity for determining cases on the dissolution of political parties with highly limited power. Moreover, a dissolution of political parties should be taken as the final measure while there are not any other measures to be taken. Determining a dissolution to a political party must be based on explicit and sufficient evidences proving that an act of a political party is explicitly hostile to the regime, so the determining should be made on the proportional basis. The third point: problems regarding legal effects due to a dissolution of political parties. The finding shows that when any political party is dissolved by the Constitutional Court, all members of the party executive committee are revoked with their rights of application for election without a period of time specified (according to the verdict approach with 10 years of penalty). As the result, the researcher views that the provisions of Thai law should be amended to conform to the principle of democracy and be in line with other countries by imposing penalty only for those who engage in the offense, no matter they are executive committee or members of the party. Regarding the term for which the political rights is deprived, it should be imposed for not over 5 years, depending upon the discretion of the Court considering severity and circumstances of the offense. Dissolution of a political party not only affects the party members in many cases, but also gives negative impacts to the political and administrative structure of Thailand. Also, it is not the way or measure to solve the political problems of Thailand to be better; on the other hand, it rather increases problems to the procedure in developing political parties to be political institutions and causes more weakness to political parties as the dissolution of political parties might be used as mechanism for seeking political benefits and advantages.  For suggestion, the dissolution of political parties should be made specifically for severe cases.  Two circumstances that impact the fundamental principles should be explicitly prescribed in the Constitution: a political party performs an act in a subversive or hostile manner to the constitutional monarchy. Also, the measure of “ordering to quit the act” should be used as a substitute for the dissolution of political parties for moderately severe cases. The termination of political parties should be in the case where a political party terminates itself according to the regulations. Other cases are viewed to be abolished to protect the people’s freedom of consolidating as political parties.th
dc.format.extent443 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb216000th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6639th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherพรรคการเมือง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ – ไทยth
dc.subject.otherการยุบพรรคการเมือง – ไทยth
dc.titleการยุบพรรคการเมืองตามระบบกฎหมายไทยth
dc.title.alternativeDissolution of political parties according to the Thai legal systemth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b216000.pdf
Size:
3.56 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description: