Show simple item record

dc.contributor.advisorประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสุริย์ ด่านสวัสดิ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:06Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:06Z
dc.date.issued1968th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1043th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเรื่องราวและความสำคัญของการบริหารเงินทุนของธนาคารออมสินในส่วนที่เกี่ยวแก่การหาเงินฝาก และการนำเงินฝากนั้นไปลงทุนหาผลประโยชน์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักในระบบการธนาคารทั่วไป ประเด็นสำคัญของเรื่องอยู่ที่บทบาทสำคัญในการบริหารเงินทุนของธนาคารที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศth
dc.description.abstractกล่าวโดยทั่วไปแล้วการบริหารเงินทุนของธนาคารออมสินได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจและส่วนที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ทางการบริหารได้แก่ วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนกิจการสาธารณูปโภค และวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชน อย่างไรก็ดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารภายใน ยังปรากฏข้อบกพร่องที่ควรแก้ไข ทั้งในด้านการจัดองค์การบริหาร ด้านการบริหารการหาทุน และด้านบริหารการใช้ทุนth
dc.description.abstract1. การจัดองค์การบริหารในรูปเดิมขาดความสมดุลย์ในหน่วยงานบริหารระดับเดียวกัน การแบ่งหน้าที่มิได้กำหนดไว้ชัด ควรปรับปรุงใหม่โดยแบ่งหน่วนงานใหม่เป็นฝ่ายการบริหาร ฝ่ายการออมสิน ฝ่ายการธนาคาร ฝ่ายการสลากและพันธบัตรออมสิน ฝ่ายการบัญชีและฝ่ายการพนักงานกับหน่วยในระดับส่วนอีก 2 หน่วย.th
dc.description.abstract2. การบริหารการหาทุน มีปัญหาสำคัญ 4 ประการ คือ ประการที่หนึ่งการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสินควรจะได้กำหนดมาตรการในการแข่งขัน ซึ่งอาจทำได้โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงขึ้น และโดยการใช้ระบบให้เงินรางวัล ประการที่ 2 การเพิ่มสถานที่อำนวยบริการ ธนาคารออมสินควรใช้มาตรการทางวิชาการที่เหมาะสมในการเลือกท้องถิ่นสำหรับตั้งสาขาเพิ่มขึ้น ประการที่ 3 การออมสินกลุ่ม เพื่อหาทุนโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยนั้น ธนาคารออมสินควรสร้างความใกล้ชิดกับข้าราชการในส่วนภูมิภาค และออกรับเงินออมสินกลุ่มจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งทำงาน ประการที่ 4 การออมสินนักเรียนควรหาทางเร้าความสนใจของการออมสินนักเรียนในส่วนรวมขึ้นอีกth
dc.description.abstract3. การบริหารการใช้ทุน ธนาคารออมสินควรพิจารณาจัดอันดับและลักษณะของเงินให้กู้ยืมแก่องค์การรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจเสียใหม่ โดยจำแนกความสำคัญของกิจการเหล่านั้นแล้วกำหนดอัตราดอกเบี้ย สูง ต่ำ ตามความสำคัญของกิจการนั้น ๆ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอข้อแก้ปัญหาอื่น ๆ เช่น เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยค้างชำระ เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพในการลงทุน และปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพตัวพนักงานธนาคารออมสินth
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2014-05-05T09:17:06Z (GMT). No. of bitstreams: 2 nida-ths-b8052.pdf: 3555621 bytes, checksum: 0c4980f2476c735d99d2718e2319f5ff (MD5) nida-ths-b8052ab.pdf: 103199 bytes, checksum: a9b47990d317710d40c8f69f194b80bf (MD5) Previous issue date: 1968th
dc.format.extent163 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการบริหารเงินทุนth
dc.subject.lccHG 1956 .T3 ส47th
dc.subject.otherธนาคารออมสินth
dc.titleการบริหารเงินทุนของธนาคารออมสินth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelปริญญาโทth
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record