• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

การปกครองตำบลและหมู่บ้านของประเทศไทย

by อยุธย์ คชพิมพ์

ชื่อเรื่อง:

การปกครองตำบลและหมู่บ้านของประเทศไทย

ผู้แต่ง:

อยุธย์ คชพิมพ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2509

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

นับแต่มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวทางการปกครองตำบลและหมู่บ้านมีลักษณะไปในทางที่จะให้ประชาชนในตำบล หมู่บ้าน มีส่วนร่วมในการปกครองและดำเนินกิจการของตำบล หมู่บ้าน มากขึ้น แม้ว่าความพยายามเช่นนี้จะได้หยุดชงักไปบ้างตามสมัยและวาระต่าง ๆ แต่ในที่สุดกลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอันที่จะให้ตำบลมีการปกครองอย่างจริงจังโดยจัดตั้งสภาตำบล ต่อมาก็จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น กิจการเหล่านี้ยังจะต้องพัฒนาต่อไปอีกมาก แต่จะต้องใช้เวลาบ้างเพราะมีอุปสรรคหลายประการ อุปสรรคเหล่านั้นได้แก่ อิทธิพลปรัชญาการปกครองดั้งเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นบิดากับบุตร การอบรมทางสังคมซึ่งบิดามารดาจะอบรมสั่งสอนบุตรให้ว่าง่าย เคารพเชื่อฟังข้าราชการฯลฯ สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทซึ่งยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ทำให้ยากจน การศึกษาต่ำ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และอุปสรรคประการสุดท้ายได้แก่ ระเบียบแบบแผนที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองตนเอง เช่น ระเบียบที่ส่งเสริมระบบข้าราชการและระเบียบแบบแผนที่ไม่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อได้ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วผู้เขียนได้เสนอแนะข้อควรพิจารณาในการปรับปรุงแก้ไข คือ.-
1. การเข้าถึงประชาชน ให้มีการปรับปรุงแก้ไขข้าราชการในส่วนภูมิภาคทุกระดับ จัดให้มีการฝึกอบรมโดยเน้นหนักในเรื่องวิธีการเข้าถึงประชาชน ความรับผิดชอบของข้าราชการต่อประชาชน และโครงการพัฒนาพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ควรจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขกำนันผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการฝึกอบรมเช่นกัน การปรับปรุงระเบียบแบบแผนของทางราชการ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงผลการปฏิบัติงานของทางราชการโดยทางวิทยุ โทรทัศน์ และพิมพ์เอกสารเผยแพร่ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างข้าราชการกับประชาชน
2. ยกระดับความเป็นอยู่และมาตรฐานการศึกษาในชนบท โดยวางแผนพัฒนาชนบทโดยทั่วไป และการวางโครงการพัฒนาของภาคต่าง ๆ ควรให้ประสานงานกันและต้องกำหนดไว้ให้แน่นอน รัฐบาลจะต้องทุ่มเทเงินให้อย่างมหาศาลเพื่อเร่งรัดพัฒนาชนบทให้เต็มที่ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทโดยตรง เช่น กรมการพัฒนาชุมชนและสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ควรจะได้ร่วมมือประสานงานกันอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดีในตอนท้ายผู้เขียนได้สรุปว่า แม้ว่าจะได้มีการแก้ไขรูปการปกครองตำบลไปในรูปใดก็ตาม ถ้าการปฏิบัติตัวของทั้งฝ่ายข้าราชการและฝ่ายประชาชนยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้วจะไม่บังเกิดผลอย่างใดเลย จึงควรจะมีการฝึกอบรมอย่างจริงจังทุกระดับและมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในด้านนี้โดยเฉพาะ และข้าราชการจะต้องยอมลดศักดิ์ศรีลงบ้างด้วยการยอมรับฟังคำวิพากย์วิจารณ์ของประชาชน

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2509.

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การบริหารรัฐกิจ -- ส่วนภูมิภาค
กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน

ประเภททรัพยากร:

Thesis

ความยาว:

175 หน้า.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สิทธิในการเข้าถึง:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1047
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
nida-ths-b9957.pdf ( 5,983.37 KB )

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (EXCERPT)

Thumbnail
ดู
nida-ths-b9957ab.pdf ( 131.45 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×