• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารงานสันทนาการของเทศบาลนครกรุงเทพ

by จินตนา พึ่งสุนทร

Title:

การบริหารงานสันทนาการของเทศบาลนครกรุงเทพ

Author(s):

จินตนา พึ่งสุนทร

Advisor:

ทัศนีย์ มุสิกไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

มุ่งศึกษาถึงความสำคัญและความจำเป็นของบริการสันทนาการที่มีต่อประโยชน์สุขของประชาชน บริการสันทนาการเป็นบริการสังคมชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนจำกัดขอบเขตเพียงการศึกษาการบริหารงานด้านนี้ของเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง จากการศึกษาวิเคราะห์ได้พบว่า ปัจจุบันเทศบาลนครกรุงเทพเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงการจัดบริการด้านนี้ให้มีประสิทธิภาพขึ้นโดยจัดตั้งกองสวัสดิการสังคมขึ้น แต่การปรับปรุงการบริหารงานของเทศบาลดังกล่าวยังไม่เป็นไปตามหลักวิชา ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อปรับปรุง คือ.-
1. ควรปรับปรุงหน่วยงาน โดยรวมงานชนิดเดียวกันให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยตรง และการแบ่งงานในกองสวัสดิการสังคมควรเปลี่ยนแปลงโดยมีการจัดแผนกต่าง ๆ เสียใหม่ เพื่อให้สามารถให้บริการสันทนาการครบตามประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็น
2. ควรแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่โดยตรงของเทศบาลที่ต้องจัดบริการนี้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง.
3. ควรส่งเสริมให้มีการประสานงานทั้งภายในและภายนอกเทศบาล โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสันทนาการและสวนสาธารณะ โดยมีสมาชิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากผู้เชี่ยวชาญ และจากประชาชนที่สนใจในงานด้านนี้
4. ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เพียงพอเพื่อให้ประชาชนได้ทราบความเคลื่อนไหวของการบริหารงานด้านนี้ และช่วยชักจูงให้ประชาชนมีส่วนร่วม
5. ควรกำหนดมาตรฐานของกิจกรรมที่จำเป็นต้องจัดขึ้นแก่สมาชิก โดยให้ฝ่ายสันทนาการสันนิบาตเทศบาล และเทศบาลต่าง ๆ ร่วมศึกษาและกำหนดมาตรฐานทั่วไปของกิจกรรมสันทนาการแต่ละประเภท เทศบาลควรทำโครงการระยะยาวและระยะสั้น และจะต้องมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกอายุได้ประโยชน์
6. ควรปรับปรุงในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักการบริหารงานบุคคลที่ดี และควรส่งเสริมให้มีเจ้าหน้าที่ผู้นำกิจกรรมประเภททำงานเต็มเวลา.
7. ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่พัฒนาความรู้อยู่เสมอ โดยจัดให้มีการฝึกอบรม ส่งไปดูงานต่างประเทศ ประชุมปรึกษาและให้คำแนะนำในการบริหารงานแก่เจ้าหน้าที่ การฝึกอบรมควรจัดขึ้นโดยสม่ำเสมอ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องพิจารณาจัดแบ่งไปตามประเภทของเจ้าหน้าที่ ความจำเป็นในการฝึกอบรม และโครงการฝึกอบรม
8. ควรจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงาน และพัฒนางานในหน้าที่ของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

นันทนาการ

Keyword(s):

สันทนาการ
เทศบาลนครกรุงเทพ -- การบริหาร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

165 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1041
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6507ab.pdf ( 110.40 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b6507.pdf ( 3,934.85 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×