Browsing by Subject "วรัชญ์ ครุจิต"
Now showing items 1-20 of 25
-
กสทช.ไฟเขียว คำไทยเดิมออกอากาศ แต่อย่าให้บ่อยครั้ง นักวิชาการทักท้วง หวั่นเด็กเลียนแบบ
(บริษัท หนังสือพิมพ์แนวหน้า, 2018-06-03)
นักวิชาการร้องเรียนละครซิทคอมเรต"ท" ไม่สุภาพโผล่ ทั้งสรรพนามสมัยพ่อขุนรามและสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่หน่วยงานกำกับดูแลตอบกลับมาว่า ไม่ผิดอะไรหากใช้เป็นบางครั้ง ซึ่งนักวิชาการยืนยันว่าไม่ใช่การใช้คำไม่สุภาพเพียงบางครั้งแน่นอน เพราะเมื่อย้อนกลับไปดู สามารถนับคำหยาบทั้งสรรพนาม ทั้งคำสบถรวมกันได้ถึง 92 ครั้งในเวลาเพียง 5 นาที -
คุ้มครองหรือรัฐประหารสื่อ? เสียงสะท้อนนักวิชาการ-คนข่าว
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2017-02-05)
ความพยายามของภาครัฐต่อการควบคุมบทบาทสื่อมวลชนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดบางอย่าง ด้วยการออกกฎหมายพิเศษครอบงำไว้ แต่กลับแสร้างใช้ชื่อตรงข้ามว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนนั้น ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่คนทำอาชีพสื่อพยายามตะโกนดังๆ บอกคณะผู้มีอำนาจว่า สิ่งนี้ไม่เพียงเป็นการลิดรอนสื่อ แต่เป็นการครอบงำคนทั้งประเทศอย่างที่ไม่ควรจะทำ -
จี้ปปง.ตรวจบัญชีเงินบ.ไร้ส้ม 'สรยุทธ'โพสต์ชม'กุ๊ก-ไบรท์'เล่าข่าว
(โรงพิมพ์ประชาช่าง, 2016-03-05)
ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ นิด้า ได้ให้ความเห็นและถอดรหัสคำอำลาของนายสรยุทธ์ ที่ได้ขอยุติการทำหน้าที่พิธีกรรายการเรื่องเล่าเช้านี้ผ่านทางอินสตาแกรมส่วนตัว ซึ่งได้ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 13 ปี 4 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ในข้อหาไม่ชำระเงินค่าโฆษณาเกินเวลา 138 ล้านบาทให้กับบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) -
ฉีกประเด็น'แถลงข่าว'งดโชว์ผู้ต้องหา ปกป้องสิทธิใคร ?...ฟังเสียง 'เหยื่อ' ด้วย
(สี่พระยาการพิมพ์, 2016-09-16)
ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ดีของสื่อมวลชนไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เริ่มเอาจริงเอาจังกับเรื่องการนำผู้ต้องหาในคดีมาแถลงต่อสาธารณชน ตามข้อห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ที่เกรงจะกระทบสิทธิมนุษยชนไปมากกว่านี้ -
นวัตกรรมใหม่สาดโคลนการเมือง?
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2018-12-05)
คลิปที่นักวิชาการมาโพสต์ให้ดูเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า "เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ศัตรูของเราสามารถทำให้เราพูดได้ตลอตเวลา" นั่นแปลว่าในทางการเมือง ถ้าเราถูกตัดต่อคำพูดแย่ๆลงไป คนที่ได้ชมคลิปก็มีแนวโน้มสูงที่จะเชื่อว่าเราพูดจริงๆ -
นักวิชาการแจง'ศบค.'แถลงข่าวประจำวัน ไม่มีงบฯ เพิ่ม ทุกคนอาสาช่วยชาติ
(เว็บไซต์สยามรัฐ, 2020-05-02)
นายวรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ท่านที่เสนอว่าให้ ศบค.ยกเลิกการแถลงข่าว เพื่อประหยัดงบประมาณ จริงๆ แล้วการแถลงข่าวประจำวันของ ศบค.นั้นไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่มเติมใดๆ เลย บุคลากรแทบทุกคน เป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว ซึ่งมารวมตัวกันเฉพาะกิจในครั้งนี้ ส่วนบางคนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ เช่น ตัวผมเองซึ่งทำงานในสถาบันของรัฐ ก็มีหนังสือต้นสังกัดเพื่อขอตัวมาช่วยราชการ ไม่เคยมีการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมใดๆ ทั้งสิ้น -
นิด้าผนึกม.เนชั่นต่อต้านลวนลามทางเพศ บนโซเชียล
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2017-06-06)
"ลวนลามทางเพศ ภัยเงียบที่คนเพิกเฉย" โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Facebook ภายใต้โครงการ Peer to peer : Face Global Digital Challenge ต้องการให้กำลังใจนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ในประเทศของตัวเอง จัดเพื่อร่วมพูดคุยถกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ -
บทเรียน'ถ้ำหลวง'สังคมเปลี่ยน'สื่อ'ต้องปรับ
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2018-07-12)
พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เขาต้องการรู้ข้อมูล ข่าวสารที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ปัจจุบันคนดูมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้สื่อหลักต้องปรับตัว และทบทวนการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้การนำเสนอข้อเท็จจริงมีรายละเอียดที่มากกว่าสื่อออนไลน์ -
ประวิตรเตือน 60 นักวิชาการให้เคารพกฎหมาย ลั่นอย่าล้ำเส้น! ปฏิรูปเน้นปรับระบบพรรค ตั้งปลัดยธ.-ดีเอสไอไม่ลงตัว
(บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2014-09-23)
จากกรณีที่นักวิชาการ 60 คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ทำจดหมายเปิดผนึกไม่เห็นด้วยที่ตำรวจเชิญตัวกลุ่มนักวิชาการและนักศึกษาและให้ยุติการเสวนาทางวิชาการ พล.อ.ประวิต กล่าวว่า ทำอะไรให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่าล้ำเส้น ทุกอย่างดำเนินการไปตามกฎหมาย เพราะคสช.ต้องการให้เกิดความสงบสุขเกิดความปรองดองขึ้นในบ้านเมือง -
"โปเกมอน โก" ฮอต คนเล่นเกม เกมเล่นคน
(บริษัท วัชรพล, 2016-08-17)
ทุกวันนี้เนื่องจาก"สื่อดิจิตอล" มีอิทธิพลย่างมากและเข้าถึงทุกคนในสังคม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใช้จะต้องมีความ"รู้เท่าทันสื่ดิจิตอล" สื่อดิจิตอลไม่ได้มีเพียงแค่การใช้เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบอย่างอื่นที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัย การถูกล่อลวง ผลต่อสุขภาพกายและใจ ทั้งหมดนี้ดูจะเป็นปัญหามากกว่าข้อดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐรวมทั้งองค์กรเอกชนที่จะต้องทำให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ได้มีความรู้เท่าทันสื่อดิจิตอล -
โปเกมอน ป่วนเมือง เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง
(บริษัท วัชรพล, 2016-08-16)
ปรากฏการณ์ "โปเกมอน โก" นับเป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของการ"เปลี่ยนผ่าน" ของยุคสมัยของระดับอิทธิพลที่เทคโนโลยีมีผลกระทบต่อสังคม -
ไม่มีอะไรมาก'ภาษาอังกฤษเปิดโลกกว้าง'ฝึกเองได้ ไม่ยากเลย
(ไทยรัฐ, 2014-10-31)
ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ภาษาอังกฤษของเด็กไทยในปัจจุบัน และยังแนะเทคนิคในการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ซึ่งหากเรามีความอดทน อดกลั้น และมีเป้าหมายที่ชัดเจน เราก็จะทำสำเร็จได้ไม่ยาก -
รู้ทัน'เกมการเมือง'ยุค 5G กับ 'ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต' ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือ?
(บริษัท สยามรัฐ, 2019-04-16)
เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ไปแล้ว เหตุนี้ทำให้เราจำเป็นต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด และสอดรับการพัฒนานี้ รวมถึง "เรื่องการเมือง"ก็เช่นกัน -
วรัชญ์ ครุจิต วิเคราะห์'การเมือง'ปรับโหมดรบผ่านโซเชียล
(บริษัท สยามรัฐ, 2018-11-05)
เมื่อการเมืองในยุค 4.0 ถือเป็นมิติใหม่แห่งการเปลี่ยนแปลง จากโลกอะนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัล แน่นอนว่ารูปแบบการใช้"สื่อ"ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงภายใต้การปรับตัวเพื่อ"ปรับทัพ"ของผู้เล่นทุกคน -
'วรัชญ์ ครุจิต' วิเคราะห์'การเมือง'กับ'โซเชียลมีเดีย' อาวุธไม่ลับ! รับปี 2563
(บริษัท สยามรัฐ, 2020-01-06)
สัมภาษณ์พิเศษ"ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต" รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถึงแนวทางการใช้สื่อหลัก และสื่อออนไลน์ ตลอดช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา รวมถึงทิศทางการใช้สื่อในทางการเมืองในช่วงปี 2563 -
'วารสารศาสตร์'ถึงจุดเปลี่ยนหรือจุดจบ? สถาบันผลิต'นักข่าวยุคนิวส์มีเดีย'เชี่ยวรอบด้าน
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2017-04-17)
"นิเทศศาสตร์'หนึ่งคณะยอดนิยมที่เด็กสนใจเข้าเรียนจำนวนมาก แต่ใครจะคาดคิดว่าบางสาขาวิชากำลังเข้าสู่ยุคมืด "สาขาวารสารศาสตร์' สาขาที่ขึ้นชื่อว่าผลิตบัณฑิตเกี่ยวกับสื่อหนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ เช่น นักข่าว นับวันบัณฑิตสาขานี้จะน้อยลงเรื่อยๆ "สื่อหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ทยอยปิดตัวลงรายวัน ทำให้การผลิตบัณฑิตด้านนิเทศศาสตร์หลายมหาวิทยาลัยต้องปรับให้มีทักษะใหม่ๆ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี เพราะตอนนี้การใช้ชีวิตของผู้คนล้วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาในการทำงาน -
วิกฤติศรัทธา 'กสทช.' สะเทือนสื่อ-ทีวีดิจิตอล
(ฐานการพิมพ์, 2015-04-12)
กลายเป็นปัญหายืดเยื้อและลุกลามขยายวงไปกับกรณีพิพาทระหว่าง SLC และ NMG ที่ผ่านมา โดยคู่กรณีไม่มีใครยอมถอย จึงเดินหน้าค้าความ ฝั่งผู้ถือหุ้นใหญ่ SLC ส่งเรื่องฟ้องศาล ว่าผู้บริหารค่ายเนชั่นหมิ่นประมาท ขณะที่ผู้บริหาร NMG ก็ฟ้องศาล ว่ามติกสท.ที่สรุปออกมาดังกล่าวไม่ถูกต้อง -
'สปช.-นักวิชาการ'แนะสื่อ 'พาดหัว'ตัดอคติ-ยึดข้อเท็จจริง
(กรุงเทพธุรกิจ, 2014-11-06)
สปช.ด้านสื่อสารมวลชนและนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ แนะนำสื่อว่า ในการเขียนข่าวควรเขียนตามเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และควรระวังการใช้ถ้อยคำหรือการพาดหัวข่าวอย่าให้ผู้อ่านมีความรู้สึกที่ไม่ดี หรือทำให้เกิดอคติ -
สร้างโอกาสหลังวิกฤติโควิด-19 เปลี่ยนภาพไทยจากเมือง"Sex tour"สู่"Medical tour"
(ผู้จัดการออนไลน์, 2020-05-08)
ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า โควิดสร้างชาติ การแพทย์แผนไทยสุดยอด ชูไอเดีย "สร้างเศรษฐกิจด้วยการแพทย์" หลังโควิด-19 ผ่านพ้น ต้องเปลี่ยนภาพไทยจากประเทศแห่ง "Sex tour" สู่ "Medical tour" เพื่อสร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศ -
สื่อในวิกฤต
(สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2018-06-28)
ยุคที่สื่อมีกระบวนการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร จรรยาบรรณในการนำเสนอก่อนส่งไปถึงผู้เสพข่าว เริ่มที่จะถูกทำลายลง เพราะการแข่งขันทางธุรกิจที่เชี่ยวกรากขึ้นทุกวัน บ่อยครั้งที่สื่อกระแสหลักเอนเอียงตามข่าวปล่อยข่าวลือ จนตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพ