Now showing items 1-9 of 9

  • Thumbnail

    การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดลำปาง 

    สุรศักดิ์ วงค์ษา; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงภัยแล้ง วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยแล้งโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับความเสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดลำปาง ซึ่งมีปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาโดยจำแนกเป็นปัจจัยทางธรรมชาติ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (X1) พื้นที่ป่าไม้ (X2) ระยะห่างจากพื้นที่แหล่งน้ำ (X3) ลักษณะเนื้อดิน (X4) และการระบายน้ำของดิน (X5) ประกอบกับปัจจัยทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม (X6) พื้นที่อุตสาหกรรม (X7) และพื้นที่ชุมชน (X8) ปัจจัยดังกล่าวได้รั ...
  • Thumbnail

    การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จังหวัดอ่างทอง 

    สุพิชฌาย์ ธนารุณ; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุทกภัยใน พื้นที่จังหวัดอ่างทอง 2) ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับหลักการวิเคราะห์ศักยภาพ เชิงพื้นที่ในการกําหนดและจัดทําแผนที่ แสดงพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจังหวัดอ่างทอง 3) เสนอแนะ แนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง คือ ปริมาณ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดอ่างทองมีปริมาณมากจนเกินความจุของลําน้ํา ทําให้ระดับ น้ําสูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที ...
  • Thumbnail

    การประเมินความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท : กรณีศึกษาเป็ดไล่ทุ่ง 

    ภัทราวดี วัฒนสุนทร; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    จากปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มากเกินไปของเกษตรกรในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร รวมถึง สุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศนั้นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการศึกษาการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา เป็ดไล่ทุ่ง จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในนาข้าวที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งของจังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาเส้นทางการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ของ ...
  • Thumbnail

    การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศีกษา สำนักงานเขตบางแค 

    นันทญา เขียวแสวง; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกําเนิดปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสํานักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตลอดจนวิเคราะห์หาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมในองค์กรโดยใช้หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน สําหรับใช้ในสํานักงานเขตบางแค เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนหน่วยงานทั้งหมด 10 หน่วยงานและการสัมภาษณ์ บุคลากรของสํานักงานเขตบางแค จํานวน 643 คน โดยการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO 2 e) ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งใช้แนวทางการป ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชนในชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา 

    รังสิตา บุญโชติ; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษานี/มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในวิสาหกิจชุมชนในชุมชนท่าข้าม 2) ศึกษาคุณภาพสังคมในมิติต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนท่าข้าม 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในวิสาหกิจชุมชนกับคุณภาพสังคมของประชาชนในชุมชนท่าข้าม 4) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพสังคมของผู้ที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนจํานวนแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้เลือกพื้นที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง คือ ชุมชนท่าข้าม ตําบลท่าข้าม อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีจํานวนหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้านและมีประชากรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นจํานวน 4,223 คน ...
  • Thumbnail

    การศึกษาอัตราการแพร่กระจายก๊าซมีเทนในนาข้าวจากดัชนีพืชพรรณโดยประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT-5 TM กรณีศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 

    คมกฤษณ์ คีรีรมย์; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011)

    วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ1) เพื่อศึกษาค่าการสะท้อนพลังงานของค่าดัชนีพืช พรรณของข้าวตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวด้วยภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 TM 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณกับค่ามีเทนตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว และ 3) เพื่อประเมินอัตราการแพร่กระจายของก๊าซมีเทนจากดัชนีพืชพรรณ โดยประยุกต์ใช้ ภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT-5 TM ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 และข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าค่าการสะท้อนพลังงานของดัชนีพืชพรรณต่างๆ ได้แก่ NDVI RVI SAVI MSAVI และ GNDVI ทุกค่าดัชนีพ ...
  • Thumbnail

    การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 

    วรางค์ น้อยสุขเสริม; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงของพื้นที่ต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขกรุงเทพมหานคร การศึกษาหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานคร พิจารณา 5 ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง คือ อัตราป่วยโรคด้วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ความหนาแน่นของประชากร ค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) และพื้นที่ระบาดโรคไข ...
  • Thumbnail

    ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

    พาณิภัค สุขพรหม; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009)

    การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลต่อความ หลากหลายทางชีวภาพและการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม รวมถึงศึกษาลักษณะ ระดับ และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม ของชุมชนในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบ้านป่าสักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูล จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบกับการการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง จากประชาชนชุมชนบ้านป่าสักงาม จำนวน 100 ราย และวิเคราะห์ข้ ...
  • Thumbnail

    อิสลามกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลาม คลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร 

    ระพีพรรณ มูหะหมัด; จินตนา อมรสงวนสิน (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์หลกั ศาสนาอิสลามมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมในบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยศึกษากรณีของชุมชนมัสยิดกมาลุลอิสลามที่ตั้งถิ่นฐานริ มคลองแสนแสบ ในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่ ได้แก่อีหม่าม (ผู้นำศาสนา) คอเต็บ (ผู้ทำหน้าที่แสดงธรรมแก่สัปบุรุษ (สมาชิก)ในมัสยิด) บิหลั่น (ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปปฏิบัติศาสนกิจ) คณะกรรมการมัสยิดผู้ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกจำนวน12 คนและคณะกรรมการเครือข่ายชุมชน ...