ชื่อเรื่อง:
| การจำหน่ายยาตำราหลวงของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
ผู้แต่ง:
| ดำรง แก้วไสย |
ผู้ควบคุมงานวิจัย:
| ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา |
ชื่อปริญญา:
| พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา:
| ปริญญาโท |
สาขาวิชา:
| รัฐประศาสนศาสตร์ |
คณะ/หน่วยงาน:
| คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่:
| 2509 |
หน่วยงานที่เผยแพร่:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
|
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.- 1. เพื่อจะทำการศึกษาและพิสูจน์ว่า การตั้งตำรับยาตำราหลวงขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือราษฎรในชนบทนั้น เป็นการถูกต้องและเป็นมูลเหตุสำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบำบัดรักษาโรคทางยา จากยาไทยแผนโบราณเป็นยาแบบฝรั่งมากขึ้น และเป็นรากฐานสำคัญของโครงการจำหน่ายยาตำราหลวงของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน 2. เพื่อแสดงถึงเหตุผลตลอดจนประโยชน์และความจำเป็นในการที่กระทรวงมหาดไทยต้องเป็นเจ้าของเรื่องในโครงการนี้ ซึ่งโดยปกติควรจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข. 3. เป็นการศึกษาให้ทราบถึงองค์การที่ทำหน้าที่และวิธีการบริหารงานของโครงการจำหน่ายยาตำราหลวง รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและหาวิธีแก้ไข. 4. เพื่อพิสูจน์ความมุ่งหมายของโครงการจำหน่วยยาตำราหลวงว่าได้ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนนายแพทย์และยาที่มีคุณภาพดีของราษฎรในชนบทได้อย่างไรบ้าง ทั้งนี้จะเป็นการแสดงเหตุผลว่ากระทรวงมหาดไทยได้วางระบบการช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของราษฎรและเป็นระบบที่ดีเหมาะแก่กาละเทศะ หลังจากที่ได้ทำการศึกษาโดยละเอียดตามหัวข้อดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้สรุปข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้แก่.- 1. ปรับปรุงหน่วยงานในการดำเนินการ โดยให้ระบุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานให้ชัดเจน แบ่งส่วนงานให้ถูกต้องและจัดตัวบุคคลให้เหมาะสม 2. วางระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายและการเก็บเงินทุนหมุนเวียน ปรับปรุงระเบียบเดิมให้รัดกุมยิ่งขึ้น 3. วางระเบียบว่าด้วยการดำเนินการจำหน่ายยาตำราหลวง เกี่ยวแก่วิธีจำหน่าย วิธีจัดจำหน่ายยาตำราหลวงให้แก่ลูกค้า และวิธีปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการตั้งตัวแทนจำหน่ายยาตำราหลวงประจำเขต เป็นต้น 4. ปรับปรุงตัวเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกลางจำหน่ายยาตำราหลวง. 5. การดำเนินการจำหน่ายยาตำราหลวงต้องวางแผนงานล่วงหน้า เช่น วางแผนเกี่ยวกับการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ. 6. ปรับปรุงการประสานงานระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข. 7. ปรับปรุงยาตำราหลวง. 8. จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินการจำหน่ายยาตำราหลวง โดยให้กระทรวงมหาดไทยทำแบบสอบถามไปยังนายอำเภอต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้นายอำเภอรายงานผลการจำหน่ายตามแบบกรอกรายการทุก ๆ 6 เดือน หรือภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และให้กระทรวงสาธารณสุขทำแบบสอบถามไปยังนายแพทย์อนามัยจังหวัดทั่วประเทศ และให้นายแพทย์อนามัยจังหวัดรายงานผลการจำหน่ายเช่นเดียวกัน.
|
รายละเอียดเพิ่มเติม:
|
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.
|
หัวเรื่องมาตรฐาน:
| ยาตำราหลวง |
ประเภททรัพยากร:
| Thesis |
ความยาว:
| 227 หน้า. |
ชนิดของสื่อ:
| Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
| application/pdf |
ภาษา:
| tha |
สิทธิในการใช้งาน:
| ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
สิทธิในการเข้าถึง:
| สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น |
ผู้ครอบครองสิทธิ์:
| สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI:
| http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1003 |