• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับทหารผ่านศึกภาคเหนือของหน่วยเคลื่อนที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

by ไชยวัฒน์ สุพัฒนานนท์

Title:

การประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับทหารผ่านศึกภาคเหนือของหน่วยเคลื่อนที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

Author(s):

ไชยวัฒน์ สุพัฒนานนท์

Advisor:

ปถม ชาญสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้จัดส่งหน่วยเคลื่อนที่ออกไปปฏิบัติการในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ยกเว้นภาคเหนือซึ่งเพิ่งจะมีการส่งหน่วยเคลื่อนที่ไปปฏิบัติการเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2510 นี้เอง จังหวัดที่ออกไปปฏิบัติงานภาคเหนือมี 6 จังหวัด คือ ลำปาง เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย น่าน และเพชรบูรณ์
วัตถุประสงค์ขององค์การทหารผ่านศึกในการจัดส่งหน่วยเคลื่อนที่ออกไปปฏิบัติงานก็เพื่อดำเนินการด้านจิตวิทยา และด้านการต่อต้านการแทรกซึมบ่อนทำลาย ซึ่งก็นับว่าได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ทุกประการ คือ ทำให้ทหารผ่านศึกมีความพอใจ มีขวัญดีขึ้น เนื่องจากรู้สึกว่าทางราชการมิได้ทอดทิ้ง และรู้สึกภาคภูมิใจที่ผู้ใหญ่ฝ่ายทหารไปเยี่ยมเยียน จึงเกิดความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
วิทยานิพนธ์นี้ได้มุ่งศึกษาถึงสิ่งสำคัญเกี่ยวกับทหารผ่านศึก 5 ประการ คือ.-
1. ลักษณะและสถานภาพทั่วไปของทหารผ่านศึกในท้องที่ 6 จังหวัด ปรากฎว่าส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อาชีพหลักคือการทำนา มักเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ และมักจะขาดแคลนที่ดินสำหรับทำกินของตนเอง.
2. การที่มีหน่วยเคลื่อนที่ออกไปปฏิบัติการทำให้ทหารผ่านศึกใน 6 จังหวัดนี้ได้รับบริการสงเคราะห์ และได้ทราบถึงสิทธิอันพึงได้รับเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวน 67 เปอร์เซ็นต์
3. ด้านการร่วมมือและการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ส่วนปกครองท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกส่วนภูมิภาค ปรากฎว่าส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือดี แต่การประสานงานกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกส่วนกลางนั้นยังกระทำไม่ได้เต็มที่ ปัญหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องบุคคล
4. ทหารผ่านศึกในภาคเหนือไม่ทราบถึงสิทธิอันพึงได้ของตน เหตุเพราะองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกภาคนี้ขาดการประชาสัมพันธ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งการคมนาคมไม่สะดวก จึงรู้สึกว่าบริการที่จะได้รับไม่คุ้มกันกับเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับบริการ.
5. จำนวนทหารผ่านศึกที่อยู่ในวัยจะเป็นกำลังให้ประเทศชาติได้มีจำนวนสูงพอสมควร ซึ่งส่วนมากมีการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีความเต็มใจที่จะรับใช้ประเทศชาติ.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

ทหารผ่านศึก -- การประเมิน

Keyword(s):

วิจัย
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

247 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1053
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11282ab.pdf ( 90.49 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b11282.pdf ( 6,088.24 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×