• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การปราบปรามยาเสพติดให้โทษของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ

by สุมน เบญญศรี

Title:

การปราบปรามยาเสพติดให้โทษของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ

Author(s):

สุมน เบญญศรี

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2504 คณะกรรมการนี้แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน คณะกรรมการอื่น ๆ ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในทางปราบปราม ป้องกัน และบำบัดรักษา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่สืบสวนผู้มีกรณีเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดให้โทษระหว่างประเทศตามข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติหรือที่องค์การตำรวจสากลหรือที่ต่างประเทศขอร้องมา ทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเจ้าหน้าที่กองกำกับการ 7 เป็นกองเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติงานนี้อีกด้วย.
จากการศึกษาปรากฏว่า การบริหารงานของคณะกรรมการเป็นการบริหารงานที่ดีประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการประสานงาน และการวินิจฉัยสั่งการเพื่อให้งานในด้านการป้องกันปราบปรามสัมฤทธิผล อย่างไรก็ดียังมีอุปสรรคบางประการซึ่งควรจะได้นำมาแก้ไข อุปสรรคเหล่านี้ได้แก่.-
1. เจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามมีกำลังคนไม่เพียงพอ การปราบปรามยาเสพติดให้โทษจึงหาได้หยุดยั้งหรือเบาบางลงได้เร็วเท่าที่ควร ควรหาทางเพิ่มกำลังคน และควรพิจารณาในด้านขวัญและมูลเหตุจูงใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น และควรจะได้ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการข่าวกรองซึ่งอาจเป็นทหารหรือตำรวจ
2. การดำเนินงานด้านบำบัดรักษา การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดนั้นมิได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์อย่างแท้จริง ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นประเภทสมัครใจ สามารถเข้าและออกจากสถานบำบัดตามความพอใจ ทั้งไม่สามารถจะอยู่รักษาได้นานพอสมควร ควรที่ทางราชการจะได้จัดสถานพยาบาลเพิ่มขึ้น เพิ่มนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีระเบียบข้อบังคับให้ผู้ติดยาเสพติดรักษาตัวในระยะยาวจนหายเป็นปกติ
3. การประสานงานกับต่างประเทศ ควรจะได้มีการกระชับการประสานงานระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ลาว หรือทางแถบชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

ยาเสพติด -- การควบคุม

Resource type:

Thesis

Extent:

149 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1060
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b10455.pdf ( 2,148.70 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b10455ab.pdf ( 61.07 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×