Browsing by Author "ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา"
Now showing items 1-20 of 21
-
การบริหารงานของฝ่ายช่วยอำนวยการในกรมแพทย์ทหารบก
ชาญ สุวรรณวิภัช; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)
ฝ่ายช่วยอำนวยการเป็นหน่วยหนึ่งของกรมการแพทย์ทหารบก และงานของฝ่ายนี้เป็นงานที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องคอยเสนอแนะให้ผู้บังคับบัญชาได้ตระหนักในหน้าที่อันมีต่อหน่วยแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ฝ่ายช่วยอำนวยการจึงต้องรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของหน่วยแพทย์ทั้งหลายให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบอยู่ตลอดเวลา และจะต้องช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์เหล่านั้นให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งขึ้น และตรงตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา. -
การบริหารงานสหกรณ์การเกษตรกับการพัฒนาชนบท
สัญญา เจริญศรีวงษ์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, [1988])
การพัฒนาชนบทในประเทศไทย แม้ว่าจะได้กระทำกันมาเป็นเวลานาน และเป็นที่กล่าวขวัญถึงตลอดมามิขาดสาย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในอดีต มักจะมองชนบทในแง่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับรอง มุ่งเห็นความเจริญเติบโตโดยส่วนรวมเป็นอันดับสูง ทรัพยากรที่จัดสรรให้แก่การพัฒนาชนบทมักจะเป็นส่วนที่เหลือจากการพัฒนาด้านอื่น ๆ แล้ว นอกจากนั้นการพัฒนาชนบทยากจน ยังถูกมองในทำนองการประชาสงเคราะห์ เป็นเหตุให้การพัฒนาชนบทเท่าที่เป็นมา กระทำกันในรูปของการสงเคราะห์(full subsidy) หยิบยื่นให้แก่ชาวบ้านเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเป้าหมายระยะยาวที่จะให้ชาวบ้านช่วย ... -
การบริหารเงินทุนของธนาคารออมสิน
สุริย์ ด่านสวัสดิ์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเรื่องราวและความสำคัญของการบริหารเงินทุนของธนาคารออมสินในส่วนที่เกี่ยวแก่การหาเงินฝาก และการนำเงินฝากนั้นไปลงทุนหาผลประโยชน์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักในระบบการธนาคารทั่วไป ประเด็นสำคัญของเรื่องอยู่ที่บทบาทสำคัญในการบริหารเงินทุนของธนาคารที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ -
การปกครองส่วนภูมิภาคของไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดรูปแบบหน่วยปกครอง
ประสาร ทิพยเกษร; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970)
ศึกษาเรื่องการจัดรูปแบบการปกครองในส่วนภูมิภาค หรือการปกครอง อาณาเขตในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช โดยเฉพาะการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายคลึงกับภาค โดยการวิเคราะห์ถึงมูลเหตุของการจัดตั้ง และการยุบเลิกมณฑลเทศาภิบาล ข้อดี และข้อจำกัดของการบริหารราชการในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการจัดรูปแบบหน่วยปกครองระบบภาคของไทย เป็นการศึกษาวิวัฒนาการการปกครองส่วนภูมิภาคของไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว โดยชี้ให้เห็นว่าการจัดรูปการปกครองส่วนภูมิภาคของไทยนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามหลักการ หรือทฤษฎีของระบอบการปกครองข ... -
การประเมินนโยบายการค้าข้าวระหว่างรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลต่างประเทศ
อาฮมัด อันนูอาร์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
เป็นการศึกษาถึงนโยบายการค้าข้าวประเภทรัฐบาลต่อรัฐบาล จากประสบการณ์การค้าข้าวระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงการส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศระหว่างรัฐบาลไทยโดยกระทรวงเศรษฐการ และบริษัทค้าข้าวเอกชนว่าการค้าของฝ่ายไทยจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่รัฐบาลในแง่เศรษฐกิจเป็นประเด็นสำคัญ พร้อมทั้งการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอันดับรองลงไป. -
การสำรวจทัศนคติผู้บริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอำเภอเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้ง
คมชาญ เล่าสกุล; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
เนื่องจากกิจกรรมการเลือกตั้งมีปัจจัยเกี่ยวพันกันอย่างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันทางการเมืองสูงจะมีการใช้เทคนิคหรือกุศโลบายในกิจกรรมการเลือกตั้งสูง ตามไปด้วย เป็นต้นว่ามีคนเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการใช้เงินในการเลือกตั้งมากขึ้น ปัจจุบันการเลือกตั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่พลเมือง จึงทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถูกระดมหรือชักจูงจากบุคคลหรือองค์การให้ลงคะแนนเสียงแทนที่จะไปลงคะแนนเสียงด้วยสำนึกของตนเอง. -
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 : ศึกษาเฉพาะกรณีการเตรียมการและการดำเนินการเลือกตั้งของกระทรวงมหาดไทย
บุเรศ ศุภกาญจน์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970)
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐานว่า การเตรียมการและดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนของกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 นั้น ยังไม่ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสะดวกแก่ผู้เลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมควรที่จะได้มีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาการบริหารงานในด้านการเตรียมการเลือกตั้ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับส่วนกลางแยกศึกษากิจการที่สำคัญ ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของราชการบริหารส่วนกลาง อันได้แก่ การเตรียมการเกี่ยวกับกฎหมาย การเตรียมด้านงบประมาณ การวางแนวทางปฏิบัติในการปราศรัยหาเสียงของผู้สมัตร ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ
กริช อัมโภชน์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติรวมทั้งการประสานงานเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานทั้งสองมีหน้าที่รับผิดชอบประการหนึ่ง และผลประโยชน์ทางด้านเอกชนผู้เกี่ยวข้องในการนำสินค้าเข้า ที่จะได้รับจากหน่วยงานทั้งสองฝ่ายในลักษณะของความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และความเป็นธรรม เป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอีกประการหนึ่ง. -
ความสามารถในการจัดหารายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีของเทศบาล
พีระ วชิรวรรณวงศ์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1988)
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะค้นคว้าให้ทราบถึงความสามารถในการจัดหารายได้ของเทศบาลว่ามีปัญหา และอุปสรรคอย่างไร โดยศึกษาวิเคราะห์จาก ข้อมูลเอกสาร คือสถิติรายรับ-รายจ่ายจริงของเทศบาลทุกเทศบาล ประจำปีงบประมาณ 2523- 2528 จากกองคลังส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนระเบียบ กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ของเทศบาล จากการศึกษาพบว่าเทศบาลมีความสามารถในการจัด หารายได้ไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายเนื่องมาจากเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก หลักเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของโครงสร้างรายได้เทศบาลเป็น อุปสรรคต่อการเพิ่ม ... -
นายอำเภอในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาล
ทรงวุฒิ งามมีศรี; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
สุขาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นหน่วยหนึ่ง ในการศึกษาค้นคว้าผู้เขียนได้พิจารณาถึงตัวบุคคล การดำเนินการบริหาร และผลของการบริหาร เพื่อทราบว่านายอำเภอมีความเหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลเพียงใด มีอุปสรรคอะไรที่ควรนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไข โดยศึกษาจากตัวบทกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และงานทางด้านปฏิบัติ -
บทบาทของสภาจังหวัดในการควบคุมงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ประเภท ศรีชัย; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970)
ศึกษาอำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัดกับงบประมาณของจังหวัด ลักษณะและความสำคัญของงบประมาณและการบริหารงบประมาณขององค์การนี้ ลักษณะของการควบคุมงบประมาณ และวิธีการควบคุมของสภาจังหวัดในการจัดทำงบประมาณ ซึ่งเป็นการควบคุมในด้านการวางแผนทางการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ขั้นตอนในการควบคุมจนถึงการรับรองงบประมาณ ต่อไปเป็นการควบคุมของจังหวัดในการให้ปฏิบัติตามงบประมาณ โดยกล่าวถึงวิธีการควบคุมการปฏิบัติตามงบประมาณ การโอนเงินงบประมาณ และงบประมาณเพิ่มเติม การควบคุมและตรวจสอบร่วมกับฝ่ายบริหารของคณะกรรมการสภาจังหวัด การควบคุมและตรวจสอบของสมาชิกสภาจังหวัด ... -
บทบาทขององค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย
ณรงค์ นุกูลกิจ; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)
องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกีฬาของประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยสนับสนุนให้เกิดความสนใจและนิยมกีฬามากขึ้นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเพื่อจะได้มีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะขึ้น เพราะขณะนั้นกรรมการเกี่ยวกับกีฬาต่าง ๆ ยังกระจัดกระจายอยู่ -
ปัญหาการบริหารงานจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนกลาง
สุจินต์ เจริญยิ่ง; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
ผู้เขียนมุ่งศึกษางานการจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกองภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการควบคุมการจัดเก็บทั่วราชอาณาจักร แต่ผู้เขียนจำกัดศึกษาเฉพาะการบริหารงานในส่วนกลาง โดยเฉพาะการบริหารงานในกองภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น -
สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง : ศึกษากรณีกระบวนการรวมหน่วยงาน
สัณห์ จิตรปฏิมา; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)
ศึกษาปัญหาการรวมวิทยาลัยการทัพบกกับโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในระดับสูง ขึ้นตรงต่อกองทัพบก ผู้เขียนได้ศึกษาการจัดการศึกษาของวิทยาลัยการทัพบก และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก โดยกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ภารกิจ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา การกำหนดจำนวนและโควต้า วิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือก การจัดอัตรา และหลักสูตรการศึกษา ต่อจากนั้นได้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการศึกษาของวิทยาลัยการทัพบกและโรงเรียนเสนาธิการทหารบกในด้านการดำเนินงานของกรมยุทธการทหารบก การศึกษาพิจารณาฝ่ายอำนวยการ การดำเนินการของกองทัพบก การพิจารณาปัญหาในการดำเนินงาน ... -
สำนักงานจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีการจัดองค์การและหน้าที่ความรับผิดชอบ
ประจักษ์จิตต์ อภิวาท; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1981)
ปัญหาสำคัญในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ก็คือปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและเอกภาพในการบริหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมอำนาจของการบริหารราชการได้อย่างแท้จริง การบริหารงานยังขาดการประสานงาน ทั้งนี้เป็นด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่มีอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยราชการต่าง ๆ ในจังหวัดได้อย่างเต็มที่ ก็มีผลทำให้ไม่สามารถประสานนโยบายและคำสั่งจากส่วนกลางกับการปฏิบัติงานของหน่วยราชการในจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามแผนและโครงการต่าง ๆ ได้อย่างสอดคล้องต้องกัน ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นปัญหาสำคัญของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน -
สุขาภิบาล : การศึกษาถึงสิทธิของประชาชนในการปกครองตนเอง
ธงชัย ทรงประศาสน์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาเรื่องของสุขาภิบาลในแง่สิทธิของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นด้วยตนเองว่าการปกครองรูปนี้ช่วยให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการปกครองตนเองเพียงใด โดยพิจารณาถึงประสบการณ์ของประชาชนชาวไทยในการจัดการปกครองท้องถิ่น วิวัฒนาการของการปกครองรูปสุขาภิบาล วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีสุขาภิบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสุขาภิบาลกับราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่างพอสรุปได้ว่า สุขาภิบาลที่ทางราชการได้จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ เกือบ 600 แห่งนี้ ยังมิได้ช่วยให้ประชาชนมีสิทธิหรือได้ฝึกหัดในการปกครองตนเองสักเท่าใด ... -
อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาล
ชัยพร สำเภาเงิน; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
การศึกษาเน้นหนักไปเฉพาะงานในหน้าที่ของปลัดเทศบาลที่พึงมีต่อการบริหารงานของเทศบาล และอุปสรรคในการบริหารงาน จากการศึกษาปรากฎว่าภาระหน้าที่ในการบริหารงานประจำทั่วไปทำความยุ่งยากให้แก่ปลัดเทศบาลมาก เพราะแม้จะมีกฎหมายกำหนดให้ปลัดเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบก็จริง แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยสั่งการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำเหล่านั้นอย่างเพียงพอ เพราะกฎหมายพิเศษกำหนดให้นายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจ -
เงินอุดหนุนเทศบาล
ประเสริฐ บุญซื่อ; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
ผู้เขียนมุ่งศึกษาเรื่องของเงินอุดหนุนเทศบาลในประเทศไทยว่าเป็นเงินที่ได้มาจากไหน มีหลักการจัดสรรแบ่งปันให้แก่เทศบาลต่าง ๆ อย่างไร และเทศบาลจะนำเงินไปใช้จ่ายในทางใดบ้าง โดยจำกัดขอบเขตศึกษาเฉพาะเงินอุดหนุนที่แท้จริง 3 ประเภท คือ เงินอุดหนุนเทศบาลเพื่อการบูรณะท้องถิ่นและกิจการอื่นทั่วไป เงินอุดหนุนพิเศษเฉพาะกิจการ และเงินอุดหนุนการศึกษา. -
เทศบาลกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
วิทยา อุบลพงษ์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970)
ศึกษาแนวความคิดและปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ในเรื่องแนวความคิดได้มีการศึกษาบุคคลสำคัญทั้งที่เป็นรัฐบุรุษ นักการเมือง นักปกครอง นักบริหาร และนักเศรษฐศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ศึกษาบทบาทของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และในการกระจายอุตสาหกรรมออกไปภูมิภาคต่าง ๆ แล้วพิจารณาบทบาทของเทศบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรม พิจารณาอุปสรรคข้อขัดข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตเทศบาล เปรียบเทียบระหว่างการประกอบการของเทศบาลกับเอกชน ผู้เขียนยังได้ศึกษาบรรยากาศเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อประกอบการอุตสาหกรรม วิธีการสร้างมาตรการจูงใจให้เอกชนมาลงทุนในกิจ ... -
โครงการจัดตั้งภาคพัฒนาการโยธาของสันนิบาตเทศบาลฯ / โดย สวัสดิ์ แผลงประพันธ์
สวัสดิ์ แผลงประพันธ์; ประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
โครงการจัดตั้งภาคพัฒนาการโยธา เป็นโครงการที่มีความสำคัญยิ่งโครงการหนึ่งของสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารงานด้านโยธาของเทศบาลต่าง ๆ เกิดผลดียิ่งขึ้น เป็นโครงการที่จะช่วยให้แต่ละเทศบาลได้รู้จักร่วมมือกันปฏิบัติและช่วยเหลือซึ่งกันและกันปฏิบัติงาน ช่วยให้เทศบาลต่าง ๆ ที่เป็นเทศบาลเล็กและมีรายได้น้อย ได้มีโอกาสใช้เครื่องมือเครื่องจักรกลที่ทันสมัยในการปฏิบัติงานโยธาของตน