Browsing by Author "แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา"
Now showing items 1-20 of 29
-
การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
วิวัฒน์ ศัลยกำธร; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยเรื่อง การกำหนดและการนำแผน 3 เขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัตินี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่ผู้วิจัยได้เข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์อำนวยการเลือกต้งของพรรคพลังธรรม ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ช่วงวันที่ 15 สิงหาคม ถึง 13 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและทดสอบแนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ ว่าจะสามารถกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการและนำไปปฏิบัติได้อย่างไร มีปัญหา/อุปสรรค และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง ภายใต้บริบทวัฒนธรรมของชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. -
การกำหนดและการนำแผนสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
ไกรสร แจ่มหอม; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยเรื่องการกำหนดและการนำแผนสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัตินี้ ผู้วิจัยได้นำกรอบแนวคิดทฤษฎีซึ่งถูกกำหนดเป็นตัวแบบการรณรงค์แล้ว เข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์ปฏิบัติการรณรงค์เลือกตั้งของพรรค ข. ในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2535 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงจุดอ่อนและข้อด้อยของการรณรงค์เลือกตั้งในอดีตทั้งในแง่หลักคิดและวิธีการ และนำมาสร้างตัวแบบแผนปฏิบัติการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการนำตัวแบบดังกล่าวมาทดลองใช้ปฏิบัติจริง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเง ... -
การค้นหารูปแบบอำนาจการนำและความสัมพันธ์ผูกพันกับพรรคและนักการเมืองของผู้นำชุมชนบ้านอรัญญิก
สุภมงคล สุขากันยา; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
การจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้งภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์ : กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
อนุสรณ์ ไชยพาน; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยเรื่อง การจัดองค์กรและการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ภายใต้แนวคิด 3 เขตยุทธศาสตร์นี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปร่วมปฏิบัติการทางการเมืองในศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคพลังธรรม จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม - 13 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ -
การวางแผนปฏิบัติการ การกำกับติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนนระดับตำบล : กรณีการวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
พนมพร ไตรต้นวงศ์; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับเขตเลือกตั้ง นอกจากบุคลากร การเงิน และอื่น ๆ การจัดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการวางแผนงาน กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะชนะการเลือกตั้งในด้านบุคลากร โดยเฉพาะหัวคะแนนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการรณรงค์หาเสียง ดังนั้น เพื่อจะให้มีการรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นระบบและสร้างความชัดเจนในการทำแผนปฏิบัติการของหัวคะแนน ผู้วิจัย จึงได้ศึกษาจากตัวแบบการวางแผนปฏิบัติการการกำกับติดตาม และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวคะแนน ... -
การสนองตอบของประชาชนต่อนโยบายปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
กนกกาญจน์ อนุแก่นทราย; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับการสนองตอบของประชาชนต่อนโยบายปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและระดับการสนองตอบของประชาชนในเมืองและชนบท ขณะปราศรัยในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง. -
การสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของแผนการรณรงค์เลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ ณ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา เมื่อครั้งเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535
วัลลภ พ่วงเอี่ยม; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาฐานคะแนนนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้งและนำผลไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 13 กันยายน 2535 โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม 2 ช่วงคือ ช่วงต้นฤดูการรณรงค์หาเสียงวันที่ 22-23 สิงหาคม 2535 จำนวน 1,099 ตัวอย่าง และช่วงปลายฤดูการรณรงค์หาเสียงวันที่ 4 กันยายน 2535 จำนวน 720 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยใช้สถิติร้อยละ -
การสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของแผนการรณรงค์เลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ ณ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535
วีรพล เพชราภา; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้เข้าร่วมปฏิบัติการในพื้นที่เป็นเวลา 1 เดือน มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อหยั่งเสียงพรรคการเมืองและผู้สมัคร และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจฐานคะแนนนิยมมาใช้กำหนดยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ โดยแบ่งการสำรวจฐานคะแนนนิยมออกเป็นช่วงต้นฤดูและปลายฤดูการรณรงค์ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ปฏิบัติการจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในช่วงต้นฤดูเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม 2535 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,762 ราย ช่วงปลายฤดูเก็ ... -
ความนิยมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์มีดแนวศิลป์ของชุมชนบ้านอรัญญิก
เพชราภรณ์ มงพลเมือง; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
ความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทย
สมชาย ตระการกีรติ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1987)
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แรงงานในอุตสาหกรรมไทยมีความแปลกแยกดำรงอยู่ในระดับสูง เกือบทุกลักษณะของความแปลกแยก อันได้แก่ สภาวะเหินห่างจากตนเอง สภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง เว้นแต่สภาวะปรปักษ์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ในระดับไม่สูงนัก ลักษณะของความแปลกแยกแต่ละลักษณะมีประเด็นที่ค้นพบแตกต่างกันไปบ้างดังนี้ -
โครงสร้างตลาดผลิตภัณฑ์มีดแนวศิลป์ของชุมชนบ้านอรัญญิก
จิโรทร ตันสกุล; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
โครงสร้างตลาดผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิกแนวโรงงานของชุมชนบ้านอรัญญิก
ธีรพันธ์ วรรณมโนทัย; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนบ้านอรัญญิกปัจจุบัน
สุกิจ อ่วมวงษ์; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
จิตสำนึกทางการเมืองของชาวนา : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ปริญญาพร ขุขันธิน; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1991)
การศึกษาเรื่อง จิตสำนึกทางการเมืองของชาวนา เป็นการศึกษาถึงการดำรงอยู่ (Being) และการเกิดจิตสำนึกโดยศึกษาการก่อเกิดของจิตสำนึกในลักษณะกระบวนการ (Process) และเน้นภาคปฏิบัติการ (Practice) ของมนุษย์ (Subject) -
ทัศนคติของช่างฝีมือที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนช่างฝีมือทหารต่อการนำความรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการปฏิบัติงาน
สุภา ศรีรักษ์; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1971)
ศึกษาเพื่อทราบทัศนคติของช่างฝีมือที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนช่างฝีมือทหารต่อการนำความรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการปฏิบัติงาน และเพื่อหาข้อเท็จจริงว่าช่างฝีมือเหล่านั้นจะมีลักษณะสภาพความเป็นจริงอย่างไรบ้าง เริ่มต้นวิทยานิพนธ์เป็นการเสนอแนวความคิดและความเป็นมาของการฝึกช่างฝีมือของโรงเรียนช่างฝีมือทหาร ทัศนคติของช่างฝีมือต่อการนำความรู้ทางวิชาชีพไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเสนอการเปรียบเทียบการใช้ความรู้ทางวิชาชีพปฏิบัติงานแยกตามกลุ่ม บุคคล และหน่วยต้นสังกัด ตลอดจนเปรียบเทียบโดยแยกพิจารณาตามสาขาวิชาชีพ และรุ่นที่สำเร็จการศึกษา. -
เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์มีดอรัญญิก : ความเป็นอยู่ เป็นมา และเป็นไป
อำนาจ หาญไฟฟ้า; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995) -
ประสิทธิผลการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติการ : วิจัยปฏิบัติการเรื่องการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึกเพื่อแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
สาคร บุญอาจ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้เข้าไปร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ทดลองเป็นเวลา 1 เดือน โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงผลของการนำระบบข่าวสารข้อมูลด้านกว้างและด้านลึกเพื่อแจ้งเตือนผู้ที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง ตลอดจนศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งขององค์กรกลางไปปฏิบัติ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ หัวคะแนนของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในข่ายเบาะแสละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง. -
ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ทมก ไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ของการรณรงค์เลือกตั้ง โดยปฏิบัติการตามรูปแบบ (Model) ใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง เหมาะสมต่อสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยมากที่สุด -
ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
เบญจวรรณ พัวเจริญเกียรติ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993)
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มุ่งนำวิชาการไปรับใช้การรณรงค์เลือกตั้งอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียง โดยการรณรงค์กับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนเป็นสื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนบ้าน มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม -
ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีวัดในการเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ผ่านและไม่ผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางศีลธรรมในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
สุโรจนา ศรีอักษร; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียง 2) ให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองด้วยการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 13 กันยายน 2535 และ 3) ให้ประชาชนรู้จักเลือกพรรคการเมืองที่ดีหรือนักการเมืองที่ดีเหมาะสม