Browsing by Author "อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์"
Now showing items 1-12 of 12
-
Relationship between Health Behavior and Metabolic Syndrome Progression: A parallel latent growth curve modeling approach
Somkiat Tonphu; สมเกียรติ ตนภู; Arnond Sakworawich; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์; National Institute of Development Administration. School of Applied Statistics; Arnond Sakworawich; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (National Institute of Development Administration, 3/6/2022)
OBJECTIVES: To develop a measurement model to assess the relationship between metabolic syndrome (MetS) progression and health behavior changes. METHODS: Medical records of checkup patients of a private hospital from 2006-2017. Data on exercise (EXE), smoking (SMK), and failure to control weight (FCW) were included as health behaviors. FCW was derived from waist circumference (WC) and body mass index (BMI). Blood pressure, high and low density lipoproteins (HDL, LDL), triglycerides (TG), and fasting blood sugar (FBS) were used for MetS diagnosis ... -
การตรวจจับรูปแบบผิดปกติของการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย Decision tree
รัญญา แพรวพิพัฒน์; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบความผิดปกติของการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของคนไข้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยปัจจัยการสั่งใช้ยา โรค และระดับสถานพยาบาล ในขั้นแรกใช้ข้อมูลในอดีตทำนายความถี่ของการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากการวิเคราะห์แบบถดถอยทวินามนิเสธและทำนายความรุนแรงของการเข้ารับพยาบาลต่อครั้งจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณซึ่งการวิเคราะห์แบบถดถอยทำให้ทราบเพียงค่าทำนายความถี่และความรุนแรงเท่านั้น แต่มิสามารถทราบรูปแบบที่กระทบต่อความผิดปกติ ขั้นต่อมาทำการศึกษารูปแบบความผิดปกติของการเบิกจ่ายค่ารักษา โดยใช้ส่วนเหลือจากตัวแบบถดถอยพิจารณาความผิดปกติ ของการสั่งใช้ยา ... -
การประยุกต์ใช้ตัวแบบการทำให้เรียบล็อกเชิงเส้นสำหรับการแจกแจงความสูญเสียของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไทย
รติกานต์ สงขาว; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวแบบการทำให้เรียบล็อกเชิงเส้น (Log-linear Smoothing Models) เพื่อทำนายความถี่และความรุนแรงของความสูญเสียของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไทย ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ปี 2556 – 2558 ซึ่งได้รับข้อมูลมาจากกรมบัญชีกลาง โดยได้นำตัวแบบการทำให้เรียบหนึ่งตัวแปร สองตัวแปร และหลายตัวแปร (Univariate, Bivariate and Multivariate Smoothing Models) มาประยุกต์ใช้กับตัวแบบความสูญเสีย (Loss Model) ในการนำค่าของความถี่ ความรุนแรง และอายุมาใช้ในตัวแบบจำเป็นต้องตัดข้อมูลต่อเนื่องออกเป็นข้อมูลจัดประเภท (Discretized) ... -
การประเมินทางคณิตศาสตร์ (Actuarial Valuation) ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของข้าราชการและผู้อาศัยสิทธิในอีก 30 ปีข้างหน้า
มัณฑนา จาดสอน; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการและผู้อาศัยสิทธิ ที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงกว่าระบบสวัสดิการอื่น ๆ ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตงบประมาณของรัฐบาลอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยสำคัญของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของข้าราชการและผู้อาศัยสิทธิ โดยใช้ข้อมูลโครงการฉายภาพประชากรข้าราชการไทยและผู้อาศัยสิทธิ ปีงบประมาณ 2558 ถึง 2588 และข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการในปีงบประมาณ 2556 ถึง 2558 แล้วประมาณค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการรักษาพยาบาลต่อคนต่อครั้ง และทำการประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ... -
การเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงและทางอ้อมระหว่างการรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย: การประเมินทางคณิตศาสตร์ประกันภัย
ดวงกมล อมรลักษณ์ปรีชา; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นโรคหนึ่งที่มีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลสูงมาก นอกจากมีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังมีต้นทุนอื่นๆ อีกมากมาย ประกอบกับผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การทราบจำนวนผู้ป่วย และจำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับอนาคต ช่วยให้สามารถวางแผนและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตารางชีพระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) และวิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างต่อเนื่อง (CAPD) ฉายภาพประชากรผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ... -
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการพนัน ความน่าจะเป็นเชิงอัตวิสัย โครงสร้างรางวัลของการชิงโชคและความตั้งใจซื้อ: การศึกษาเชิงทดลอง
กัณตรัตน์ ปริเปรมกุล; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองการทดลองรูปแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโครงสร้างรางวัลของการส่งเสริมการขายแบบชิงโชคที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้า โดยมีพฤติกรรมการพนันและความน่าจะเป็นเชิงอัตวิสัยเป็นตัวแปรร่วม (Covariates) โครงสร้างรางวัลของการชิงโชคในกลุ่มทดลองมี 4 รูปแบบคือ รางวัลใหญ่ที่สุดเพียงหนึ่งรางวัล รางวัลใหญ่ที่สุด 1 รางวัล และรางวัลย่อยหลายรางวัล รางวัลใหญ่หลายรางวัล รางวัลใหญ่หลายรางวัลและรางวัลย่อยหลายรางวัล และมีการส่งเสริมการขายแบบลดราคาเป็นกลุ่มควบคุม สุ่มผู้เข้าร่วมทดลองจำนวน ... -
ความเป็นเมืองและภูมิภาคนิยมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในประเทศไทย : แบบจำลองเชิงพื้นที่
สุทธาสินี ลำภาษี; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมือง ความเป็นภูมิภาคนิยม กับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 โดยใช้ตัวแบบวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ (Spatial Error Regression Model) ดัชนีความเป็นเมืองพัฒนาจากการวิเคราะห์มุขสำคัญ (Principal Component Analysis) ซึ่งประกอบด้วยสองมุขสำคัญคือ ดัชนีเศรษฐกิจและสังคมของเมือง (USEI) และดัชนีความหนาแน่นของเมือง (UDI) การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยความหลากหลายของผลการเลือกตั้งจะศึกษาด้วยวิธี Normalized Entropy ... -
ตัวแบบทำนายวันนอนและการกลับมารักษาซ้ำผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ
ดวงกมล บัวจำรัส; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบทำนายวันนอนและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ โดยใช้ตัวแบบถดถอยทวินามลบและตัวแบบถดถอยโลจิสติกทวิ ในการทำนายวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย คือ อายุ และ ปัจจัยเกี่ยวกับประวัติการรักษาที่ผ่านมา ได้แก่ วันนอนโรงพยาบาล การผ่าตัด ค่ารักษาพยาบาล ระดับโรงพยาบาล กลุ่มวินิจฉัยโรค และ โรคร่วมและโรคแทรกซ้อน มีความสัมพันธ์กับวันนอนโรงพยาบาล 2) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ป่วย ได้แก่ เพศ และ อายุ และ ปัจจัยเกี่ยวกับประวัติการรักษาที่ผ่านมา ได้แก่ วันนอนโรงพยาบาล การกลับมารักษาซ้ำ ... -
ผลกระทบจากการบริการของเท็กซี่มิเตอร์ต่ออารมณ์รูปแบบการเผชิญ และความตั้งใจกลับใช้บริการ โดยมีบุคลิกภาพเป็นตัวแปรกำกับ
วศิน แก้วชาญค้า; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
วิทยานิพนธ์เรื่อง ผลกระทบจากการบริการของแท็กซี่มิเตอร์ต่ออารมณ์ รูปแบบการเผชิญ และความตั้งใจกลับไปใช้บริการ โดยมีบุคลิกภาพเป็นตัวแปรกำกับ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา ผลกระทบจากการบริการแท็กซี่มิเตอร์ต่ออารมณ์ รูปแบบการเผชิญ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ทางเลือกการใช้บริการ ต่อความตั้งใจกลับไปใช้บริการ และสร้างตัวแบบเส้นทางความสัมพันธ์ จำแนกตามเพศ และ (2) ทดสอบว่าบุคลิกภาพเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และ รูปแบบการเผชิญ ต่อความตั้งใจกลับไปใช้บริการของผู้ใช้บริการ งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามทางออนไลน์และการสำรวจภาคสนาม ... -
ศรัทธาที่มีต่อสถาบันต่างๆในสังคมไทย
รชนิศ ทองแดง; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
สถาบันต่าง ๆ ในสังคมไทย ประกอบด้วยกลุ่มสถาบัน 6 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กลุ่มรัฎฐาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาล กลุ่มตุลาการ ประกอบด้วย ศาลยุติธรรม (ศย.) ศาลรัฐธรรมนูญ (ศร.) และศาลปกครอง (ศป.) กลุ่มอำนวยความยุติธรรม ประกอบด้วย ตำรวจ และอัยการ กลุ่มองค์กรอิสระ ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และกลุ่มพรรคการเมือง ... -
เสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
วสุรัตน์ กลิ่นหอมรื่น; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
นับแต่ก่อตั้งกยศ. มีผู้ที่เป็นหนี้เสียเป็นจำนวนมาก ในปี 2556 มีผู้กู้ที่มาชำระเพียง 72.97% มีหนี้ค้างชำระ 25,073 ล้านบาท (34.72%) และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี ปัญหาเช่นนี้ส่งผลต่อสถานะเงินกองทุน และกองทุนอาจจะล้มละลายหรือมีเงินกองทุนติดลบได้ในอนาคตอันใกล้ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการเงินของ กยศ. และผลกระทบจากปัจจัยต่างๆเช่น 1.การได้รับเงินงบประมาณจากภาครัฐ 2.ระยะเวลาที่ได้รับเงินงบประมาณ 3.อัตราส่วนของผู้กู้ต่อจำนวนนักเรียน 4.อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ 5.สัดส่วนของผู้ที่มาชำระหนี้ 6.อัตราการว่างงาน ... -
แบบจำลองวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่เพื่อพยากรณ์ผลการเลือกตั้งของไทย
รัชนีพร จันทร์สา; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แบบบัญชีรายชื่อ และพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ประชากร เศรษฐกิจและสังคม ภูมิศาสตร์ และพฤติกรรมการเลือกตั้งในอดีต เพื่อพัฒนาตัวแบบสำหรับการทำนายผลการเลือกตั้ง โดยเปรียบเทียบตัวแบบ 3 วิธีคือ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) วิธี Spatial lag model และ วิธี Spatial error model และพิจารณา ค่า R2 สูงสุด ค่า AIC และ BIC ต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดคือ Spatial error model ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้งสูงคือตัว ...