Now showing items 2983-3002 of 3318

  • Thumbnail

    สตรีชนบทกับการเข้ารับบริการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรี 

    วาณี ทัพพะปุรณะ; ขัตติยา กรรณสูต, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะปัจจุบัน และการพัฒนากิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสตรีของหน่วยงานของรัฐ ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการฝึกอบรมสตรีชนบทในหมู่บ้านที่เลือกศึกษา และปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับการฝึกอบรมของสตรีชนบท.
  • Thumbnail

    สถานบริการตู้รับเด็กทารกและผลทางกฎหมายของอำนาจปกครองของมารดา: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสหรัฐอเมริกา 

    สุธาสินี ศรีประพิศกูร; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    เนื่องมาจากปัญหาเด็กทารกเสียชีวิตจากการถูกนำมาทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยของประเทศไทย เช่น ในห้องน้ำสาธารณะ ริมถนน หรือถังขยะ เป็นต้น ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้ลดจำนวนลงได้ บทความวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่ไทยสมควรจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย จากการศึกษาเอกสารต่างประเทศพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติกฎหมาย Safe Haven Laws จัดตั้งสถานบริการตู้รับเด็กขึ้นในแต่ละมลรัฐเพื่อใช้แก้ปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการถูกนำไปทอดทิ้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยต่างๆ เป็นผลทำให้สถ ...
  • Thumbnail

    สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทยหลังกลับจากการทำงานต่างประเทศ : ศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไป 

    กนกพร มโนรัตนา; ประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997)

    สถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทยหลังกลับจากการทำงานต่างประเทศศึกษาเปรียบเทียบตามประสบการณ์ประเทศที่ไป มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ / 1. ศึกษาถึงสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานไทย หลังกลับจากการทำงานต่างประเทศ / 2.เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ ระหว่างแรงงานที่ไปทำงานประเทศไต้หวันกับประเทศอื่น ๆ / ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแรงงานไทยที่กลับจากการทำงานต่างประเทศที่ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวนตัวอย่าง ทั้งสิ้น 120 ชุด โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงโดยกระจายตามพื้นที่ ...
  • Thumbnail

    สถานภาพและบทบาทของปอเนาะในสังคมไทย : ศึกษากรณีอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 

    ณัฏฐินี ปิยะศิริพนธ์; พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2005)
  • Thumbnail

    สถานภาพและบทบาทของสตรีไทย : การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 

    พิมลพรรณ วยาจุต; สนิท สมัครการ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาในครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้านกับครอบครัวซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (3) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของสามีซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (4) เพื่อศึกษาปัญหาในการดำรงชีวิตของครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาต่างออกไปทำงานนอกบ้านกับครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน
  • Thumbnail

    สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 

    ภัทร ไวยรัชพานิช; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินแผ่นดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมไปถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่อยู่ในสังกัดของรัฐและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมายของทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยและคุ้มครองทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ตลอดถึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วและกฎหมายที่จะบัญ ...
  • Thumbnail

    สถานะทางกฎหมายของสหภาพข้าราชการ 

    ศุภธนิศร์ ฤทธิ์จรูญโรจน์; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาสถานะ ทางกฎหมายของสหภาพข้าราชการ โดยศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานะทางกฎหมาย ของสหภาพข้าราชการ ลักษณะ วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ ตลอดจนการบริหารจัดการ การควบคุม สหภาพข้าราชการ เพื่อวิเคราะห์สถานะทางกฎหมาย การกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้อง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เนื่องด้วยมีร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญสามารถรวมกลุ่ม จัดตั้งขึ้นเป็นสหภาพข้าราชการได้ ซึ่งการรวมกลุ่มเข้าเป็นสหภาพนั้น ทำให้มีปัญหาน่าคิดว่า สหภาพ ข้าราชการที่จะ ...
  • Thumbnail

    สถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 

    พรหมภัสสร ภักดีเทศพิทักษ์; สุนทร มณีสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ทรัพย์สินของแผ่นดินแบ่งออกเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาและสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน ความแตกต่างของทรัพย์สินทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างทั้งในด้านลักษณะของการใช้ ประโยชน์ในทรัพย์สิน การให้ความคุ้มครองในทรัพย์สินไม่ให้ตกไปเป็นของเอกชนเพื่อให้ทรัพย์สินนั้น ยังคงอยู่เพื่อประโยชน์มหาชน และการสิ้นสภาพทรัพย์สิน การศึกษาสถานะทางกฎหมายเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมุ่งศึกษาว่าอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศ ไทยมีสถานะทางกฎหมายอย่างไร และมีลักษณะการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ตรงกับสถานะ ทางกฎหมายหรือไม่ อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเ ...
  • Thumbnail

    สถานะทางกฎหมายและมาตรการควบคุมเพื่อใช้ประโยชน์จากกัญชา/กัญชงของประเทศไทย 

    ชลิดา อุปัญญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและมาตรการทางกฎหมายของ ประเทศไทยและของต่างประเทศในการใช้ประโยชน์จากพืชกัญชา/กัญชง และสถานะทางกฎหมาย ของกัญชา/กัญชงเพื่อเป็นช่องทางให้ใช้ประโยชน์จากกัญชา/กัญชงโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ วิเคราะห์เพื่อสร้างต้นแบบที่เหมาะสมกับสังคมไทย ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์จากกัญชา/กัญชงของประเทศไทย
  • Thumbnail

    สถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษาไทย 

    จิรายุ ชาติประสพ; อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาสถานะองค์ความรู้งานวิจัยด้านเครือข่ายในระดับอุดมศึกษา ไทย โดยผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานะองค์ความรู้ทางด้านเครือข่าย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะและรูปแบบของเครือข่ายที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยที่ผ่านมา 3. เพื่อศึกษา ทิศทางแนวโน้มในการศึกษาวิจัยด้านเครือข่าย โดยเลือกศึกษาจากผลงานวิจัยด้านเครือข่ายความ ร่วมมือที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ ซึ่งคัดเลือกจากวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต และดุษฎี บัณฑิต ...
  • type-icon

    สถาบันการศึกษาระดับสากล 

    สำนักบรรณสารการพัฒนา (สำนักบรรณสารการพัฒนา, 2021-12)

    จากอดีตจวบจนปัจจุบันในทศวรรษที่ 6 สถาบันยังคงให้ความสำคัญต่อคุณภาพหลักสูตรการศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกคณะที่เปิดทำการเรียนการสอนของนิด้า ผ่านการรับรองหลักสูตรการศึกษาตามมาตรฐานสากลจากหลากหลายองค์กร ได้แก่ AACSB (Association to Advance Collegiate School of Business) , TedQual (Tourism Education Quality) รวมไปถึงการได้รับการรับรองคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ของ AUN - QA (ASEAN University Network Quality Assurance) นอกจากนี้หน่วยงานสนับสนุนของสถาบันยังได้รับการรับรองระบบการบริหารจัดการจากองค์กร ISO (International Standard Organization)
  • type-icon

    สถาบันที่พ่อสร้าง 

    สำนักบรรณสารการพัฒนา (สำนักบรรณสารการพัฒนา, 2021-08)

    สถาบันที่พ่อสร้าง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • Thumbnail

    สถาบันผู้นำและการปกครองตัวเองของชาวเขาเผ่าแม้ว : บทศึกษาเฉพาะกรณีแม้วที่บ้านขุนสถาน อำเภอน้อย จังหวัดน่าน 

    ภักดี ชมภูมิ่ง; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)

    ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปลักษณะของการปกครองตนเองของชาวเขาเผ่าแม้ว ที่มาของอำนาจในการปกครอง ผู้ที่ใช้อำนาจในการปกครอง สถานะของหัวหน้าเผ่า ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ ในการปกครองและฐานะทางการปกครองของประชาชนชาวแม้ว รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนและเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของพวกชาวเขา โดยมุ่งพิจารณาในด้านสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา ลัทธิความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างแม้วกับบุคคลภายนอก ตลอดจนความสัมพันธ์ในระหว่างแม้วในหมู่บ้านเดียวกันควบคู่กันไป การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาชาวเขาเผ่าแม้ว เพราะชาวเขาเผ่ ...
  • Thumbnail

    สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง : ศึกษากรณีกระบวนการรวมหน่วยงาน 

    สัณห์ จิตรปฏิมา; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)

    ศึกษาปัญหาการรวมวิทยาลัยการทัพบกกับโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในระดับสูง ขึ้นตรงต่อกองทัพบก ผู้เขียนได้ศึกษาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยการทัพบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก โดยกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ภารกิจ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา การกำหนดจำนวนและโควต้า วิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก การจัดอัตรา และหลักสูตรการศึกษา ต่อจากนั้นได้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการศึกษาของวิทยาลัยการทัพบกและโรงเรียนเสนาธิการทหารบกในด้านการดำเนินงานของกรมยุทธการทหารบก การศึกษาพิจารณาฝ่ายอำนวยการ การดำเนินการของกองทัพบก การพิจารณาปัญหาในการดำเนินงาน ...
  • Thumbnail

    สถิติทดสอบความเท่ากันของเวกเตอร์ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 ประชากร เมื่อเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมระหว่าง 2 ประชากรไม่เท่ากัน สำหรับข้อมูลมิติสูง 

    ปารณัท สุขเจริญ; สำรวม จงเจริญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    งานวิจัยนี้ได้นำเสนอตัวสถิติทดสอบสำหรับทดสอบสมมุติฐานเชิงสถิติความเท่ากันของเวกเตอร์ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 ประชากร ภายใต้ข้อกำหนดเบื้องต้นว่าข้อมูลทั้งสองตัวอย่างมีการแจกแจงปกรติหลายตัวแปร ที่ไม่ทราบเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมของประชากรแต่ทราบว่าไม่เท่ากันและเป็นอิสระกัน สำหรับข้อมูลมิติสูง การพัฒนาตัวสถิติทดสอบมีพื้นฐานจากแนวคิดการเก็บรักษาข้อมูลจากเมทริกซ์ความแปรปรวนของตัวอย่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตัวสถิติทดสอบที่นำเสนอมีคุณสมบัติไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การแปลงสเกลาร์และมีการแจกแจงปรกติมาตรฐานโดยประมาณเมื่อจำนวนตัวแปรสุ่มมีจำนวนมาก ผลการศึกษาด้วยการ ...
  • Thumbnail

    สถิติทดสอบเพื่อคัดเลือกตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ 

    พลากร สีน้อย; จิราวัลย์ จิตรถเวช, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010)

    งานวิจัยนี้ได้เสนอสถิติทดสอบ เพื่อการคัดเลือกตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดย สร้างสถิติทดสอบจากเกณฑ์ซีพี(Cp )และเกณฑ์เอไอซี(AIC) สถิติทดสอบที่สร้างขึ้นนี้เรียกวาสถิติทดสอบซีพี (Cp -test)และสถิติทดสอบเอไอซี (AIC-test)การคัดเลือกตัวแบบใช้วิธีการกำจัดตัวแปร แบบถอยหลัง (Backward Elimination) โดยใช้เกณฑ์ซีพี เกณฑ์เอไอซี เกณฑ์เอไอซีซี (AICC ) เกณฑ์เอไอซียู (AICu ) สถิติทดสอบเอฟบางส่วน (Partial F-test) และสถิติทดสอบซีพี สถิติทดสอบเอไอซี ที่นำเสนอ การศึกษาได้เปรียบเทียบเกณฑ์และสถิติทดสอบทั้ง 7 จากร้อยละของตัวแบบที่คัดเลือก ได้ถูกต้อง โดยวิธีการสร้างแบบจำลอง ...
  • Thumbnail

    สถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ สำหรับทดสอบความแตกต่างของตำแหน่งของประชากร 2 กลุ่ม กรณีความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน 

    วราวัลย์ นิลพัทธ์; สำรวม จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)

    งานวิจยนี้ผู้วิจิยได้เสนอสถิติทดสอบบูทสแตรปเฉิน-ลูโดยเปรียบเทียบความสามารถใน การควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และค่าอานาจการทดสอบของสถิติ แบบไม่ใชพารามิเตอร์สาหรับทดสอบความแตกต่างของตำแหน่งของประชากร 2 กลุ่ม กรณีความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน กับสถิติทดสอบวิลคอกสัน-แมน-วิทนีย์วิธีคลิฟฟ์ สถิติ ทดสอบบรุนเนอร์-มุนเซล สถิติทดสอบเฉิน-ลูและสถิติทดสอบบูทสแตรปแรงค์เวลซ์ข้อมูลที่ใช้ ในการศึกษาคร้ังนี้ได้จากการสร้างแบบจำลอง เมื่อข้อมูลมาจากการแจกแจงเอกรูปต่อเนื่องและการ แจกแจงแกมมาขนาดตัวอย่างเท่ากับ (5,10), (10,10), (20,30), (30,30), ...
  • Thumbnail

    สภาพการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับกอง ในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี 

    ละม่อม ศรีจันทราพันธุ์; เพ็ญศรี วายวานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)

    ศึกษาการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่ระดับกอง จำนวน 8 โรงพยาบาลในจังหวัดพระนครและธนบุรี ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และส่งแบบสอบถามเป็นรายบุคคล
  • Thumbnail

    สภาพการทำงานของสตรีและเด็กในโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี 

    นภาพร โกศัลวัฒน์; อาชวัน วายวานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1972)

    ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานทอผ้า มุ่งศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับแรงงานสตรีและเด็ก ลักษณะทั่วไปของการใช้แรงงานสตรีและเด็ก ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ค่าล่วงเวลา การจัดสวัสดิการและผลประโยชน์พิเศษที่ได้รับ ทั้งนี้เพื่อแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเหมาะสมในการใช้แรงงานสตรีและเด็ สภาพการทำงานของสตรีและเด็ก ลักษณะการจ้างของนายจ้าง กฎหมายแรงงานว่าได้ให้ความคุ้มครองแรงงานสตรีและเด็กมากน้อยเพียงใด แนวโน้มเกี่ยวกับการใช้แรงงานและปัญหาเกี่ยวกับการใช้แรงงาน เมื่อได้ศึกษาข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงมาตรการในการคุ้มครองแรงงานสตรีและ ...
  • Thumbnail

    สภาพและปัญหาการวิจัยจากเอกสารราชการ 

    เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)

    เอกสารของทางราชการเป็นที่มาสำคัญยิ่งของข้อมูลในการวิจัย โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทางราชการ แต่มีอุปสรรคหลายประการที่ทำให้นักวิจัยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอกสารราชการได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพราะหน่วยราชการต่าง ๆ ยังมีระบบวิธีเก็บรักษาเอกสารที่ไม่เป็นระเบียบ สถานที่เก็บรักษาแคบไม่ปลอดภัย เอกสารชำรุดสูญหายเสมอ นอกจากนั้นประเทศไทยยังขาดหอบรรณสารเพื่อเก็บรักษาเอกสารที่มีค่าอย่างถาวร แม้จะมีกองจดหมายเหตุแห่งชาติก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่เพราะขาดคน ขาดเงิน และสถานที่คับแคบ ผู้เขียนเห็นว่าควรจะได้มีวิธีการจัดเก็บเอกสารโดยวิธีต่างกันแล้วแต่ชน ...