• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การทะเบียนราษฎรในหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

by สมนึก ชูวิเชียร

Title:

การทะเบียนราษฎรในหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

Author(s):

สมนึก ชูวิเชียร

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของการลงทะเบียนราษฎรนั้นเพื่อประโยชน์ในการเกณฑ์ทหารป้องกันประเทศ ในการเก็บภาษี ในการเกณฑ์พลเมืองเพื่อทำกิจการบางอย่าง เพื่อทราบสถิติจำนวนราษฎร เพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้ง และเพื่อประโยชน์ในการควบคุมพลเมืองเพื่อความปลอดภัยของประเทศ ด้วยเหตุที่การทะเบียนราษฎรมีความสำคัญต่อระบบการปกครอง ทางราชการจึงได้ปรับปรุงแก้ไขการจดทะเบียนราษฎรตลอดมา ส่วนใหญ่แก้ไขในรูปของการจัดระบบงาน
จากการศึกษาผู้เขียนได้พบว่า เจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนราษฎรจำนวนน้อยไม่พอปฏิบัติงาน งานบางอย่างทำซ้ำซ้อนเสียเวลามาก สำนักทะเบียนอยู่ห่างไกลกันทำให้ไม่สะดวกแก่การประสานงานในระหว่างสำนักทะเบียน และขาดการประสานงานกับหน่วยราชการภายนอก ในการแต่งตั้งถอดถอนและการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานก็ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติไว้จึงปรากฏว่านายทะเบียนตำบลส่วนมากขาดความรู้ บางคนไม่สามารถ พูด อ่าน และเขียนหนังสือไทยได้ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการทะเบียนเป็นผู้ที่มีงานประจำอยู่แล้วไม่อาจอุทิศเวลาทั้งหมดให้แก่งานทะเบียนราษฎรได้ นอกจากนี้นายทะเบียนยังได้รับค่าตอบแทนน้อย ต้องประกอบอาชีพอย่างอื่นด้วย เมื่อราษฎรไปติดต่อมักไม่ค่อยพบ ทำให้เบื่อหน่ายและเกิดความผิดพลาด นอกจากนี้ยังมีปัญหาในทางการเงินและการบริหารอื่น ๆ อีก ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขคือ.-
1. ควรเลิกทำทะเบียนคนเสียจะทำให้ลดปริมาณงาน แต่ให้เก็บรักษาสูติบัตรเป็นหลักฐานแสดงสิทธิตามกฎหมายไว้ที่สำนักงานกลางทะเบียนราษฎร และให้ใช้เป็นหลักฐานตรวจสอบแทนบัตรทะเบียนคน
2. จัดให้มีการฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรเป็นรุ่น ๆ.
3. ควรรวบรวมทะเบียนการจัดทำทะเบียนราษฎรซึ่งได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขมาแล้วไว้ในที่เดียวกัน ตลอดจนจัดพิมพ์เป็นคู่มือให้สามารถเข้าใจง่าย.
4. จัดหาตู้เหล็กเก็บทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่สำนักทะเบียนต่าง ๆ ให้เพียงพอ
5. ควรตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาปริมาณทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนแต่ละแห่งเพื่อกำหนดจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับงาน
6. ควรกำหนดระยะเวลาการแจ้งเกิดและแจ้งย้ายที่อยู่ให้น้อยลง คือลดลงให้เหลือภายใน 3 วัน แทนที่จะเป็น 15 วัน
7. ควรเก็บค่าธรรมเนียมการจัดและรับรองสำเนาทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลนครกรุงเทพ เช่นเดียวกับสำนักทะเบียนแห่งอื่น เพื่อนำรายได้จากการนี้ไปใช้จ่ายในการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎร และทำให้บุคคลเสมอกันในทางกฎหมาย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

ทะเบียนราษฎร์

Resource type:

Thesis

Extent:

216 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1011
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b6522.pdf ( 4,685.69 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b6522ab.pdf ( 84.64 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×