Browsing by Author "ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา"
Now showing items 1-20 of 35
-
การควบคุมหอพักนักเรียนนักศึกษาของเอกชนโดยทางราชการ
เชาวน์ อยู่จำรัส; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
ผู้เขียนได้ศึกษาถึงปัญหา ความสำคัญของปัญหา ตลอดจนอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการบริหารงานของรัฐบาลในการควบคุมหอพักนักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชนในพระนครและธนบุรี ตั้งแต่ระดับมัธยมจนถึงอุดมศึกษา ยกเว้นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียนราษฎร์พิเศษ เป็นการศึกษาในแง่บริหารสวัสดิการสังคมโดยเพ่งเล็งถึงการจัดสวัสดิการแก่นักเรียน นักศึกษา. -
การจัดองค์การและการบริหารงานออกโฉนดที่ดินในประเทศไทย
จงเจริญ อนันตริยกุล; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, [2507]) -
การจำหน่ายยาตำราหลวงของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ดำรง แก้วไสย; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.- -
การทะเบียนราษฎรในหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย
สมนึก ชูวิเชียร; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
วัตถุประสงค์ของการลงทะเบียนราษฎรนั้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์ทหารป้องกันประเทศ ในการเก็บภาษี ในการเกณฑ์พลเมืองเพื่อทำกิจการบางอย่าง เพื่อทราบสถิติจำนวนราษฎร เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมพลเมืองเพื่อความปลอดภัยของประเทศ ด้วยเหตุที่การทะเบียนราษฎรมีความสำคัญต่อระบบการปกครอง ทางราชการจึงได้ปรับปรุงแก้ไขการจดทะเบียนราษฎรตลอดมา ส่วนใหญ่แก้ไขในรูปของการจัดระบบงาน -
การบริหารงานการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในความช่วยเหลือขององค์การ สปอ.
บัวพรม ธีรกัลยาณพันธุ์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, [1966?])
ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เพื่อศึกษาให้ทราบถึงลักษณะและข้อเท็จจริงของการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจขององค์การ ส.ป.อ. ในการผลิตช่างฝีมือพลเรือนในประเทศไทยว่ามีอยู่อย่างไร มีหน่วยงานใดบ้างที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องในโครงการ ตลอดจนดำเนินงานฝึกสอนช่างฝีมือว่าเป็นไปในลักษณะใดเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และพยายามศึกษาให้ทราบที่มาของปัญหาในการบริหารของโครงการหรือหาทางแก้ไข ตลอดจนประเมินผลงานของโครงการช่างฝีมือที่ดำเนินมาว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด -
การบริหารงานของฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนครกรุงเทพ
สนอง ยุตตานนท์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาเฉพาะกระบวนการบริหารงานของฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนครกรุงเทพ ในแง่ของการจัดบริการสาธารณสุขแก่ชุมชนโดยมุ่งศึกษาในสาระ 10 ประการ คือ.- -
การบริหารงานของสมาคมจีน : บทศึกษาเฉพาะกรณีสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
แสวง รัตนมงคลมาศ; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
สมาคมแต้จิ๋วฯ ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมความสามัคคี แลกเปลี่ยนความรู้ จัดการและบำเพ็ญสาธารณกุศลกิจ เช่น การจัดบำรุงสุสาน ฌาปนสถาน จัดตั้งโรงเรียนส่งเสริมกิจการศึกษา สนับสนุนกิจการกีฬาที่ชอบด้วยกฎหมาย ตั้งโรงพยาบาลเพื่อบำบัดความป่วยไข้ของสาธารณชน ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์เท่าที่ได้ทำการศึกษามาแล้วผู้เขียนพบว่ามีปัญหาสำคัญสองประการ คือ.- -
การบริหารงานด้านรักษาความสะอาดในหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
ชัชวาลย์ เชาวน์ทวี; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
It is the Government's firm policy to maintain public cleanliness, especially in the Bangkok Municipal Area which is Thailand's most populous area. This has resulted in a cleaner and a more beautiful Bangkok acclaimed by foreigners as one of those cities most modernized in public cleanliness. The Government's "Keep our City Clean" drive, however, meets with many increasingly urgent and complicated obstacles and troubles. Most important of these are: (1) the increase in the city's population; (2) the doubled expansion of the municipal area from ... -
การบริหารงานบุคคลของคุรุสภา : บทศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครู
สุทิน เอมะพัฒน์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับข้าราชการครู โดยพิจารณาถึงการคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษข้าราชการครู และการออกจากข้าราชการครู โดยศึกษาดูว่าคุรุสภาปฏิบัติอย่างไร มีอุปสรรคที่ควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับกระทรวงศึกษาธิการว่าใกล้ชิดเพียงใด ควรเพิ่มกิจกรรมอะไรบ้าง. -
การบริหารงานปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมในเขตเทศบาลนครกรุงเทพ
ศรีสุรางค์ อัศวนิก; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
การปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมเป็นนโยบายที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เพราะการปรับปรุงจะให้ผลดีอย่างน้อย 3 ประการคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และศีลธรรม และด้านการเมือง รัฐบาลได้มอบหมายให้เทศบาลนครกรุงเทพดำเนินการนี้ จึงได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการพิจารณากำจัดอาคารผิดสุขลักษณะและรกรุงรัง (ก.อ.ส.ร.) ขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2502 คณะกรรมการมีความเห็นว่าก่อนที่จะดำเนินการปรับปรุงแหล่งชุมชนในเขตเทศบาลนครกรุงเทพ ควรจะได้ทราบจำนวนและลักษณะแห่งความเสื่อมโทรมของแหล่งเสื่อมโทรมภายในเขตที่จะทำการปรับปรุง ... -
การบริหารงานศูนย์เยาวชน : การศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์เยาวชนเวฬุราชิณ
สงคราม บำรุงชาติ; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1964) -
การปกครองตำบลและหมู่บ้านของประเทศไทย
อยุธย์ คชพิมพ์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
นับแต่มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวทางการปกครองตำบลและหมู่บ้านมีลักษณะไปในทางที่จะให้ประชาชนในตำบล หมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการปกครองและดำเนินกิจการของตำบล หมู่บ้าน มากขึ้น แม้ว่าความพยายามเช่นนี้จะได้หยุดชงักไปบ้างตามสมัยและวาระต่าง ๆ แต่ในที่สุดกลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอันที่จะให้ตำบลมีการปกครองอย่างจริงจังโดยจัดตั้งสภาตำบล ต่อมาก็จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น กิจการเหล่านี้ยังจะต้องพัฒนาต่อไปอีกมาก แต่จะต้องใช้เวลาบ้างเพราะมีอุปสรรคหลายประการ อุปสรรคเหล่านั้นได้แก่ ... -
การประชาสัมพันธ์ของข้าราชการฝ่ายปกครองระดับอำเภอในจังหวัดอ่างทอง
ไพฑูรย์ บุญวัฒน์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยพิจารณาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในทัศนะของข้าราชการฝ่ายปกครอง จากผลการศึกษาปรากฏว่ามีปัญหาสำคัญ ๆ ทำให้การปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งผู้เขียนเห็นสมควรแก้ไข คือ -
การปราบปรามยาเสพติดให้โทษของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ
สุมน เบญญศรี; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2504 คณะกรรมการนี้แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน คณะกรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในทางปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สืบสวนผู้มีกรณีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดให้โทษระหว่างประเทศตามข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติหรือที่องค์การตำรวจสากลหรือที่ต่างประเทศขอร้องมา ทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่กองกำกับการ 7 เป็นกองเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติงานนี้อีกด้วย. -
การผลิตกำลังคนระดับมัธยมศึกษาเพื่อสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
โสภณ ปภาพจน์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
แม้จะเป็นที่ประจักษ์ว่ามีความต้องการกำลังคนระดับมัธยมศึกษาอยู่มากก็ตามแต่ปรากฏว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 และ ม.ศ. 5 ยังหางานทำไม่ได้เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงเกิดความสนใจทำการศึกษาเรื่องนี้เพื่อจะได้ทราบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนากำลังคนระดับมัธยมศึกษา. -
การฝึกอบรมปลัดจังหวัดและนายอำเภอทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2505 ของกรมการปกครอง
สุภาพ ระนองธานี; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานการพัฒนาคนให้มีสมรรถภาพอาจกระทำได้ด้วยการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ตลอดจนนิสัยความคิดอ่านและการทำงานให้ดีขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้วางโครงการฝึกอบรมปลัดจังหวัดและนายอำเภอทั่วราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับความต้องการอันเนื่องมาแต่สถานการณ์ของประเทศและตัวบุคคล ส่วนหลักการก็ถือเอาสภาพภูมิศาสตร์และความตึงเครียดของสถานการณ์เป็นหลักกำหนดการฝึกอบรมก่อนหลัง การเลือกสรรผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเป็นปลัดจังหวัดและนายอำเภอที่มีอายุไม่เกิน 59 ปี กรรมวิธีการฝึกอบรมนั้นเป็นแบบการนำอภิปรายเป็นส่วนใหญ่ ... -
การพัฒนาการศึกษาเพื่อบูรณภาพของจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประสิทธิ์ เวชสวรรค์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
จังหวัดชายแดนภาคใต้หมายถึง 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ถือศาสนาอิสลาม และจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้เคยมีความสัมพันธ์อยู่กับประเทศมาเลเซียมาก่อน จึงทำให้ประชาชนในจังหวัดดังกล่าวไม่ค่อยจะมีความรู้สึกผูกพันกับประเทศไทยเท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจุดอ่อนเหมาะแก่การดำเนินการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่แทบทุกด้าน วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเรื่องพัฒนาการศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วยแผนการศึกษาของชาติ โครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค โครงการพัฒนาการศึกษาและโครงการศึกษาของแผนพัฒนาภาคใต้ ... -
การวางแผนปฏิบัติงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่
เพชร สิทธิสาร; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.- -
การวางแผนและการปฏิบัติตามแผน : การศึกษาเฉพาะกรณีการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี
วุฒิชัย จำนงค์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
การศึกษาเรื่องนี้มุ่งพิจารณาในด้านการวางแผนและการปฏิบัติตามแผน ตามเทคนิคของการจัดการไม่ได้เน้นหนักไปทางเทคนิคการก่อสร้าง และการศึกษาก็จำกัดขอบเขต เฉพาะในงวดงานที่ 4 และที่ 5 วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อจะทราบว่าบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างมีวิธีการดำเนินการที่ทันสมัย มีมาตรการทางการบริหารหรือการจัดการมากน้อยเพียงใด -
การวิจัยถึงวิธีดำเนินการปล่อยรถยนต์โดยสารประจำทางให้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผู้โดยสารหนาแน่น : ศึกษาเฉพาะกรณีรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 12 (ห้วยขวางถึงกระทรวงเศรษฐการ)
วิชิต ธนสุกาญจน์; ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)
รถยนต์โดยสารประจำทางเป็นบริการสาธารณะ ซึ่งรัฐได้มอบให้เอกชนและองค์การของรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ โดยการให้สัมปทาน คือ ให้ผู้ประกอบการขนส่งจัดการเดินรถยนต์โดยสารประจำทางในแต่ละเส้นทางภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำคือในเส้นทางต่าง ๆ ประชาชนใช้บริการรถยนต์โดยสารกันหนาแน่น ทำให้จำนวนรถยนต์โดยสารยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้โดยสาร รัฐบาลได้พิจารณาแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มจำนวนรถ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงผู้ประกอบการขนส่งด้วย เพราะช่วงระยะเวลาที่ผู้โดยสารหนาแน่นจะมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ในการเพิ่ม ...