• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510

by ปฐม มณีโรจน์

ชื่อเรื่อง:

การบริหารงานเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2510

ผู้แต่ง:

ปฐม มณีโรจน์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2511

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วัตถุประสงค์ประการแรกของการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการบริหารงานเลือกตั้งเป็นปัจจัยหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ อย่างที่จะช่วยให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นหรือน้อยลง และเพื่อวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง จากผลการศึกษาปรากฏว่าสิ่งที่กระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพของการบริหารงานเลือกตั้ง คือ กฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ของทางราชการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของผู้บริหารงาน เพื่อเลือกทางปฏิบติให้เป็นไปตามบทบัญญัติเหล่านั้น ผู้เขียนได้สรุปข้อเสนอแนะในการพิจารณาแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ .-
1. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ บทบัญญัติเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยลงคะแนนไม่สมดุลย์กับปริมาณงาน ควรจะปรับปรุงบทบัญญัตินี้ให้มีลักษณะอ่อนตัวยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอื่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องคัดค้านผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วันนั้น ควรแก้ไขโดยเปิดโอกาสให้มีการยื่นฟ้องได้ตลอดเวลา แม้ว่าผู้ขาดคุณสมบัติจะได้รับเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่งแล้วก็ตาม ส่วนบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกต้งซึ่งกำหนดให้มีระยะนานกว่าเดิม กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยการขานชื่อและที่อยู่ของผู้มาใช้สิทธิดัง ๆ ก็ควรจะได้มีการแก้ไขวิธีการให้รัดกุมรอบคอบกว่านี้เพื่อป้องกันการทุจริต
2. ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎกระทรวง เช่น แผนผัง การจัดสถานที่ลงคะแนน ควรปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักวิชา จำนวนคูหาลงคะแนนควรให้เพียงพอ และเปิดโอกาสให้ฝ่ายจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นมีส่วนใช้ดุลพินิจในเรื่องนี้ สำหรับแบบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรจะได้กำหนดรายการเกี่ยวกับอายุของผู้เลือกตั้งไว้ด้วย นอกจากนี้ควรปรับปรุงบัตรเลือกตั้งและวิธีการลงคะแนน
3. ปัญหาเกี่ยวกับหนังสือสั่งการของกระทรวงในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งควรมีลักษณะผ่อนปรน เปิดโอกาสให้จ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าพนักงานตามความมากน้อยของภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติจริง ๆ ในการรายงานผลและสถิติการเลือกตั้ง กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รายงานในเรื่องต่าง ๆ หลายเรื่อง บางเรื่องมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระหนักแก่ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง สิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และกำลังเจ้าหน้าที่ ควรมีการพิจารณาเสียใหม่ เพราะถ้าเปิดโอกาสให้มีระเบียบนี้อยู่เท่ากับสนับสนุนให้มีการล่วงละเมิดระเบียบและคำสั่งนั้น ๆ.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาเทศบาล

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

247 หน้า.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1038
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (EXCERPT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b9958ab.pdf ( 171.41 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b9958.pdf ( 5,916.38 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×