• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การบริหารราชการของอำเภอในเขตเทศบาลนครกรุงเทพ

by บุญธรรม ทองสังข์

Title:

การบริหารราชการของอำเภอในเขตเทศบาลนครกรุงเทพ

Author(s):

บุญธรรม ทองสังข์

Advisor:

ถนอม ศุขสาตร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

อำเภอ ตามความหมายของวิทยานิพนธ์นี้หมายถึง หน่วยงานที่ประกอบขึ้นด้วยนายอำเภอ และส่วนราชการที่กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ตั้งขึ้นประจำอำเภอ การศึกษาเรื่องการบริหารราชการของอำเภอในเขตเทศบาลนครกรุงเทพนี้มุ่งศึกษาเฉพาะในด้านรูปลักษณะหรือองค์ประกอบอำนาจหน้าที่ของอำเภอโดยทั่ว ๆ ไป กับอำเภอในเขตเทศบาลนครกรุงเทพว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพ และอำเภอที่อยู่ในเขตเทศบาลนี้ว่ามีอยู่ในลักษณะใด
จากการศึกษาปรากฏว่า ในประการแรก อำเภอเป็นระบบการปกครองที่จัดขึ้นสำหรับปกครองชุมชนซึ่งตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมอยู่ตามท้องถิ่นชนบท ผู้เขียนมีความเห็นว่า เพื่อให้การบริหารราชการของอำเภอในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรจะได้ปรับปรุงให้เป็นไปในลักษณะที่จะส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประการที่ 2 การนำเอาระบบการปกครองท้องที่แบบอำเภอเข้ามาใช้ในเขตกรุงเทพมหานครไม่ทำให้โครงรูปและอำนาจหน้าที่ของอำเภอเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่โอนงานเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรให้แก่เทศบาลรับไปดำเนินการเท่านั้น และการนำเอาระบบการปกครองท้องที่แบบอำเภอเข้ามาใช้ปกครองกรุงเทพนี้ไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ประการที่ 3 การจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพขึ้นเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีหน่วยการปกครองแบบอำเภออยู่เช่นเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีหน่วยบริหารงานซ้อนกัน ควรเปลี่ยนรูปองค์การปกครองแบบอำเภอให้เป็นเทศบาลเสีย ประการที่ 4 การบริหารราชการในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการหลายหน่วย ต่างคนต่างก็แก้ปัญหาไปคนละอย่างสองอย่าง งานบางอย่างเกี่ยงกันทำ บางอย่างแย่งกันทำ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาซ้อนปัญหาขึ้น ผู้เขียนเห็นว่าควรต้องจัดให้มีองค์การบริหารงานมหานครแห่งนี้ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

การปกครองท้องถิ่น

Keyword(s):

เทศบาลนครกรุงเทพ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

324 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1045
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9956ab.pdf ( 99.75 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9956.pdf ( 6,849.37 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×