การควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐ

dc.contributor.advisorพัชรวรรณ นุชประยูรth
dc.contributor.authorเกริกเกียรติ ทิพย์ชัยth
dc.date.accessioned2024-03-22T03:22:09Z
dc.date.available2024-03-22T03:22:09Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดทํา บริการสาธารณะที่รัฐให้เอกชนจัดทําหรือร่วมจัดทํา 2. ศึกษาอํานาจหน้าที่การควบคุม กํากับดูแลในการให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ 3. ศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาหลักการพื้นฐาน แนวคิดทฤษฎีและพัฒนาการของการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐ ส่วนที่สอง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยรัฐในระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศที่ผู้วิจัยเห็นว่ามีความสําคัญ พบว่า 1. การปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น บริการสาธารณะบางประเภทยังไม่มีกฎหมายกําหนดโดยเฉพาะให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุม กํากับดูแลเอกชนจัดทําบริการสาธารณะทําและการควบคุม กํากับดูแลนั้นเป็นเพียงการควบคุม กํากับดูแลโดยคู่สัญญาทําให้มักเกิดการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐแต่ไม่มีความผิดเกิดขึ้น 2. การใช้เอกสิทธิ์ของรัฐเหนือเอกชนในการจัดให้เอกชนจัดทําบริกาสาธารณะยังขาดหลักเกณฑในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาและกฎหมายให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการมีเอกสิทธิ์มากเกินไปรวมถึงการขาดความชัดเจนในการให้อํานาจคู่สัญญาฝ่ายรัฐในการบอกเลิกสัญญา จนทําให้ใช้เอกสิทธิ์ในการแก้ไขและบอกเลิกสัญญาตามอําเภอใจและไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ 3. การควบคุม กํากับดูแลนั้นมักจะขาดประสิทธิภาพเนื่องจากการไม่มีองค์กรกลางที่จะเข้าไปตรวจสอบการควบคุม กํากับดูแลและไม่มีการดําเนินการทางกฎหมายกับบุคคลที่มีอํานาจในการควบคุม กํากับดูแล แม้บุคคลนั้นจะละเลยในการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อํานาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบก็ตาม 4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมายในการตรวจสอบหรือติดตามการจัดทําบริการสาธารณะทั้งในความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรที่ได้รับอํานาจตามหลักการกระจายอํานาจและความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญาฝ่ายรัฐกับคู่สัญญาฝ่ายเอกชนการกําหนดความสัมพันธ์ในบทบัญญัติทางกฎหมายยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาทั้ง 4 ประการดังกล่าว ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1. การตั้งคณะกรรมการกลางในการควบคุม กํากับดูแลการจัดทําบริการสาธารณะโดยเอกชนในบริการสาธารณะประเภทการให้เอกชนเดินรถร่วมกับรัฐและสัญญาจ้างก่อสร้างของทางราชการ 2.การเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการแก้ไขสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐและการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการบอกเลิกสัญญาในระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 หรือร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายในพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 3. แก้ไขระเบียบองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพว่าด้วยการบริหารจัดการและกํากับดูแลรถโดยสารเอกชนร่วมบริการ พ.ศ. 2550 ให้มีการกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนคู่สัญญาในการกํากับดูแลเป็นการควบคุมดูแลth
dc.description.abstractThe purposes of the thesis are including, 1. To study about the concept and the process of the state's project about the public service that provided by the private organization or the group who join in with the state. 2. To study about the duty and the power of the state to control and oversight the private organization of public service project. 3. To study about the Laws between Thai Laws and other countries Laws about the control and oversight to do the public service project. There are two method to study the projects. First part is to study the basic of the theory and the development of The control and the oversight of private organization about the public services by the state. The second part is to study about the Laws between Thai Laws and other countries Laws about the control and oversight to do the public service project which the researcher found it is vital. The researcher found that 1) The operations of the control and the oversight of private organization about the public services by the state. For some public service, there is no specific law for the the department of the state or the officer who has the duty to take care of the project. 2) The duty of using the privilege of the state over the private organization to oversight the project about the public service, they are still lacking the regulations of the resolution and contract's cancelation. Also, the laws provided the power for the partners of contract from the state to have the over privilege and lacking of the clearly to provide the power for the partners of contract to cancel the contract. Those are the reasons to cause the whim of using the privilege to solve the problem and cancel the contract and not helpful for the public. 3) About the control and oversight, it always lack of efficiency because there is no any organization to control and operation by using laws with the officer who has the power to control things even they are using power in the wrong way.4) The relation between Law in investigation of public service project, the government officer and the main organization who has the power to control the contract between the partners of contract, there is still lack of indication that about the provision of the law, it is still not in the same way. Therefore, the solution to solve all the problems the researcher would recommend the following resolution. 1. To appoint the committee who has the power to control and oversight the private organization about the public service by the state. And to provide them the power to control the public transportation with private organization and about the public service to the state and the contract of the construction from the state. 2. The additional criteria for amendment of Council Regulation on Procurement Act 2535 or the procurement and management of public procurement rules, and more in order to terminate the contract in the Office of the Prime Minister in parcel 2535. Or a proposal for procurement and supply management sector. The additional provision in the law to allow private investment in state affairs 2556. 3. To resolve the Bangkok Mass Transit Authority regulations governing the management and oversight of private bus services are scheduled for 2550. Also to indicate the relationship between the state and private parties in the regulatory oversight.
dc.format.extent281 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb197537th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6782th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherบริการสาธารณะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.titleการควบคุม กำกับดูแลเอกชนจัดทำบริการสาธารณะโดยรัฐth
dc.title.alternativeThe control and the oversight of private organization about the public services by the stateth
dc.typetext::thesis::master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b197537.pdf
Size:
2.12 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
9.73 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections