ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorชนิดาภา มงคลเลิศลพth
dc.date.accessioned2024-03-22T06:57:04Z
dc.date.available2024-03-22T06:57:04Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิตว่าด้วยหลักประซาธิปไตยและระบบการเลือกตั้ง ศึกษาพัฒนาการระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาปัญหาระบบการเลือกตั้งในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะระบบการเสือกตั้งที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยผลการศึกษาพบว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศไทย ทั้งระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาและระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน ผลการเลือกตั้งไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนเจ้าของอำนาจได้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นระบบที่มีแนวโน้มทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบพรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็กเสียเปรียบ ไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่สามารถพัฒนาตนเองในทางการเมืองได้ กล่าวคือ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ไม่มี ศักยภาพเพียงพอที่จะต่อสู้กับพรรคการเมืองขนาตใหญ่ ทำให้ไม่สามารถมีที่นั่งในสภาหรือเติบโตเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนได้เลย ทำให้ระบบรัฐสภาไม่สามารถเป็นกสไกสะท้อนสภาพปัญหาของประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริง ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้งที่ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดอนาคตของประเทศโดยการเลือกผู้แทนของตนผ่านการเลือกตั้ง ทั้งนี้ แตกต่างจากระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศเยอรมนีและประเทศนิวซีแลนด์ มีหลักการคล้ายกับระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน แตกต่างกันในส่วนของวิธีการคิตคะแนน โดยระบบสัดส่วนผสมจะมีการคิดคะแนนจัดสรรที่นั่งซึ่งทั้งสองระบบมีความเชื่อมโยงต่อกัน มีการชดเชยที่นั่งจากระบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นผสให้ผลการเลือกตั้งสามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน์ได้อย่างแท้จริง คะแนนเสียงของผู้ออกเสียงได้สัดส่วนกับจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับตามความเป็นจริง ก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่เป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้ใหม่ ดังนั้น จึงส่งผลต่อระบบพรรคการเมืองให้มีความหลากหลาย เป็นสถาบันที่มีอุดมการณ์และรากฐานจากประชาชน ระบบรัฐสภาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นกระจกสะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงจึงเห็นได้ว่า ระบบการเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างระบบการเมือง การออกแบบระบบการเลือกตั้งจึงต้องพิจารณให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละประเทศ โดยคำนึงถึงบริบทสังคมและพื้นฐานทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ เพื่อให้ระบบการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ ในโครงสร้างทางการเมือง ทั้งพรรคการเมือง ผู้แทนประชาชน และเสถียรภาพของรัฐบาล ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างมีประสิทธิผลเป็นไปตามครรลองของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย นำสู่ความปรองดองและความเจริญงอกงามแห่งประชาธิปไตยสืบต่อไปในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนเห็นว่า ควรนำระบบการเสือกตั้งแบบสัดส่วนผสมมาปรับใช้ในประเทศไทย โดยเป็นการผสมระหว่างระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมตาแบบเขตเดียวคนเดียว กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อโดยแบ่งประเทศออกเป็นเขตเลือกตั้งตามเขตการปกครองที่ชัดเจนแน่นอน แต่ละเขตไม่จำเป็นต้องมีจำนวนประชากรเท่ากัน แต่ต้องให้ความเสมอภาคในการเป็นตัวแทนตามสัดส่วนประชากร และควรกำหนดอัตราส่วนระหว่างสมาชิกแบบแบ่งเขตกับสมาชิก ประเภทบัญชีรายชื่อให้มีจำนวนที่ไต้สัดส่วนต่อกันหรือเป็นจำนวนเท่ากัน อีกทั้งรัฐควรเตรียมความพร้อมในต้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย ต้านองค์ความรู้ การบริหารจัดการการเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ตลอดจนการปลูกจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนทุกคนอีกด้วยth
dc.description.abstractThis thesis aimed to study concepts of the principle of democracy and electoral systems, developments of electoral systems in Thailand and foreign countries and problems of electoral systems in Thailand, on one hand, and to suggest electoral systems appropriate for and consistent with the state of Thai society, on the other. The results of the study showed that Thailand’s electoral systems – both Simple Majority Electoral System and Parallel Electoral System – led to the election results that were not able to actually reflect the will of the sovereign people. These electoral systems were also those that tended to make major parties gain an advantage and make medium and minor parties have a disadvantage. Moreover, the systems did not give opportunity for newly established parties to be capable of political self-development; in other words, the newly established parties did not have enough potential to fight against major parties. Therefore, both electoral systems not only make the newly established parties unable to gain any parliamentary seat or grow enough to express the voice of the people at all but also make the parliamentary system fail to act as a mechanism that actually reflected the state of the people’s problems in the country. Consequently, the two electoral systems were incompatible with the objective of the election that requires people to be those who determine the future of the nation by means of electing their own representatives through the election. As mentioned above, MMP Electoral System, which is used in Germany and New Zealand, differs from Parallel Electoral System. Although MMP System and Parallel System have similar principles, the former differs from the latter in how to calculate votes. MMP calculates votes to allocate seats by connecting Constituency System with Party-list System. MMP also has compensatory seats for candidates from Party-list System in order that political parties actually gain seats in accordance with the quota received. Consequently, the election results can actually reflect the will of the people. Voter’s votes are proportionate with the seat number each party actually receives. This results in fairness to every political party – major parties, medium parties, minor parties or even newly established parties. Therefore, MMP Electoral System contributes to the diversity of political party systems. Subsequently, political party systems will develop into institutes with ideology that are peoplebased, and the parliament can perform their duty effectively and acts as a mirror that reflects problems and needs of the sovereign people Therefore, it can be seen that electoral systems are extremely important for political system structures, so electoral system design must be considered consistently with the state of the problems and needs of each country by taking into account social contexts and cultural basis of that society in order that the electoral systems not only are a tool that drives various elements in the political structure – political parties, representatives and government stability – to perform their duty efficiently but also have a mechanism for checking and balancing effectively in accordance with democratic countries and lead to harmony and democracy growth further. In this study, the author thinks that MMP Electoral System should be adapted for use in Thailand by combining Simple Majority Electoral System based on a singlemember constituency with Party-list Proportional Representation Electoral System. The country will be clearly divided into constituencies based on administrative districts. Each constituency does not need to have the equal number of population, but it must offer the equality to be representation based on population proportion. The ratio of the constituency representatives to party-list representatives should be proportionately or equally determined in terms of the number. State should not only undergo preparation in various aspects such as law, body of knowledge, election management and responsible staff but also establish democratic consciousness for all the people.th
dc.format.extent254 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb197539th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6784th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการเลือกตั้ง -- ไทยth
dc.subject.otherสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้งth
dc.titleระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมth
dc.title.alternativeElectoral system of the house of representatives appropriate for Thailand: a study of mixed member proportional (MMP) electoral systemth
dc.typetext::thesis::master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMaster'sth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b197539.pdf
Size:
2.83 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
9.73 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections