Browsing by Subject "การเลือกตั้ง -- ไทย -- นครราชสีมา"
Now showing items 1-6 of 6
-
การสนองตอบของประชาชนต่อนโยบายปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับการสนองตอบของประชาชนต่อนโยบายปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและระดับการสนองตอบของประชาชนในเมืองและชนบท ขณะปราศรัยในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง. -
การสำรวจฐานคะแนนนิยมเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองตามแนวคิดสามเขตยุทธศาสตร์ของแผนการรณรงค์เลือกตั้ง : กรณีวิจัยปฏิบัติการ ณ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา เมื่อครั้งเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาฐานคะแนนนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้งและนำผลไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 13 กันยายน 2535 โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม 2 ช่วงคือ ช่วงต้นฤดูการรณรงค์หาเสียงวันที่ 22-23 สิงหาคม 2535 จำนวน 1,099 ตัวอย่าง และช่วงปลายฤดูการรณรงค์หาเสียงวันที่ 4 กันยายน 2535 จำนวน 720 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยใช้สถิติร้อยละ -
ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ทมก ไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการ เขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำนโยบายป้องปรามทุจริตเลือกตั้งของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่อยู่ในสถานการณ์ของการรณรงค์เลือกตั้ง โดยปฏิบัติการตามรูปแบบ (Model) ใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง เหมาะสมต่อสถานการณ์การเลือกตั้งของไทยมากที่สุด -
ประสิทธิผลของโครงการพิธีปาฐกถาธรรมเพื่อป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียงภายใต้แนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการที่มุ่งนำวิชาการไปรับใช้การรณรงค์เลือกตั้งอย่างมีระบบ และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการป้องปรามการซื้อสิทธิขายเสียง โดยการรณรงค์กับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนเป็นสื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนบ้าน มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 13 กันยายน 2535 และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการสามัคคีเด็กนักเรียนชนบทในการสนับสนุนเผยแผ่ธรรม -
ผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬต่อพฤติกรรมการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครราชสีมา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1993);
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 ว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่ โดยวิธีการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน 2535 ในเขตเลือกตั้ง ค.จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1095 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์หาลักษณะทั่วไปของตัวแปรตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยใช้สถิติร้อยละ หาความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ (Chi-Square) และหาค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรโดยใช้คอนติเจนซี (Contigency Coefficient) และทดสอบค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกันของตัวแปรที่สำคัญบางตัวด้วย ที-เทส (T-Test)