Browsing by Author "สุพรรณี ไชยอำพร"
Now showing items 1-8 of 8
-
การก่อเกิดพัฒนาการและการบริหารจัดการกองทุนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เฉลิมศรี ระดากูล; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) การก่อเกิดและพัฒนาการกองทุนเมือง 2) กระบวนการบริหารจัดการกองทุน 3) การสนับสนุนของเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ที่มีต้่อการดำเนินงานกองทุนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะรวมถึงแนวทางการพัมนาการดำเนินงานกองทุนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -
การสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนป่าตรง จังหวัดปราจีนบุรี
วงศ์ตระกูล มาเกตุ; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการอาหารในระดับชุมชน 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการสร้างการประกันความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ผู้ศึกษาได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยยึดหลักตรรกะและเทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฎีควบคู่กับบริบทของชุมชน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบเพื่อความชัดเจนเป็นรูปธรรม -
การสร้างเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข อำเภอทุ่งเสลี่่ยม จังหวัดสุโขทัย
พระดาวเหนือ บุตรสีทา; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 2) ศึกษาขั้นตอนในการสร้างเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 3) ศึกษาการจัดการเครือข่ายทางสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในจัดการเครือข่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 15 ราย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเครือข่ายของชุมชนบ้านพบธรรมนำสุข มี ... -
การเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองนาคา ตำบลหนองระเวียง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พระชานิ โกสลฺโล (ศิรินอก); สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความหมาย คุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน 2) ศึกษาวิธีและแหล่งเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้ประกอบการในชุมชน 3) ศึกษาปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไขการเสริมสร้างลักษณะผู้ประกอบการในชุมชน ส่วนการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interviews) เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 15 คน ในการศึกษาวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาพบว่า -
ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหมากขาม* และบ้านหมากม่วง* ในเขตเทศบาลตำบลไตรรัฐ* ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คทาเทพ พงศ์ทอง; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนบ้านหมาก ขาม* และบ้านหมากม่วง* ในเขตต าบลไตรรัฐ* อ าเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี2) เพื่อศึกษาการจัดการ วัฒนธรรมของชุมชน 3) เพื่อศึกษาทัศนะของประชาชนในชุมชนต่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม การวิจัยนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่ส าคัญ 30 คน และใช้การ วิเคราะห์ตีความ ควบคู่บริบทและใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม -
รูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตในประเทศไทย
บารมี พานิช; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและขั้นตอนการขับเคลื่อน ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาทัศนะต่อการนํากฎหมาย ร่าง พระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ของประชาชนในสังคมไทยมาใช้ การศึกษาใช้ กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 25 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงกับแนวคิด ทฤษฎีควบคู่กับบริบทและใช้สถิติเชิง พรรณนาประกอบ -
รูปแบบและวิธีการควบคุมทางสังคมต่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน: กรณีศึกษาชุมชนพฤกษา
เอกชัย ไชยอำพร; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการควบคุมทางสังคมของชุมชน 2) วิธีการนำการควบคุมทางสังคมไปใช้เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชุมชน 3) แนวโน้มของการควบคุมทางสังคม ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นไปที่การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-informant) เป็นจำนวน 15 คน การวิเคราะห์ใช้วิธีการตีความและใช้การวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้าในทุก ๆ ขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง -
วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ; สุพรรณี ไชยอำพร (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นใน สังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อศึกษาทัศนะของวัยรุ่นต่อลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พึงประสงค์ และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) เป็นหลักโดยอาศัยกระบวนการและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้รู้หรือผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant)และทำการตรวจสอบข้อมูล โดยใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique)