ชื่อเรื่อง: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง โอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้นทาง น่าน-หลวงพระบาง |
ผู้แต่ง: | สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา |
วันที่เผยแพร่: | 2012-09-28 |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
โครงการศึกษาเรื่องโอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้นน่าน-หลวงพระบางพิจารณาถึง
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับจังหวัดน่าน ภายหลังการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงจังหวัดน่านและเมืองหลวงพระบาง
(ผ่านเส้นทางจอมเพชร) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างประโยชน์จากการพัฒนาเส้นทางน่าน -
หลวงพระบาง และแนวทางในการรับมือกับผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น
จากการสุ่มเก็บตัวอย่างแบบสอบถามจากประชาชนและพาณิชยกรรมในจังหวัดน่าน การ
สัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิประกอบกับหลัก
วิชาการในด้านที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเกิดเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง
เนื่องจากเห็นว่าจะทา ให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวของจังหวัดน่านดีขึ้น อย่างไรก็
ตาม ผลกระทบที่บางส่วนกังวลคือเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเข้ามาของคนต่างถิ่นที่จะเพิ่มมากขึ้น
การวิเคราะห์ผลกระทบโดยอาศัยกรอบแนวคิดทางทฤษฎีประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยพบว่าประสิทธิภาพของเส้นทางน่าน-หลวงพระบางนั้นสูงกว่าเส้นทาง
อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจเส้นรองในโครงการความร่วมมือวงกลมเศรษฐกิจล้านนา
ตะวันออก-ล้านช้าง แต่ประสิทธิภาพยังต่า กว่าโครงการระเบียบเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (เส้น R3A) ประกอบ
กับเส้นทางและโครงสร้างพื้นฐานในฝั่ง จังหวัดน่านไปยังเมืองหลวงพระบางยังคงมีข้อจากัด ทาให้การ
เดินทางและการขนส่งต้องใช้เวลานานและมีความยากลา บากมากขึ้น เกษตรแปรรูป และภาคบริการจะเป็นโอกาสของจังหวัดน่านในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะ
เกิดขึ้นจากเส้นทางนี้ อย่างไรก็ตาม การขาดการมีส่วนร่วมและแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง และการให้ภาคประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยเข้ามาส่วนร่วมใน
การกา หนดนโยบาย อาจเป็นอุปสรรคในการใช้เส้นทางน่าน-หลวงพระบางให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด
ผลประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดจากโครงการเส้นทางดังกล่าวจะมาจากภาคบริการ โดยเฉพาะการ
ท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริการนาเที่ยว ซึ่งมีความ
จา เป็นที่ภาครัฐจะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ที่เป็นไปได้ สา หรับผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมทางลบอาจมีเพียงเล็กน้อย และยังไม่ส่งผลในระยะสัน้
โดยผลกระทบจะชัดเจนขึ้นเมื่อเส้นทางมีการปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย แต่ปัญ หาสิ่งแวดล้อมอาจจะมีแนวโน้มระดับความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า
และปัญหาการกาจัดขยะชุมชน
และขยะอันตรายที่เกิดตามการขยายตัวของชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากการใช้เส้นทางน่าน-หลวงพระบางเป็นไปอย่างเต็มที่ และเพื่อ
เป็นการบรรเทาผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น คณะผวูิ้จัยได้เสนอยุทธศาสตร์ ทัง้ ยุทธศาสตร์ในระยะ
สัน้ ระยะกลางและระยะยาวรวม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาความเชื่อมโยงเพื่อความสะดวกในการ
เดินทางและการขนส่งสินค้า2) การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิต3) การ
พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและจังหวัด4) การ
เพมิ่ โอกาสในการใช้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและ 5) การบรรเทาผลกระทบเชิงลบทางด้านสังคมและ
วัฒนธรรม
|
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
เอกสารนี้เป็นรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของโครงการวิจัย เรื่อง โอกาสทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากเส้นทางน่าน-หลวงพระบาง
|
คำสำคัญ/ศัพท์อิสระ: | อาเซียน; ASEAN; ASEAN Economic Community; ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน |
ความยาว: | 304 หน้า |
ประเภททรัพยากร: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/102 |