การบริหารงานบุคคลของคุรุสภา : บทศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครู
Publisher
Issued Date
1967
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
112 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุทิน เอมะพัฒน์ (1967). การบริหารงานบุคคลของคุรุสภา : บทศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครู. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1031.
Title
การบริหารงานบุคคลของคุรุสภา : บทศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการครู
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ผู้เขียนวิทยานิพนธ์มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับข้าราชการครู โดยพิจารณาถึงการคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษข้าราชการครู และการออกจากข้าราชการครู โดยศึกษาดูว่าคุรุสภาปฏิบัติอย่างไร มีอุปสรรคที่ควรแก้ไขปรับปรุงอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุรุสภากับกระทรวงศึกษาธิการว่าใกล้ชิดเพียงใด ควรเพิ่มกิจกรรมอะไรบ้าง.
จากการศึกษาปรากฏว่า วัตถุประสงค์ของคุรุสภามีทั้งการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และรักษาไว้ซึ่งฐานะของผู้มีอาชีพครู แต่อำนาจในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูยังเป็นของ ก.พ. อยู่ คุรุสภาเป็นเพียงหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ก.พ. เท่านั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะได้มีการปรับปรุงคุรุสภาโดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสองประการ คือ.-
1. ให้คุรุสภามีฐานะเป็นสถาบันอาชีพครูอย่างเดียว ส่วนงานด้านบริหารงานบุคคลนั้นให้ ก.พ. เป็นผู้ทำ เพราะการที่หน่วยงานสองแห่งทำหน้าที่อย่างเดียวกันจะทำให้ล่าช้าและปัดความรับผิดชอบกัน และไม่ประหยัด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสมอภาคระหว่างข้าราชการพลเรือนด้วยกัน หรือ
2. ให้คงที่คุรุสภาอยู่อย่างเดิม มีอำนาจหน้าที่ในด้านการบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการครูอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่ต้องให้อำนาจคุรุสภาอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับ ก.ต. และ ก.อ. โดยเฉพาะอำนาจวินิจฉัยสั่งการ ในกรณีเช่นนี้ควรจะได้ปรับปรุงกิจการภายในของคุรุสภา โดยแก้ไขพระราชบัญญัติครูเสียใหม่ โดยกำหนดยกฐานะของคุรุสภาขึ้นเป็นองค์การบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการครู ตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภาควรเป็นตำแหน่งประจำ ส่วนคณะกรรมการโดยตำแหน่งควรจะได้ลดลงบ้าง ตำแหน่งที่ลดลงนี้ควรให้มีการเลือกจากสมาชิกคุรุสภาคนอื่น ๆ แทน ส่วนบริการบางอย่างของคุรุสภา เช่น ชุมนุมดนตรี การจัดสรรที่ดิน การอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นต้น ควรขยายออกไปยังส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ควรจะได้ริเริ่มให้มีการฝึกอบรมโดยเฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านการพิจารณาเงินเดือนข้าราชการ ในกรณีโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งมีครูใหญ่ ควรอบรมแนะนำให้ผู้บริหารโรงเรียนเข้าใจถึงหลักการบริหารราชการ การบริหารงานบุคคล และการจัดองค์การ.
จากการศึกษาปรากฏว่า วัตถุประสงค์ของคุรุสภามีทั้งการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และรักษาไว้ซึ่งฐานะของผู้มีอาชีพครู แต่อำนาจในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูยังเป็นของ ก.พ. อยู่ คุรุสภาเป็นเพียงหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ก.พ. เท่านั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะได้มีการปรับปรุงคุรุสภาโดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสองประการ คือ.-
1. ให้คุรุสภามีฐานะเป็นสถาบันอาชีพครูอย่างเดียว ส่วนงานด้านบริหารงานบุคคลนั้นให้ ก.พ. เป็นผู้ทำ เพราะการที่หน่วยงานสองแห่งทำหน้าที่อย่างเดียวกันจะทำให้ล่าช้าและปัดความรับผิดชอบกัน และไม่ประหยัด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสมอภาคระหว่างข้าราชการพลเรือนด้วยกัน หรือ
2. ให้คงที่คุรุสภาอยู่อย่างเดิม มีอำนาจหน้าที่ในด้านการบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการครูอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่ต้องให้อำนาจคุรุสภาอย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับ ก.ต. และ ก.อ. โดยเฉพาะอำนาจวินิจฉัยสั่งการ ในกรณีเช่นนี้ควรจะได้ปรับปรุงกิจการภายในของคุรุสภา โดยแก้ไขพระราชบัญญัติครูเสียใหม่ โดยกำหนดยกฐานะของคุรุสภาขึ้นเป็นองค์การบริหารงานบุคคลเฉพาะข้าราชการครู ตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภาควรเป็นตำแหน่งประจำ ส่วนคณะกรรมการโดยตำแหน่งควรจะได้ลดลงบ้าง ตำแหน่งที่ลดลงนี้ควรให้มีการเลือกจากสมาชิกคุรุสภาคนอื่น ๆ แทน ส่วนบริการบางอย่างของคุรุสภา เช่น ชุมนุมดนตรี การจัดสรรที่ดิน การอบรมเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นต้น ควรขยายออกไปยังส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ควรจะได้ริเริ่มให้มีการฝึกอบรมโดยเฉพาะสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านการพิจารณาเงินเดือนข้าราชการ ในกรณีโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งมีครูใหญ่ ควรอบรมแนะนำให้ผู้บริหารโรงเรียนเข้าใจถึงหลักการบริหารราชการ การบริหารงานบุคคล และการจัดองค์การ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.