Browsing by Author "อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา"
Now showing items 1-13 of 13
-
การบริหารการพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
นพ ศรีบุญนาค; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1997) -
การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510
ปฐม มณีโรจน์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
วัตถุประสงค์ประการแรกของการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการบริหารงานเลือกตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ อย่างที่จะช่วยให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นหรือน้อยลง และเพื่อวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง จากผลการศึกษาปรากฏว่าสิ่งที่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง คือ กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ของทางราชการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของผู้บริหารงาน เพื่อเลือกทางปฏิบติให้เป็นไปตามบทบัญญัติเหล่านั้น ผู้เขียนได้สรุปข้อเสนอแนะในการพิจารณาแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ... -
การฝึกอบรมข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน : ศึกษาจากทัศนะของผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรม
ประสิทธิ์ ดำรงชัย; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาให้ทราบลักษณะปัญหาต่าง ๆ ในการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนของไทยในส่วนรวม ในระดับกรม โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 5 ประการ คือ.- 1. เพื่อทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน 2. ทราบจำนวนหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารงานฝึกอบรมโดยตรง 3. ต้องการทราบชนิด หลักสูตร วิธีการ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม 4.ทราบความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในงานฝึกอบรม 5. เพื่อทราบอุปสรรคในการบริหารงานฝึกอบรม -
การวิจัยทางสังคมศาสตร์ต่างวัฒนธรรม : ศึกษาวิเคราะห์จากการวิจัยของคณะวิจัยชาวต่างประเทศที่มีนักวิจัยไทยเป็นผู้ช่วย
ธวัช วิชัยดิษฐ; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ เพื่อสำรวจดูว่าเทคนิคในการวิจัยของชาติตะวันตกอันเป็นวิธีการที่ทันสมัยนั้นจะสามารถนำมาใช้ในสังคมไทยที่มีสภาพสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างไปจากชาติตะวันตกได้มากน้อยหรือไม่ เพียงใด จากผลการศึกษาปรากฏว่าการวิจัยของนักวิจัยชาวต่างประเทศที่มีนักวิจัยไทยเป็นผู้ช่วย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินงานได้มาก ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยโดยตรง และในส่วนที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี พฤติกรรมของสังคม และภาษา ฉะนั้นความสำเร็จของงานวิจัยสภาพทางสังคมศาสตร์ด้านวัฒนธรรม ย่อมขึ้นอยู่กับความรอบรู้ท ... -
การเข้าถึงประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้\
สมาน รังสิโยกฤษฏ์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
สาระสำคัญของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้เพื่อชี้ให้เห็นปัญหา ลักษณะ และมูลเหตุของปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่ามีอยู่อย่างไรบ้าง มีมูลเหตุมาจากอะไร และปัญหาแต่ละปัญหานั้นมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ และเสถียรภาพของภูมิภาคส่วนนี้อย่างไรบ้าง เพื่อจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดวิธีการเข้าถึงประชาชนที่เหมาะสมที่สุด และสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากที่สุด -
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในหมู่บ้านอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางการคมนาคม : ศึกษาเฉพาะกรณีความเปลี่ยนแปลงของบ้านหว้า ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สืบเนื่องมาจากการสร้างทางหลวงชนบทสายกระสัง-ลำชี
เลิศ บรรเลงเสนาะ; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1974)
ศึกษาสภาพทั่วไปของการคมนาคมก่อนการสร้างทางหลวงชนบท เปรียบเทียบให้เห็นความก้าวหน้าทางการคมนาคมภายหลังการสร้างทางหลวงชนบทสายกระสังลำชี กล่าวถึงท่าทีของชาวบ้านที่มีต่อการสร้างทาง รวมทั้งปัญหาการสร้างทางที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหน่วยก่อสร้างทางกับราษฎร แล้วศึกษาสภาพทั่วไปและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเรื่องจารีตประเพณี สภาพครอบครัว การอนามัย และการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเปรียบเทียบสภาพเหล่านี้ก่อนและหลังการสร้างทาง ต่อจากนั้นผู้เขียนได้ศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงท่าทีและความคิดเห็นที่มีต่อบุคคลที่มีอำนาจตามความคิดเห็นของชาวบ้าน บุคคลที่น่านับถือ ... -
การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
ความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นหูเป็นตาของรัฐบาล หรือเป็นมือของฝ่ายบริหารในการปกครองตำบลและหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดแนวความคิด และความพยายามที่จะปูพื้นฐานประชาธิปไตยขั้นมูลฐานในระดับหมู่บ้านอีกด้วย ส่วนความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปัจจุบัน ก็เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยแก่ประชาชนโดยการปฏิบัติ จากการศึกษาปรากฎว่าการเลือกตั้งสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและในปัจจุบันไม่บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ... -
การโอนนายทหารบกเป็นปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกัน : การศึกษาถึงความจำเป็นในการป้องกันประเทศ
วิสูตร เกิดเกรียงบุญ; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
การที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับภัยคอมมิวนิสต์ตามชายแดนนั้น ก่อให้เกิดปัญหาแก่การบริหารงานของนายอำเภอและข้าราชการอำเภอ กล่าวคือต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้บรรลุผลดีได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เพิ่มตำแหน่งปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกันขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับข้าราชการต่าง ๆ เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย และรับผิดชอบในกิจการกองอาสารักษาดินแดนอำเภอ ตลอดจนกิจการป้องกันฝ่ายพลเรือนโดยตรง งานส่วนใหญ่ของปลัดอำเภอโทฝ่ายป้องกันเป็นการบังคับบัญชาควบคุมและอำนวยการใช้สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ... -
บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย
สมศักดิ์ สาตรรอด; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1973)
ผู้เขียนได้ค้นคว้าถึงทฤษฎีและการปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ศึกษาถึงอำนาจหน้าที่และบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน สถานภาพของจังหวัดเลยซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการก่อการร้าย หรือเหมาะสมต่อการแทรกซึมและก่อการร้าย ผู้เขียนได้เสนอเรื่องในวิทยานิพนธ์ตามลำดับเริ่มแต่นโยบายการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีต่อประเทศไทย ตลอดจนวิธีการแทรกซึมและก่อการร้ายในชนบท แล้วกล่าวถึงลักษณะและสภาพทั่ว ๆ ไปของจังหวัดเลย เน้นจุดอ่อนต่อการแทรกซึมและพฤติการณ์แทรกซึม ต่อจากนั้นจึงศึกษาอำนาจหน้าที่ซึ่งมีอยู่ตามตัวบทกฎหมาย และการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของไทยอันเป็น ... -
ผลกระทบของนิเวศวิทยาต่อการบริหารงานราชการในที่ราบลุ่มภาคกลาง ณ อำเภอน้ำแดง
ชวลิต สมานมิตร; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970)
ศึกษาลักษณะนิเวศนวิทยาและการบริหารตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั้งสองของอำเภอน้ำแดงในที่ราบลุ่มภาคกลาง ศึกษาเฉพาะผลกระทบของนิเวศนวิทยา ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2510-2511. -
ระบบศักดินากับการบริหารราชการ
วินัย ชวนประพันธ์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
ผู้เขียนมุ่งศึกษาเรื่องราวของระบบศักดินาในประเทศไทยในรูปของประวัติและวิวัฒนาการในแต่ละยุคแต่ละสมัย ตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นและได้วิวัฒนาการมา ตลอดจนการนำระบบศักดินาไปใช้เกี่ยวข้องกับกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมของสังคม จนกระทั่งระบบศักดินาต้องถูกยกเลิกไป ในตอนสุดท้ายได้ศึกษาถึงผลอันเกิดจากระบบศักดินาในวงราชการไทยในปัจจุบัน -
สภาพและปัญหาการวิจัยจากเอกสารราชการ
เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967)
เอกสารของทางราชการเป็นที่มาสำคัญยิ่งของข้อมูลในการวิจัย โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทางราชการ แต่มีอุปสรรคหลายประการที่ทำให้นักวิจัยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอกสารราชการได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพราะหน่วยราชการต่าง ๆ ยังมีระบบวิธีเก็บรักษาเอกสารที่ไม่เป็นระเบียบ สถานที่เก็บรักษาแคบไม่ปลอดภัย เอกสารชำรุดสูญหายเสมอ นอกจากนั้นประเทศไทยยังขาดหอบรรณสารเพื่อเก็บรักษาเอกสารที่มีค่าอย่างถาวร แม้จะมีกองจดหมายเหตุแห่งชาติก็ไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่เพราะขาดคน ขาดเงิน และสถานที่คับแคบ ผู้เขียนเห็นว่าควรจะได้มีวิธีการจัดเก็บเอกสารโดยวิธีต่างกันแล้วแต่ชน ... -
อำนาจหน้าที่ของปลัดเทศบาลในฐานะหัวหน้างานฝ่ายประจำ โดยเฉพาะในการควบคุมเจ้าหน้าที่และควบคุมงานประจำ
วิริย์ ทรรทรานนท์; อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1969)
ตำแหน่งปลัดเทศบาล เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อเทศบาล เป็นบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานประจำและเป็นหัวหน้างานพนักงาน ลูกจ้างคนงานทั้งหมดของเทศบาลแต่ละแห่ง จึงควรต้องมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ให้คุณให้โทษแก่พนักงานลูกจ้างได้ตามสมควร นอกจากนี้ควรมีอำนาจในการวางแผนปฏิบัติงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุมงาน ติดต่อประสานงาน ติดตามผลงาน ปรับปรุงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้คน เงิน วัสดุ และวิธีจัดการทั่วไปของเทศบาล แต่ในทางปฏิบัติงานจริง ๆ แล้ว ตำแหน่งนี้มีภาวะครอบงำ ข้อจำกัดและอุปสรรคหลายประการ ซึ่งมีอยู่ในเทศบาล ผู้เขียนจึงใคร่ศึกษาว่า ประสิทธิภาพในการ ...