การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษา : สถาบันระดับอุดมศึกษา

dc.contributor.advisorพลภัทร บุราคม
dc.contributor.authorธนภณริทธิ์ ธนภัทร์เศวตโชติ
dc.date.accessioned2023-04-10T08:17:56Z
dc.date.available2023-04-10T08:17:56Z
dc.date.issued2019
dc.date.issuedBE2562th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืม เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลกัเกณฑ์การให้กู้ยืม 3) เพื่อศึกษาการกระจายผลประโยชน์ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา ว่าครัวเรือนที่ยากจน สามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนได้มากน้อยเพียงใด และ 4) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research)โดยใช้ข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเชิง คุณภาพที่ได้จากการศึกษาทบทวนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวขอ้ง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาของรัฐ และสถาบันการศึกษาในกำกับของรัฐผลการศึกษา พบว่า 1) กระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา พบว่าการกำหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิกู้ยืมที่สูงเกินไปทำให้กองทุนเงินให้กูย้มืเพื่อ การศึกษาไม่สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้ต่ำได้อย่างแท้จริงการที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้อำนาจสถานศึกษาในการดำเนินงานให้กู้ยืมมากเกินไป โดยที่ขาดกลไกกำกับ ดูแลและตรวจสอบจากกองทุนฯ ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์จากเงินให้กู้ยืมของ สถานศึกษา การขาดกลไกในการตรวจสอบการจัดสรรเงินกู้ยืม การขาดกลไกการติดตามชำระหนี้คืนที่มีประสิทธิภาพ การขาดกลไกในการติดตามและประเมินผลทำให้การดำเนินงานของกองทุนฯ ผิดพลาด และไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างตรงเป้าหมาย 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อ หลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคร้ังนี้มีความพึงพอใจต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากทุกด้าน ซึ่งด้านการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินคืน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดเงื่อนไขกระบวนการขอกู้ยืมเงิน ด้านการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้กู้ยืม และด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืมกลุ่มตวัอย่างมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ด้านการกำหนดเงื่อนไขการ ชำระเงินคืน มีความเหมาะสมและมีความเป็นธรรมที่จะช่วยให้คนที่ยากจนสามารถมีสิทธิเข้าถึง การกู้ยืมเงินของกองทุน ในขณะที่ด้านการกำหนดเงื่อนไขขอบเขตวงเงินให้กู้ยืม ยังไม่มีความเหมาะสมกบัครัวเรือนที่ยากจน และค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษายังไม่เพียงพอ สำหรับการเรียนของคนที่ยากจน จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่อหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม พบว่า นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และ นักศึกษาผู้กู้ยืมในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่มหาวิทยาลัยของรัฐและ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐมีความคิดเห็นว่า หลักเกณฑ์การให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาผู้กู้ยืมในระดับอุดมศึกษา พบว่า ผลประโยชน์ตกกับครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางมากกว่า ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด ทำ ให้โอกาสในการเข้าถึงผลประโยชน์ของกองทุนของครัวเรือนที่ยากจนไม่สามารถ เข้าถึงได้อย่างแท้จริง ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า การกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีการจัดสรรเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ไม่มีความเป็นธรรม 4) ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่1) นโยบายการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ผู้มีสิทธิกู้ยืมจากเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำ 2) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษาควรมีกลไกการตรวจสอบหรือกำกับดูแลจากกองทุนฯ ในการจัดสรรเงินกู้ยืมเพื่อให้การดำเนินงานให้กู้ของสถานศึกษาในสังกัดมีการให้กู้มีที่ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงth
dc.format.extent290 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2019.105
dc.identifier.otherb211008th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6361
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาth
dc.titleการประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการกระจายผลประโยชน์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษา : สถาบันระดับอุดมศึกษาth
dc.title.alternativeEvaluation and satisfation of higher education student and benefit incidence analysis of Student Loan Fund : a case study of universityth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b211008.pdf
Size:
17.12 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections