Now showing items 1-5 of 5

  • Thumbnail

    ความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทย 

    สมชาย ตระการกีรติ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1987)

    จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แรงงานในอุตสาหกรรมไทยมีความแปลกแยกดำรงอยู่ในระดับสูง เกือบทุกลักษณะของความแปลกแยก อันได้แก่ สภาวะเหินห่างจากตนเอง สภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง เว้นแต่สภาวะปรปักษ์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ในระดับไม่สูงนัก ลักษณะของความแปลกแยกแต่ละลักษณะมีประเด็นที่ค้นพบแตกต่างกันไปบ้างดังนี้
  • Thumbnail

    ปัญหาการบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมในประเทศไทย 

    ศิริ ผาสุก; ไพเราะ ไพรอนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)

    เป็นการศึกษาการบริหารงานอุตสาหกรรมขนาดย่อมของรัฐ เฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งในรูปที่เป็นตัวบทกฎหมายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ศึกษาการบริหารงานตามแผนทั้งในรูปคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และศึกษาการบริหารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่โดยตรงต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเท่านั้น ส่วนปัญหาการบริหารอื่น ๆ ผู้เขียนมิได้นำมากล่าวถึง.
  • Thumbnail

    สวัสดิการอุตสาหกรรม : ปัจจัยสำคัญที่กำหนดขอบข่ายสวัสดิการอุตสาหกรรมไทย 

    ซ่อนกลิ่น วอกลาง; ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
  • Thumbnail

    อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในบริบทของนิตยสาร Creative Thailand 

    โกษม โกยทอง; วิเชียร ลัทธิพงศ์พันธ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ทราบถึงนัยยะการตีความของคา ว่า “อุตสาหกรรม สร้างสรรค์ (Creative Industries)” ในบริบทของนิตยสาร Creative Thailand รวมถึงแนวทางการ แพร่กระจายความรู้สู่ผู้อ่าน (Distribution) (2) เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหา (สาร) ประเภทใดที่ถูกมุ่งเน้น หรือ ละเลย จากผู้ผลิตนิตยสาร Creative Thailand (ผู้ส่งสาร) เมื่อกล่าวถึงขอบเขตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในบริบทของประเทศไทยและในระดับสากล รวมถึงสาเหตุ อิทธิพลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสารที่ ถูกนา เสนอ (3) เพื่อให้ทราบถึงวิวัฒนาการในการนา เสนอเนื้อหา “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์ และแฟตตี้แอลกอฮอล์ 

    อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการคำเนินการโดยประยุกต์ใช้หลัก CIPP - I Model ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการสังเกตการณ์ และการศึกษาเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลตามเทคนิคสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร อีกทั้งการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรม ...