• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารการศึกษาภาคบังคับ

by สกุล อินทุโสภณ

Title:

การบริหารการศึกษาภาคบังคับ

Other title(s):

Compulsory education administration

Author(s):

สกุล อินทุโสภณ

Advisor:

บุญเย็น วอทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เพื่อจะได้ทราบถึงความสอดคล้องระหว่างการพัฒนาการศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจว่ามีอยู่เพียงใด เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับอันจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงให้มีคุณภาพ เพื่อทราบปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษา ตลอดจนทราบความสามารถของประชากรส่วนใหญ่ พร้อมทั้งทราบแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์โดยตรงในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
จากผลการศึกษาปรากฏว่าการศึกษาภาคบังคับมีความสำคัญในฐานะเป็นพื้นฐานสร้างประชากรให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติซึ่งจะเว้นเสียมิได้ และประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาระดับนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคุณภาพของนักศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาประเทศ การศึกษาภาคบังคับจัดทำมานานแล้วก็จริง แต่ก็ยังมีปัญหาที่สำคัญ ๆ ที่ยังมิได้แก้ไขให้ลุล่วงไป เช่น ปัญหาเรื่องการบุคคล การเงิน ครอบครัวของนักเรียน การวางแผนการศึกษา และการจัดองค์การเพื่อดำเนินงาน จากการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่าสิ่งสำคัญที่รัฐจะต้องแก้ไขรีบด่วนและวางแผนระยะยาวไว้ให้เป็นที่แน่นอน คือ.-
1. เพิ่มจำนวนครูที่มีวุฒิให้ได้สัดส่วนกับความต้องการ ในกรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่าหากกระทรวงศึกษาฯ ไม่สามารถจัดงบประมาณให้เพียงพอกับขอบเขตของงาน ควรวางแผนงานแบบจัดการขยายการศึกษาเป็นขั้น ๆ ไป โดยเริ่มจากจุดที่เห็นว่าจะส่งเสริมครูก่อน หรืออาจเริ่มที่จุดที่ประชาชนต้องการเสียก่อน หรืออาจเริ่มที่จุดที่สามารถส่งนักเรียนที่เรียนจบไปเข้าต่อโรงเรียนชั้นสูงได้ในที่ใกล้เคียง ในขั้นต่อ ๆ ไป จึงขยายไปตามแผน
2. ควรใช้ครูให้เป็นประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งการจัดครูให้ทำการสอนในถิ่นกันดารต่าง ๆ ให้พอกับความต้องการ โดยการจัดสวัสดิการเพิ่มให้แก่ครูในท้องถิ่นกันดารสูงกว่าท้องถิ่นสะดวกสบาย เช่น จัดให้มีบ้านพักอาศัยพอเพียง มีเงินเพิ่มพิเศษและมีสิทธิพิเศษอื่น ๆ.
3. เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเร่งด่วนควรให้ศึกษาธิการอำเภอสำรวจความต้องการครูในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนในท้องที่ของตนต่อ ๆ มาจนถึงกระทรวงศึกษาฯ สำหรับระดับประถมศึกษาตอนต้น ผู้มีวุฒิ ม.ศ. 3 พอจะจัดให้สอนได้ ส่วนระดับประถมตอนปลายให้ผู้มีวุฒิ ม.ศ. 5 สอนได้ โดยให้ผู้มีวุฒิทั้ง 2 ประเภทนี้เข้ารับการอบรมเฉพาะวิชาครู และจิตวิทยาในการสอน 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อศึกษาธิการอำเภอสำรวจความต้องการครูแล้ว ให้คัดผู้มีความรู้ ม.ศ. 3 และ ม.ศ. 5 ตามที่ต้องการมาอบรมตามที่ได้กล่าวแล้ว.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

การศึกษาภาคบังคับ -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

180 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1015
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11229ab.pdf ( 762.41 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11229.pdf ( 4,979.90 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×