Browsing by Author "วิสาขา ภู่จินดา"
Now showing items 1-20 of 22
-
การจัดการขยะตรวจค้นของอาคารผู้โดยสารขาออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
คมชาญ เจือจ้อย; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะตรวจค้นในอาคารผู้โดยสารขาออกสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดจนการจัดการในปัจจุบันเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจในการปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ และเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะตรวจค้นของอาคารผู้โดยสารขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง 400 คน โดยวิธีการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ -
การจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ กรุงเทพมหานคร
วลัลนา วัฒนาเหมกร; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่าน เสือใหญ่อุทิศ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ 3) เสนอแนวทางการจัดการขยะที่เหลือจากธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านเสือใหญ่อุทิศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และสังเกตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจรับซื้อของเก่า จำนวน 8 คน 2) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 4 คน 3) ผู้นำชุมชนและประชาชน ... -
การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จักรกริช กาญจนกิจ; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล วิเคราะห์เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวและความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยและเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสารและรายงานต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-dept Interview) ผู้บริหาร ผู้กำหนด -
การจัดการปัญหาน้ำท่วมและการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร
ศิรพัชร วัชรภาสกร; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมรับมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และศึกษาการจัดการปัญหาน้ำท่วมของหน่วยงานราชการ และคณะกรรมการชุมชน กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน จำแนกตามประเภทที่อยู่อาศัย 4 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัยชั้นเดียว ที่อยู่อาศัย 2 ชั้น ขึ้น ไป อาคารชุด/ห้องพัก และอาคารพาณิชย์ที่ใช้ประกอบกิจการ ประเภทละ 90 ตัวอย่าง ทำการสุ่มแบบบังเอิญตัวแทนครัวเรือน ... -
การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม
วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วโดยมีการรวมกลุ่มกันในลักษณธนิคมอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนตามมา หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม เป็นการนำระบบนิเวศตามธรรมชาติมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันภายในระบบนิเวศอุตสาหกรรม โดยมีการบริหารจัดการที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการสร้างโอกาสความเป็นไปได้ในการนำของเสียจากอุตสาหกรรมหนึ่งมาใช้เป็นวัตถุดิบ รวมถึงการออกแบบกระบวนการดำเนินกิจกรรมหรือปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เป็นแนวทางกา ... -
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม
ธารทิพย์ เศรษฐชาญวิทย์; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประยุกต์ใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2) เสนอนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่ยั่งยืน -
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดสำหรับบำบัดน้ำเสียในชุมชนหมู่บ้านจัดสรร
สมชาย แก้วขุนจิตร; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือนที่มีผลต่อการจัดการน้ำเสียชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสียครัวเรือนก่อนปล่อยสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของเทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสียครัวเรือนจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนก่อนปล่อยสู่คลองสาธารณะ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเก็บแบบสอบถามในชุมชนหมู่บ้านกิตตินิเวศน์ เขตบางกะปิ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กรรมการชุมชนหมู่บ้านกิตตินิเวศน์ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และคัดเลือกครัวเรือนในชุมชน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 291 คน ... -
แนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี
ณิชาภัทร วิสุทธิปราณี; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี ถอดบทเรียนความสำเร็จและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี และเสนอแนวทางการจัดการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลจาก เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์และการสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ กลุ่มสมาชิกพลังงานทดแทนจังหวัดสิงห์บุรีจำนวน 22 คน จาก 6 อำเภอ ที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อาศัย ... -
แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
นิชนันท์ ปฏิทัศน์; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ... -
แนวทางการใช้ทรัพยากรในการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
สุภาวดี หนูสิน; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขั้นตอนการ ปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรังและเสนอแนวทางการใช้ทรัพยากร ในการปลูกปาล์มน้ำมันในด้านการใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และการใช้เทคโนโลยี ให้แก่เกษตรกรใน พื้นที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จำนวน18 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ 50 ไร่ และ 50 ไร่ และใช้คา ถามสัมภาษณ์หน่วยงานระดับนโยบาย เกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานที่ ... -
แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย : กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
วิลาสินี หอมระรื่น; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และการดำเนินการการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ และเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน และแบบสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 200 คน โดยใช้ Triple Bottom Line มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว ... -
แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
ดวงกมล อิศรางพร; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) ... -
แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยตามหลักมหาวิทยาลัยยั่งยืน
เสาวรัตน์ แดงสว่าง; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืนของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยยั่งยืน 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ในการดำเนินงานด้านมหาวิทยาลัยยั่งยืนของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน โดยคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่ใช้ในการศึกษาจากการจัดอันดับ UI Green Metric จำนวน 9 มหาวิทยาลัย ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output (IPO) ในการถอดบทเรียนความสำเร็จ และวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกด้วยทฤษฎี ... -
แนวทางการส่งเสริมการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
ธัญญ์ฐิตา เสถียรนนท์ชัย; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดประชุมสีเขียวที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กรณีศึกษาองค์กรภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคบริการ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดประชุมสีเขียว ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการจัดประชุมสีเขียว ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์การจัดประชุมสีเขียวและการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ประสานงานขององค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการ TBCSD Green Meeting และผ่านการตรวจประเมินเพื่อพิจารณารับรองการจัดประชุมสีเขียว โดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for ... -
แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย
กนกวรรณ สุวรรณมุข; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางด้านกายภาพ ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านบริหารโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง อีกทั้งเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ... -
แนวทางการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน
ปรียานารถ สดากร; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเสนอแนวทางส่งเสริมความรู้และความเข้าใจด้านความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์และแบบทดสอบร่วมกับการสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis) รวมทั้งการศึกษากรณีตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุและผลกระทบจากอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชนโดยใช้ ... -
แนวทางสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย
จุฑามาศ สิทธิชัย; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นาไปสู่ความสำเร็จของอาคารเขียวในประเทศไทย และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาอาคารเขียวของประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย ผู้กำหนดเกณฑ์การประเมิน และการลงพื้นที่และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารเขียวที่ผ่านเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวแบบต่าง ... -
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
กาสูหรี สาอีซา; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทาสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปัจจัยนำเข้า เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ยาปราบวัชพืช เป็นต้น ตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพารา กระบวนการดูแลยางพาราก่อนกรีด กระบวนการดูแลยางพาราหลังกรีด กระบวนการกรีดและจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) จากการศึกษา พบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมมากที่สุดตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพาราจนกระทั่งกระบวนการจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) เท่ากับ 1,587.272 kgCO2eq/ไร่ /ปี ... -
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี
ปิยรัฐ กล่ำทอง; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ ประชาชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยศึกษาพารามิเตอร์ อุณหภูมิ ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารในน้ำ(BOD) ... -
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดล
นิติกร พงษ์ไพบูลย์; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากการทำเกษตรอินทรีย์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ และเสนอแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ให้ประสบความสำเร็จ โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการดำเนินการโครงการสามพรานโมเดล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ จำนวน 32 คน คือ กรรมการผู้จัดการโรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ (1 คน) ตัวแทนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในโครงการ (11 คน) และผู้บริโภค (20 คน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจับกลุ่มประเด็นเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนจากก ...