Browsing by Author "ปิยะนุช โปตะวณิช"
Now showing items 1-15 of 15
-
กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน
ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
รัฐออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่มนุษย์โดยนำเอาพฤติกรรมทาง เพศมาเป็นหลักการสำคัญ ซึ่งรัฐคำนึงถึงแต่เพียงเรื่องเพศสัมพันธ์ที่สืบพันธุ์ได้ และใช้แนวคิดดังกล่าว เป็นองค์ประกอบหลักในการออกกฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่ประชากร รัฐ ไม่ได้ยึดหลักการและแนวคิดในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์โดยคำนึงถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรัก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ที่มีเพศสรีระที่ต่างกัน หรือมนุษย์ที่มีเพศ สรีระเดียวกัน การรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของมนุษย์จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นกับทุกรูปแบบ ของความรัก ... -
กฎหมายแรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้าง
ฉันท์ชนก คงเฉลิมนนท์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและบทบัญญัติของกฎหมาย แรงงานในส่วนที่ไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างว่าเป็นเช่นไร และ 2. เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานให้เกิดความเป็นธรรมต่อนายจ้างเพิ่มขึ้น โดยศึกษาเปรียบเทียบ กฎหมายประเทศต่างประเทศ -
การทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
วิวัฒนา วัฒนภิรมย์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทดแทนความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหา กรณีที่ ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเสียหายจากการพักราชการหรือพักงาน และการดำเนินคดีอาญาของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้ถูกกล่าว หาตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากการศึกษาพบว่า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีความผิดทางอาญาหรือที่เรียก กันว่า “ชี้มูลทางอาญา” ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด หรือฟ้องคดีต่อศาลกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นอัยการสูงสุด เพื่อด ... -
การทำพินัยกรรม : ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายมรดกไทย และสปป.ลาว
จันที สีปาน; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายว่าด้วยมรดก ของ สปป. ลาว และกฎหมายไทย ในเรื่อง “การทำพินัยกรรม” เฉพาะกรณี ข้อกำหนดทางด้านกฎหมายในการ จำกัดอำนาจในการทำพินัยกรรม หรือกำหนดเกณฑ์ทางด้านอายุของผู้ทำพินัยกรรม แบบของ พินัยกรรม และขอบเขตข้อกำหนดกฎหมายที่จำกัดอำนาจในการยกทรัพย์สินโดยพินัยกรรม -
การบังคับใช้โทษทางอาญา : ศึกษากรณีมาตรการยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29
ปิยธิดา บุญพา; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาถึงมาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ของไทย อันมีปัญหาจากการบังคับใช้โทษปรับ ซึ่งเป็นโทษทางอาญา และการบังคับใช้ มาตรการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ เป็นมาตรการที่ศาลนามาบังคับใช้ เมื่อมีการไม่ชำระค่าปรับ ซึ่งตาม มาตรา 29 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ แต่ ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้ กักขังผู ... -
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งระดับหมู่บ้าน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายประเทศไทยเเละสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สีสุลัน จันดา; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
เป็นที่ยอมรับกันเเล้วว่า สมาชิกในสังคมทุกคนไม่ว่าของชาติใด ย่อมมีความปราถนาที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขปราศจากข้อพิพาทบาดหมาง ต่อสภาพสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยผู้คนซึ่งมีลักษณะนิสัยพฤติกรรมแตกต่างกัน เเละเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาวะทางเศรษฐกิจที่รัดตัว ความยากจน เเละสภาพแวดล้อมอื่นๆ ทำให้คนซึ่งมาอยู่ร่วมกันเกิดการกระทบกระทั่ง ชอบเอารัดเอาเปรียบจนกลายเป็นข้อพิพาทในที่สุด เเละเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นนอกจากจะสร้างความเดือนร้อนความไม่สงบสุขแก่คู่กรณี เเละสังคมในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นๆเเล้ว ยังสร้างปัญหาภาระให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมห ... -
ปัญหาการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ศึกษากรณีโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ล่ม
ทวีสันต์ วิรัชพงศานนท์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการเยียวยาความเสียหายของู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมโดยเฉพาะผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งบุคคลและธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ให้บริการในการได้รับการพิจารณาเยียวยาความเสียหายตามสิทธิของตน กรณีปัญหาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ล่มอันส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากในคราเดียวกัน โดยศึกษาสองประเด็นด้วยกันคือ ประเด็นการกำหนดการเยียวยาความเสียหายโดยผู้ให้บริการ และประเด็นการเป็นตัวแทนผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายในการไกล่เกลี่ยและดพเนินคดีแบบกลุ่มของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ... -
ปัญหาสิทธิในการเลือกตั้งของพระสงฆ์
ประวีณ พันธุ์พิพัฒน์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย หลักสิทธิมนุษยชน หลักสิทธิพลเมืองและหลักสิทธิทางการเมือง ทฤษฎีอํานาจอธิปไตยแนวคิดและ ความสําคัญของการใช้สิทธิเลือกตั้งอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย และศึกษาแนวคิด การใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ในประเทศไทย รวมถึงศึกษาแนวคิดการใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ ในประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และประเทศกัมพูชา เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบการใช้สิทธิเลือกตั้งของพระสงฆ์ในประเทศศรีลังกา ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และประเทศกัมพูชา เพื่อนํามาแนะแนวทางทาง ... -
ปัญหาเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนในประเทศไทย
บงกช เอกกาญธนกร; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืน กล่าวคือ มาตรา 371 ของประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้ เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ และมาตรา 72 ทวิ ทั้งยังศึกษากฎหมาย เกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนของต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสิงคโปร์ เพื่อดูแนวทางที่ต่างประเทศใช้ ปฏิบัติ และแนวคิดในการ พัฒนากฎหมายของต่างประเทศ โดยการศึกษานี้จะศึกษาเฉพาะการพกพาอาวุธปืนที่ถูกต้องตาม กฎหมาย หรือ อาวุธปืนที่มีทะเบียน ... -
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถที่บริโภคสุรา
มารียา เทพสิทธา; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
สาเหตุประการหนึ่งที่สำคัญของอุบัติเหตุจราจรทางบกของประเทศไทย เกิดจากผู้ขับขี่รถ บริโภคสุรา ความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกจากกระทบต่อตัวผู้ขับขี่ที่บริโภคสุราแล้ว ยังกระทบและ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น และความปลอดภัยในการใช้ถนนของประชาชน จากการศึกษา พบว่า ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบกที่ เกิดจากผู้ขับขี่รถบริโภคสุรา ดังจะเห็นได้จากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศภาคีสมาชิกในปฏิญญามอสโก (MOSCOW DECLARATION) และปฏิญญาบราซิเลีย (BRASILLIA DECLARATION) อันมีวัตถุประสงค์ที่ ให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน ค.ศ.2011-2020 ... -
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ศึกษาเฉพาะกรณีการตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน
อารีย์ สุวรรณศรี; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาหลักการทางกฎหมายของกระบวนการชันสูตร พลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ว่าควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียด ของเหตุการณ์ตายที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพ เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ขั้นตอนของ การชันสูตรพลิกศพ ตลอดจนคุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ อย่างไรจึงจะสามารถทำให้การชันสูตรพลิกศพและการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพเป็นไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2. เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพ ทั้งในเชิงกฎหมายและในทางปฏิบั ... -
มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค: ศึกษากรณี ผลิตภัณฑ์แว่นกันแดด
ช่อทิพย์ สุนทรวิภาต; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีการคุ้มครองผู้บริโภคและความรับผิด ในสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แว่นกันแดด นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงกฎหมายของประเทศไทยโดย เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ใน การปรับปรุงกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายที่บังคับใช้กับการลงโทษผู้ผลิตแว่นกันแดดที่ ไม่ได้มาตรฐานอยู่หลายฉบับ มีทั้งกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบั ... -
สัญญาประกันภัย : ศึกษากรณีสัญญาประกันภัยอิสรภาพ
วิชย จันทรเวคิน; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 . เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย 2. เพื่อศึกษาถึงกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับ สัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัวในคดีอาญา 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสัญญา ประกันภัยอิสรภาพกับสัญญาประกันภัยและสัญญาประกันตัว 4. เพื่อเสนอแนะมาตรการทาง กฎหมายที่เหมาะสมสำหรับระบบประกันอิสรภาพ วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาถึงประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ สัญญาประกันภัย และสัญญาประกันตัว ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในระบบ Civil Law อันได้แก่ สหพันธ์ ... -
อำนาจการสอบสวนคดีความผิดที่ได้กระทำนอกราชอาณาจักร : ศึกษากรณีพนักงานอัยการกับดีเอสไอ
นาฏอนงค์ ขำเจริญ; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
จากสภาพอาชญากรรมที่มีลักษณะยุ่งยาก สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นทำให้การรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำความผิดเป็นไปได้ยากประกอบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดในปัจจุบันไม่สามารถที่จะปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างทันท่วงทีและมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติได้ ทั้งการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงขาดความเชื่อมโยงและการบูรณาการร่วมกันทำ ให้บาปเคราะห์ยังคงเกิดแก่ประชาชนอยู่เอง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นจากความจำกัดดังกล่าวของหน่วยงานตำรวจอย่ ... -
แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย
สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์; ปิยะนุช โปตะวณิช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาอาชญากรรมค่อนข้างสูง ข้อมูลสถิติการกระทำผิด กฎหมายแสดงให้เห็นว่าสภาพการณ์การกระทำผิดกฎหมายของประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้าง น่าเป็นกังวลเป็นอย่างมากว่า กระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตว่าในบรรดาผู้กระทำผิดอาญาที่เข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมมีทั้งผู้กระทำผิดที่เพิ่งกระทำความผิดอาญาเป็นครั งแรก และก็มีผู้กระทำผิดอีกเป็นจำนวน มากที่เคยมีประวัติการกระทำความผิดอาญามาก่อนแล้วมาถูกจับกุมดำเนินคดีอาญาซ้ำอีก บางรายมี ประวัติการกระทำความผิดอาญาซ้ำจำนวนมากตั ...