Now showing items 1-20 of 23

  • Thumbnail

    An Analysis of Environmental Management According to the Sustainable Development Goals 12: A Case Study of Chang Island Trat Province 

    PATTEERA SRISUNG; พัทธ์ธีรา ศรีสังข์; Chutarat Chompunth; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์; Chutarat Chompunth; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (National Institute of Development Administration, 12/8/2022)

    The problem of waste management in tourist attractions, especially marine debris, is a significant problem that all stakeholders should work together to find a solution. General, the concept of waste solution consist of reduction, reuse, and recycling (3Rs). Therefore, this research aimed to study the current practice waste management of Chang Island and how to achieve the 12th Sustainable Development Goal (12th SDGs) targets 12.5. This research also aimed to the reveal the problems, obstacles, and guidelines for effective implementation of waste ...
  • Thumbnail

    A STUDY OF APPROPRIATE ADMINISTRATION MODEL FOR ENVIRONMENTAL FUND INDUSTRIAL LIMESTONE MINING PROJECT 

    Kla Maneechote; กล้า มณีโชติ; Chutarat Chompunth; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์; National Institute of Development Administration. The Graduate School of Environmental Development Administration; Chutarat Chompunth; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (National Institute of Development Administration, 7/1/2023)

    The research aimed to study the situations, problems, and obstacles of the administration for environmental fund industrial limestone mining project and recommend appropriate administration model for environmental fund industrial limestone mining project.  The methodology consisted of literature review on the guideline of the use of funds and regulations, compilation of environmental funds for mining projects, collection of the structure of administration of mining funds totaled 41 funds already established, and participation in meetings to observe ...
  • Thumbnail

    การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี 

    อรรถพล ใจงาม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ใน 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่ องค์ประกอบด้านกิจกรรม องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม และองค์ประกอบด้านการจัดการ 2)ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของแต่ละองค์ประกอบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3)เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง(Semi Structured Interviews) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส ...
  • Thumbnail

    การประเมินความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 

    กฤษณ์ จารุดำรงศักดิ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารรายงานทางบัญชีของวิสาหกิจชุมชนย้อนหลัง 1 ปี และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในวิสาหกิจชุมชน 2) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน และ 3) กลุ่มผู้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

    ปัญญาทร หวังชูธรรม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สถาบันฯ มีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันฯ และเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้หลักการประเมินผลเชิง ดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ในการศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยกา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 

    ริญญาภัทร์ ภูวโรจน์พิบูล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    งานวจิยัคร้ังน้ีเป็นงานวจิยัเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผลและเสนอแนวทางในการ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วยประชาชนและ ผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการ หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนา ...
  • Thumbnail

    การประเมินผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ 

    รุจิกานต์ เสนาคง; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจําเป็นต่อการยกระดับ คุณภาพชวีตประชาชน อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จําเป็นต้องพิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทาง การปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลําปาว จังหวัดกาฬสินธุ์โดยใช้ระเบียบวิธีวีจิยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ มีการดำเนินก ...
  • Thumbnail

    การประเมินศักยภาพสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา 

    ศุภกร เทกมล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอพื้นที่และแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลา  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ (Regional Environmental Assessment : REA) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากนั้นให้ค่าน้ำหนักด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลจากการศึกษาพบว่า ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 

    ลักษมี เกตุสกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเหมาะสม ทำให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและปัญหาหรืออุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านทุ่งศรี จังหวัดแพร่ และเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง 

    ศิริกัญญา เชาวมัย; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ 

    มานิดา เฟื่องชูนนุช; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง แท้จริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มา ทำการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ...
  • Thumbnail

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่งในจังหวัดลำปาง 

    ศรีสมภพ กองสุข; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจัยความสําเร็จ ปัญหา/อุปสรรคเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควนจากการเผาในที่โล่งจังหวัดลำปางโดยการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน จังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหมอกควนในจังหวัดลำปางมีสาเหตุจากกิจกรรมการเผาในที่โล่ง ของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดลำปาง ร่วมกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของ จังหวัดลำปางซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะซึ่งเอื้อ ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 

    จิรัชญา สิงห์มณี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องว่างทางกฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวการพัฒนากฎหมายการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการทางกฎหมายด้านการควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศของประเทศไทย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนักวิชาการด้านกฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรร ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง 

    ทิวาพร สุระพล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของกรณีศึกษา บริษัท ปิโตรเคมีและการกลั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาให้กับบริษัทและหน่วยงานอื่นๆ  การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) ร่วมกับการสังเกตการณ์ในพื้นที่และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้รับเหมา ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ ได้ประยุกต์หลักการของดัชนีชี้วัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ...
  • Thumbnail

    การวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดปทุมธานี  

    ศศิธร ศรีสุรักษ์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

     การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ภายใต้บริบทของประเทศไทย รวมทั้งการดำเนินงานด้านการจัดการขยะตามหลักการ 3Rs กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 เป้าประสงค์ที่ 12.5 ...
  • Thumbnail

    ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) 

    อภิชัย สิงห์ศรี; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    ในการaพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศนำไปสู่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้พัฒนาโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุปัญหาความขัดแย้ง  รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้ชุมชนและโครงการพัฒนายอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนได้เสีย 40 คน จากการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งต ...
  • Thumbnail

    ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน 

    มาริสา นิ่มกุล; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน รวมถึงความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร มาใช้ในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ประกอบด้วยปัจจัยหลายมิติ ได้แก่  มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ 

    ปรียานุช เลิศรัศมีมาลา; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดําเนินการของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลัก ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาหรืออุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ตามหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (The Access Initiative, TAI)เป็นหลักในการศึกษา เนื่องจากตัวชี้วัดดังกล่าวมุ่งเน้นการประเมิน “กระบวนการ”ประกอบด้วย 3 หมวด ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี 

    ณัชทิชา จันทร์อินทร์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีธรรมาภิบาล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทางในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานีเก็บรวบรวมข้อมูล ...
  • Thumbnail

    ธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง 

    ณัฐนันท์ เขียวเกษม; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซีตามหลักธรรมาภิบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคเพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research)  มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างร่วม (Semi-Structured Interviews) กับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation Observation) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดจากคู่มือการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อ ...