การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510
Publisher
Issued Date
1968
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
247 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปฐม มณีโรจน์ (1968). การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1038.
Title
การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์ประการแรกของการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการบริหารงานเลือกตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ อย่างที่จะช่วยให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นหรือน้อยลง และเพื่อวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง จากผลการศึกษาปรากฏว่าสิ่งที่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง คือ กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ของทางราชการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของผู้บริหารงาน เพื่อเลือกทางปฏิบติให้เป็นไปตามบทบัญญัติเหล่านั้น ผู้เขียนได้สรุปข้อเสนอแนะในการพิจารณาแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ .-
1. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ บทบัญญัติเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนนไม่สมดุลย์กับปริมาณงาน ควรจะปรับปรุงบทบัญญัตินี้ให้มีลักษณะอ่อนตัวยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอื่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องคัดค้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วันนั้น ควรแก้ไขโดยเปิดโอกาสให้มีการยื่นฟ้องได้ตลอดเวลา แม้ว่าผู้ขาดคุณสมบัติจะได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งแล้วก็ตาม ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกต้งซึ่งกำหนดให้มีระยะนานกว่าเดิม กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยการขานชื่อและที่อยู่ของผู้มาใช้สิทธิดัง ๆ ก็ควรจะได้มีการแก้ไขวิธีการให้รัดกุมรอบคอบกว่านี้เพื่อป้องกันการทุจริต
2. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎกระทรวง เช่น แผนผัง การจัดสถานที่ลงคะแนน ควรปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักวิชา จำนวนคูหาลงคะแนนควรให้เพียงพอ และเปิดโอกาสให้ฝ่ายจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมีส่วนใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้ สำหรับแบบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรจะได้กำหนดรายการเกี่ยวกับอายุของผู้เลือกตั้งไว้ด้วย นอกจากนี้ควรปรับปรุงบัตรเลือกตั้งและวิธีการลงคะแนน
3. ปัญหาเกี่ยวกับหนังสือสั่งการของกระทรวงในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งควรมีลักษณะผ่อนปรน เปิดโอกาสให้จ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานตามความมากน้อยของภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติจริง ๆ ในการรายงานผลและสถิติการเลือกตั้ง กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รายงานในเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่อง บางเรื่องมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระหนักแก่ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และกำลังเจ้าหน้าที่ ควรมีการพิจารณาเสียใหม่ เพราะถ้าเปิดโอกาสให้มีระเบียบนี้อยู่เท่ากับสนับสนุนให้มีการล่วงละเมิดระเบียบและคำสั่งนั้น ๆ.
1. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ บทบัญญัติเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนนไม่สมดุลย์กับปริมาณงาน ควรจะปรับปรุงบทบัญญัตินี้ให้มีลักษณะอ่อนตัวยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอื่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องคัดค้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วันนั้น ควรแก้ไขโดยเปิดโอกาสให้มีการยื่นฟ้องได้ตลอดเวลา แม้ว่าผู้ขาดคุณสมบัติจะได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งแล้วก็ตาม ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกต้งซึ่งกำหนดให้มีระยะนานกว่าเดิม กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยการขานชื่อและที่อยู่ของผู้มาใช้สิทธิดัง ๆ ก็ควรจะได้มีการแก้ไขวิธีการให้รัดกุมรอบคอบกว่านี้เพื่อป้องกันการทุจริต
2. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎกระทรวง เช่น แผนผัง การจัดสถานที่ลงคะแนน ควรปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักวิชา จำนวนคูหาลงคะแนนควรให้เพียงพอ และเปิดโอกาสให้ฝ่ายจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมีส่วนใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้ สำหรับแบบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรจะได้กำหนดรายการเกี่ยวกับอายุของผู้เลือกตั้งไว้ด้วย นอกจากนี้ควรปรับปรุงบัตรเลือกตั้งและวิธีการลงคะแนน
3. ปัญหาเกี่ยวกับหนังสือสั่งการของกระทรวงในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งควรมีลักษณะผ่อนปรน เปิดโอกาสให้จ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานตามความมากน้อยของภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติจริง ๆ ในการรายงานผลและสถิติการเลือกตั้ง กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รายงานในเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่อง บางเรื่องมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระหนักแก่ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และกำลังเจ้าหน้าที่ ควรมีการพิจารณาเสียใหม่ เพราะถ้าเปิดโอกาสให้มีระเบียบนี้อยู่เท่ากับสนับสนุนให้มีการล่วงละเมิดระเบียบและคำสั่งนั้น ๆ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.