Browsing by Subject "การบริหารงานบุคคล"
Now showing items 1-17 of 17
-
การจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหาร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1969);
ศึกษาถึงงานของคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหาร ในการจัดอัตรากำลังให้แก่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ว่ามีความสามารถในการทำงานและได้ปรับปรุงงาน และได้รับผลสำเร็จประการใดบ้าง และมีสิ่งควรแก้ไขประการใดบ้าง การปฏิบัติงานจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารได้ใช้กรรมวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชาในการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์ปริมาณงาน การจำแนกตำแหน่งและการจัดระบบงาน คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารมีกลุ่มทำงานคือ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์จากสำนักคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ. -
การใช้งานและปัจจัยในการเลือกใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการผลิตและการบริการในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2005); -
การใช้ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร : กรณีศึกษาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2004); -
การนำวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการพิจารณาบรรจุ แต่งตั้งเลื่อนเงินเดือน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งและการส่งเสริมสมรรถภาพข้าราชการของกรมการปกครอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968);
ปัจจุบันกรมการปกครองได้นำวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานตามแบบของสหรัฐอเมริกามาใช้โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2507 เป็นต้นมา แต่จากผลการศึกษาปรากฏว่าการนำวิธีประเมินผลมาใช้ประกอบการพิจารณา บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และส่งเสริมสมรรถภาพของข้าราชการกรมการปกครองยังมีข้อบกพร่องและอุปสรรคหลายประการ ทั้งในด้านที่เกี่ยวกับวิธีประเมินผลการปฏิบัติงาน และการนำผลที่ได้จากการประเมินมาใช้ ในด้านที่เกี่ยวกับวิธีประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นมีข้อบกพร่องต่าง ๆ คือ.- -
การบริหารงานบุคคลของคุรุสภา : บทศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครู
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับข้าราชการครู โดยพิจารณาถึงการคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษข้าราชการครู และการออกจากข้าราชการครู โดยศึกษาดูว่าคุรุสภาปฏิบัติอย่างไร มีอุปสรรคที่ควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับกระทรวงศึกษาธิการว่าใกล้ชิดเพียงใด ควรเพิ่มกิจกรรมอะไรบ้าง. -
การบริหารงานบุคคลในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1970);
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เริ่มด้วยการบรรยายประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อำนาจหน้าที่และองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการ พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้ง ย้าย โอน และการออกจากราชการของข้าราชการตุลาการ ว่าเป็นอย่างไรตามหลักการบริหารงานบุคคลมากน้อยเพียงใด มีปัญหาหรือไม่ แล้วพิจารณาถึงวิธีการ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการเลื่อนขั้นเงินเดือน การเลื่อนขั้น และตำแหน่งของข้าราชการตุลาการว่า วิธีการและหลักเกณฑ์เหล่านี้มีความเหมาะสมเพียงใด และคณะกรรมการตุลาการมีบทบาทอย่างไรในการพิจารณาความดีความชอบ ต่อจากนั้นผู้เ ... -
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาระดับทัศนคติของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งการศึกษามีมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ โดยผู้วิจัยจะใช้การศึกษาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัย เชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จะใช้การวิจัยเชิง สำรวจ(Survey Research) โดยการใช้แบบสอบ ... -
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับเด็กและสตรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011); -
การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ สาขาการบริหารในระบบข้าราชการพลเรือนไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2005); -
การฝึกอบรมการจัดการงานบุคคลสำหรับฝ่ายจัดการและเจ้าหน้าที่ชั้นหัวหน้างานในวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีของศูนย์อบรมแรงงาน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968);
ผู้เขียนได้แบ่งขอบเขตของการศึกษาออกเป็นสองตอน คือ การศึกษาดำเนินงานการฝึกอบรมตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 18 ซึ่งกองบริหารแรงงานกรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยจะศึกษาในลักษณะประวัติความเป็นมาของการดำเนินงานฝึกอบรม ส่วนการศึกษาการดำเนินงานฝึกอบรมตั้งแต่รุ่นที่ 19 ถึงรุ่นที่ 23 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมแรงงานนั้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด -
การสำรวจสถานะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009); -
การหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2004); -
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนข้าราชการกับปริมาณงาน : ศึกษาจากที่ทำการปกครองจังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1967);
ที่ทำการปกครองจังหวัดระยอง มีปลัดจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา มี 3 แผนกคือ แผนกจ่าจังหวัด แผนกผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่น และแผนกเสมียนตราจังหวัด การที่ผู้เขียนเลือกศึกษาหน่วยงานนี้เพราะจังหวัดระยองเป็นจังหวัดค่อนข้างเล็ก มีปริมาณงานน้อย สามารถศึกษาได้ภายในเวลาอันจำกัด ปลัดจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้งานดีขึ้น -
แด่คน Gen Y
(สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2016-11-28)
ปัจจุบันทุกองค์กรกำลังประสบทั้งปัญหาและความท้าทายกับคน Gen Y (อายุ 16-36 ปี) ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าคน Gen Y จะมีความเก่ง ใช้เทคโนโลยีได้คล่องแคล่ว ชอบความท้าทาย แต่ปัญหาที่องค์กรจำนวนมากกำลังประสบจะเป็นเรื่องความไม่อดทน ไม่ทนงาน ลาออกบ่อย และอยาประสบความสำเร็จเร็ว จนลืมปัจจัยด้านความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน -
เทคนิคการบริหารงานบุคคล : การศึกษาเฉพาะกรณีการจัดสวัสดิการโดยฝ่ายสวัสดิการโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1974);
มุ่งศึกษางานสวัสดิการในโรงงานยาสูบ ซึ่งฝ่ายสวัสดิการรับผิดชอบงานหลักโดยตรงเท่านั้น เช่น กิจการให้กู้ยืมเงินโดยแผนกทุนสงเคราะห์ การจัดสรรที่ดินและอาคารสงเคราะห์ให้แก่พนักงานโดยแผนกเคหะสงเคราะห์ การช่วยเหลือทางด้านการศึกษาแก่บุตรพนักงานยาสูบโดยแผนกห้องสมุด การช่วยเหลือทางพิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินงานทางด้านฌาปนกิจโดยแผนกพิธีการสงเคราะห์ การออกหนังสือนิตยสารและบริการห้องสมุดโดยแผนกห้องสมุด รวมทั้งกิจการดนตรีเพื่อความบันเทิงของพนักงานโดยแผนกดนตรี การศึกษานี้เพื่อจะหาความจริงว่า งานสวัสดิการที่ฝ่ายสวัสดิการประสบความสำเร็จอย่างดีจนเป็นที่สนใจของร ... -
ระบบบริหารงานบุคคลของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968);
เป็นการศึกษาถึงระบบการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่มีคณะกรรมการระดับชาติ หรือรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานซึ่งมีอยู่หลายระบบ แต่ละระบบก็มีองค์การกลางบริหารงานบุคคลของตน ได้แก่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล คณะกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัด นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการบริหารงานบุคคลพนักงานสุขาภิบาล และพนักงานตำรวจอีกด้วย ส่วนการบริหารงานบุคคลในระดับท้องถิ่นนั้น องค์การบริหารงานบุคคลเป็นผู้กระจายอำนาจให้แก่องค์การบริหารบุคคลในระดับท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ 3 คณะกรรมการ คือ อ.ก.จ. อ.ก.ท.จังหวัด และ อ.ก.ท.เทศบาล ... -
เรียนรู้เล่ห์ ทันเสน่ห์คน
(อีซีส์พริ้น เอ็กเพรส, 2018)