Browsing by Subject "การเลือกตั้ง"
Now showing items 1-18 of 18
-
การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360ํ, 2019-02-23)
ด้วยความหลากหลายของพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งทำให้มีนโยบายจำนวนมากถูกนำเสนอต่อประชาชน จึงควรจัดระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกตั้งอย่างสร้างสรรค์ ประสบการณ์กับผลประโยชน์เชิงรูปธรรมจากนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยในอดีตตั้งแต่ปี 2544 ทำให้ผู้เลือกตั้งจำนวนมากได้รับประสบการณ์ในการรับผลประโยชน์ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นค่านิยมให้อีกหลายพรรคปฏิบัติสืบต่อกันจนสามารถชนะการเลือกตั้งได้ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันยังมีผู้เลือกตั้งหน้าใหม่พวกเขาไม่มีความผูกพันกับพรรคการเมืองใดเป็นพิเศษและกำลังมองหาพรรคการเม ... -
การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968);
วัตถุประสงค์ประการแรกของการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการบริหารงานเลือกตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ อย่างที่จะช่วยให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นหรือน้อยลง และเพื่อวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง จากผลการศึกษาปรากฏว่าสิ่งที่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง คือ กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ของทางราชการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของผู้บริหารงาน เพื่อเลือกทางปฏิบติให้เป็นไปตามบทบัญญัติเหล่านั้น ผู้เขียนได้สรุปข้อเสนอแนะในการพิจารณาแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ... -
การประเมินผลการรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตยของโครงการ ทมก : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994);
เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive Research) ที่ศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการวิจัยเชิงปริมาณจากการวิจัยปฏิบัติการกลุ่มตัวอย่างเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครราชสีมา ช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งครั้งที่ 2 วันที่ 13 กันยายน 2535 มาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ -
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014);
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จานวน 400 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ค่าที (t - test) การวิเคราะห ... -
การเลือกตั้งกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมและผู้เล่นทางการเมือง(6)
(โรงพิมพ์ตะวันออก, 2018-08-25)
ความเก่าแก่และความเป็นสถาบันของ "พรรคประชาธิปัตย์" เป็นได้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนในตัวเอง จุดแข็งคือความมีเสถียรภาพ การเป็นที่รู้จัก และการมีฐานเสียงที่มั่นคงในระดับหนึ่ง ขณะที่จุดอ่อนคือ การมีกรอบคิดที่แข็งตัว ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต และมีความเชื่องช้าในการรับรู้และปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม -
ทะลุคนทะลวงข่าว : สีสันการเลือกตั้งหลังปฏิวัติ
(ข่าวสด, 2019-02-24)
โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ผู้สมัครหน้าใหม่รุ่นใหม่ไฟแรง กับความคิด และทัศนคติที่เปลี่ยนไป -
นักวิชาการห่วงไม่มีเลือกตั้งปลายปี แนะ'ประยุทธ์'อยู่นิ่งๆ - อย่าทำตัวเป็นเป้าโจมตี
(โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2018-01-22)
เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) มีการสัมมนาสาธารณะ เรื่อง เหลียวหน้าแลหลังสถานการณ์การเมืองไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. นางรสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว. นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) นายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์(นิด้า) -
แบบจำลองวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่เพื่อพยากรณ์ผลการเลือกตั้งของไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต แบบบัญชีรายชื่อ และพฤติกรรมการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ประชากร เศรษฐกิจและสังคม ภูมิศาสตร์ และพฤติกรรมการเลือกตั้งในอดีต เพื่อพัฒนาตัวแบบสำหรับการทำนายผลการเลือกตั้ง โดยเปรียบเทียบตัวแบบ 3 วิธีคือ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) วิธี Spatial lag model และ วิธี Spatial error model และพิจารณา ค่า R2 สูงสุด ค่า AIC และ BIC ต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดคือ Spatial error model ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลการเลือกตั้งสูงคือตัว ... -
รื้อระบบพรรคสกัดนายทุน
(โพสต์ พับลิชชิง, 2014-10-27)
เริ่มนับหนึ่งปรับโฉมหน้าประเทศไทย หลังจากที่มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้ามาทำหน้าที่ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีนิด้า กล่าวว่า สิ่งที่อยากทำภายหลังที่ได้รับการรับเลือกเข้ามา คือ ปฏิรูปด้านการเมือง ทำให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนไม่ใช่ของนายทุน ทำให้การเลือกตั้งไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องช่วยกันคิด -
ฤามือถือจะกำหนดผู้นำสหรัฐ
(โรงพิมพ์ประชาช่าง, 2015-06-17)
นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐฯ ได้พูดอยู่เสมอว่าเสียงโหวตของคนรุ่นใหม่ที่เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ช่วยให้เขาชนะการเลือกตั้ง โดยในครั้งนั้นโอบามาได้ใช้การหาเสียงโดยผ่านผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมากมาย เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และผ่านทางข้อความมือถือ ซึ่งส่งผลให้นายโอบามาได้เป็นประธานธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐฯ และในปี 2016 ที่จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ การหาเสียงออนไลน์ก็ต้องถูกหยิบยกขึ้นมาใช้อีกอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเห็นข้อมูลการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผ่านสมาร์ทโฟนของคนอเมริกันแล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า หากพรรคไหนไม่สนใจสื่อ ... -
วงถก คปท.แนะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง รณรงค์ขึ้นป้าย'Respect My Tag'
(หนังสือพิมพ์แนวหน้า, 2014-05-02)
ให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ในเรื่องการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง -
วงวิชาการชี้ประชามติไม่ตอบโจทย์ หาก'หัวคะแนน'ยังคงอยู่
(โรงพิมพ์ตะวันออก, 2015-06-11)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีการจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง การเลือกตั้งคุณภาพโดยพลเมืองคุณภาพ โดย กกต.จะกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ในอีก 5 ปีนับจากนี้ โดยมีนัยความหมาย หมายถึงการที่พลเมืองมีจิตสำนึกในการที่จะเลือกนักการเมือง พรรคการเมืองที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้เลือกจากการซื้อสิทธิ ขายเสียง -
เศรษฐกิจกับการเลือกตั้ง
(สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2019-02-18)
ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ประเด็นทางเศรษฐกิจมักจะถูกหยิกยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขเชื่อมโยงกับการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเสมอ เป็นการแสดงให้เห็นว่าปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาสำคัญของคนในประเทศหนึ่งๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด ก็มักจะมีปัญหาทางเศรษฐกิจเสมอ -
ส.ส.ไม่สังกัดพรรค! สัดส่วน 200-เขต 250 คน'สหรัฐ'จุ้นบี้ไทยเลือกตั้ง
(สารสู่อนาคต, 2014-12-25)
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลการประชุมว่า กมธ.ยกร่างฯ ได้พิจารณาเรื่องระบบการเลือกตั้งและผู้นำการเมืองที่ดี โดยเชิญนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาให้ข้อคิดเห็นเพื่อประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญในเรือ่งข้อดีข้อเสีย และความเหมาะสมที่ควรใช้กับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน -
'สมบัติ'ดันเลือกตรงนายกฯ บัญชีจว.เลือกส.ส.-ลดอิทธิพลคนโกง
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2015-10-28)
การจัดสรรอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แม้ กรธ.จะตั้งต้นด้วยการพิจารณาข้อมูลจากทุกมุมโลก แต่เหมือนกับยังพุ่งลูกศรไม่ตรงเป้าหมายเพื่อคลี่คลายปัญหาการโกง-ทุจริตเลือกตั้งเสียทีเดียว มีความคิดเห็นจากอดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาการเมืองไทย -
'สมบัติ'เล็งเสนอ คสช. ให้ปชช.เลือกนายกฯ โดยตรง
(กรุงเทพธุรกิจ, 2014-11-13)
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นิด้า หนึ่งในคณะทำงานที่จัดทำข้อเสนอการปฏิรูปประเทศในส่วนด้านการเมือง ได้ตั้งข้อเสนอที่น่าสนใจ คือ ให้ประชาชนเป็นคนเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง รวมทั้งการให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคอย่างแท้จริง -
'สมบัติ'สะท้อน 3 ปัญหา เลือกตั้งแบ่งสรรปันส่วนผสม
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2015-11-04)
สูตรเลือกตั้งระบบใหม่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่เรียกว่า "ระบบแบ่งสรรปันส่วนผสม" ซึ่งนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีและนักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า ระบบแบ่งสรรปันส่วนผสมนี้ อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติได้ -
ออกแบบปฏิรูปการเมืองเลือกนายกฯ โดยตรง
(โพสต์ พับลิชชิง, 2014-11-06)
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้เสนอแนวคิดในการเลือกตั้ง ส.ส.และการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง