การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Files
Publisher
Issued Date
2009
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
266 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b165409
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เสกสรรค์ บุญรอด (2009). การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1055.
Title
การประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Alternative Title(s)
Evaluation and satisfaction of higher education student on student loan : a case study of higher education institute
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง ประเมินผลและความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา การดําเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) ศึกษาผลการดําเนินการของกองทุนเงินให้ กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อการบริหารงาน ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 4) ศึกษาปัจจัยภูมิหลังของนักศึกษา (เพศ, ภูมิภาค, อาชีพของ ผู้ปกครอง, รายได้ของครอบครัว, จํานวนพี่น้อง) ว่านักศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน มีระดับความพึง พอใจในกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแตกต่างกัน 5) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อความ พึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยใช้เครื่องมือและวิธี การศึกษาคือการศึกษาจากเอกสารควบคู่กับการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษา ปรากฏว่าการดําเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประการที่หนึ่ง การกําหนดเกณฑ์รายได้ของผู้มีสิทธิกู้ยืมที่สูงเกินไปทําให้กองทุนฯ ไม่สามารถเพิ่มโอกาสทาง การศึกษาของผู้มีรายได้ต่ำได้อย่างประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประการที่สอง การขาดกลไกในการ ตรวจสอบ การจัดสรรเงินกู้ยืม ทําให้เกิดการรั่วไหลมาก ประการที่สาม การขาดกลไกการติดตาม การชําระหนี้คืน ที่มีประสิทธิภาพทําให้เกิดความสูญเสียต่อรัฐและผู้เสียภาษีประการที่สี่ การขาด กลไกในการติดตาม และประเมินผล ทําให้การดําเนินงานของกยศ. ผิดพลาดต่อเนื่องมาเป็นเวลา นาน โดยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีความพึงพอใจต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( Χ = 2.93) โดยเมื่อจําแนกเป็นรายด้านแล้วพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ซึ่งด้านการกําหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การให้กู้ยืม เงินกองทุนฯ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด ( Χ = 3.00) รองลงมาคือด้านการกําหนด เงื่อนไขวงเงินให้กู้ยืม ( Χ = 2.94) และด้านการกําหนดเงื่อนไขของเงินให้กู้ยืม ( Χ = 2.94) และ ด้านการกําหนดเงื่อนไขกระบวนการขอกู้ยืมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ( Χ = 2.82) ปัจจัยภูมิหลังของนักศึกษา (เพศ, ภูมิภาค, จํานวนพี่น้อง, การศึกษาของผู้ปกครอง, อาชีพ ของผู้ปกครอง, รายได้ของครอบครัว) ที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สรุปได้ว่าความพึงพอใจของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อกองทุน เงินให้กู้ยืมเพอการศึกษา เมื่อจําแนกตามเพศ, ภูมิภาค, จํานวนพี่น้อง, อาชีพของผู้ปกครอง, รายได้ ของครอบครัว พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น ปัจจัยด้านระดับการศึกษาของผู้ปกครองจะมี ความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009