• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การฝึกอบรมข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน : ศึกษาจากทัศนะของผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรม

by ประสิทธิ์ ดำรงชัย

Title:

การฝึกอบรมข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน : ศึกษาจากทัศนะของผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรม

Author(s):

ประสิทธิ์ ดำรงชัย

Advisor:

อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาให้ทราบลักษณะปัญหาต่าง ๆ ในการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนของไทยในส่วนรวม ในระดับกรม โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 5 ประการ คือ.- 1. เพื่อทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน 2. ทราบจำนวนหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารงานฝึกอบรมโดยตรง 3. ต้องการทราบชนิด หลักสูตร วิธีการ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม 4.ทราบความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในงานฝึกอบรม 5. เพื่อทราบอุปสรรคในการบริหารงานฝึกอบรม
จากผลการศึกษาปรากฏว่า การกำหนดให้การฝึกอบรมเป็นงานประจำส่วนหนึ่งของหน่วยราชการพลเรือนทุกกรม ย่อมให้ผลดีกว่าจะปล่อยให้แต่ละกรมจัดขึ้นตามความจำเป็นเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว การวางแผน การกำหนดหลักสูตร ตลอดจนการดำเนินงานในการฝึกอบรมให้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องย่อมช่วยให้การฝึกอบรมได้รับผลดียิ่ง และความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างงานด้านการเจ้าหน้าที่และงานฝึกอบรมช่วยให้การฝึกอบรมบรรลุผลง่ายขึ้น นอกจากนี้ถ้าการการฝึกอบรมเป็นการฝึกอบรมงานบริหารราชการทั่วๆ ไป ควบคู่กันไปในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการฝึกอบรมด้านเทคนิคเฉพาะอย่างย่อมจะให้ผลดีกว่าที่จะทำการฝึกอบรมด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะ อนึ่งความสำเร็จในการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนทุกระดับชั้นย่อมต้องอาศัยความสนับสนุนจากกลุ่มผู้นำทุกระดับชั้นภายในกรม เช่น การศึกษาครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความคิดแก่ผู้เขียนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานฝึกอบรมและแนวทางที่จะส่งเสริมให้งานฝึกอบรมข้าราชการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น คือ.-
1. ควรให้มีการสำรวจความจำเป็นที่มีต่อการฝึกอบรม และมีการติดตามและประเมินผล
2. การจัดหลักสูตรหรือโครงการฝึกอบรมควรจะกำหนดเป็นแผนระยะยาวโดยวางหลักสูตรที่จะทำการฝึกอบรมแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทวิชาที่มีลักษณะถาวร และวิชาที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
3. การจัดตัวผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยถือเอาระดับชั้นเป็นเกณฑ์ นับว่าเหมาะสมสำหรับข้าราชการไทย พื้นความรู้ของผู้เข้ารับกากรฝึกอบรมก็ควรให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
4. สำนักฝึกอบรมควรเชิญผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรมตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกฝึกอบรมและผู้รับผิดชอบในด้านการบริหารงานบุคคลของทุกกรมมาเข้ารับการฝึกอบรมให้หมด
5. ควรเชิญข้าราชการระดับอธิบดีและหัวหน้ากองให้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรผู้อำนวยการฝึกอบรม
6. ควรให้อาจารย์ผู้บรรยายซึ่งเชิญมาจากที่อื่นทราบพื้นฐานและลักษณะงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยส่วนรวมอย่างละเอียดพอสมควร.
7. ควรมีศูนย์กลางการบริหารงานฝึกอบรมในส่วนรวมของประเทศขึ้นนอกเหนือจากที่แต่ละกรมจัดขึ้นเอง.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

การฝึกอบรม
ข้าราชการ -- การฝึกอบรม

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

205 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1065
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9067ab.pdf ( 89.29 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b9067.pdf ( 4,328.74 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [291]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×