การพัฒนาชนบท : แนวโน้มความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาของโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Publisher
Issued Date
1981
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
294 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ศรีสุรินทร์ จำปา (1981). การพัฒนาชนบท : แนวโน้มความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาของโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1072.
Title
การพัฒนาชนบท : แนวโน้มความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาของโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
เป็นการศึกษาหนึ่งในสามสาขาของการบริหารโครงการ คือ การประเมินผล (Evaluation) ในลักษณะมุ่งเน้นเชิงปริมาณ และในการพิสูจน์สมมติฐาน ได้ใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์หลายแบบ ได้แก่ Percentage, Chi-square, ANOVA, Stepwise Regression และ Factor Analysis.
ในการนี้ ได้แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็นหลัก และ 2 ประเด็นรอง โดยมีสมมติฐานหลักว่า.
1. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนช่วยให้ครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีรายได้ที่เป็นตัวเงินใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 18,000.00 บาทต่อปี ได้มากกว่าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์
2. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนในการลดจำนวนครัวเรือนจน ของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ได้มากกว่าของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์ และมีสมมติฐานรองเป็นการเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า.
3. มีตัวแปรอิสระบางตัวที่มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา ในลักษณะที่สามารถอธิบายความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. มีปัญหาข้อบกพร่องบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา.
จากการศึกษาพบว่า ในด้านการบรรลุเป้าหมายเท่าที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ปี (2519-2522) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมายังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้มีส่วนช่วยให้ครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีรายได้ที่เป็นตัวเงินใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 18,000.00 บาทต่อปี ได้มากกว่าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์" ได้ กับในด้านความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมายังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนในการลดจำนวนครัวเรือนจน ของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ได้มากกว่าของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์" ได้เช่นเดียวกัน
ในด้านตัวแปรอิทธิพล มีตัวแปรอิสระจำนวน 16 ตัวแปร ที่สามารถอธิบายความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในลักษณะที่บอกได้ทั้งขนาดและทิศทาง แยกตามกลุ่มตัวแปรได้ดังนี้ คือ
ก. กลุ่มทั่วไป มี 1 ตัวแปร คือ
1. ความพึงพอใจในการเข้าอยู่ในโครงการ (XA6) ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการมีมากขึ้น จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ข. กลุ่มเศรษฐกิจ มี 6 ตัวแปร คือ
2. รายได้ที่ไม่ใช่ตัวเงิน (XB4) ต้องลดจำนวนลง จึงจะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
3. รายได้เฉพาะภาคเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยขณะอยู่ในโครงการ (XB5) ต้องส่งเสริมให้มีมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
4. การกระจายของที่ดินทำกิน (XB6) ต้องเพิ่มขนาดของที่ดินทำกินให้มากขึ้น เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการจึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
5. จำนวนทุนที่ให้ในการผลิตรวมต่อไร่ (XB11) ต้องให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการเพิ่มจำนวนทุนที่ใช้ในการผลิตรวมต่อไร่ให้มากขึ้น จึงจะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
6. อำนาจการบริโภค (XB32) ต้องควบคุมไม่ให้อำนาจการบริโภคของเกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครการ เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 2.1 จึงจะทำให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
7. ประสิทธิภาพการผลิตรวม (XB39) ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีประสิทธิภาพการผลิตรวมมากกว่า 5.00 จึงจะทำให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ค. กลุ่มสังคม มี 7 ตัวแปร คือ
8. ความต้องการให้สมาชิกได้รับการศึกษา (XC2) ต้องจูงใจให้หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ เห็นความสำคัญของการศึกษา.
9. ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อคน (XC4) เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง ต้องใช้จ่ายด้านการศึกษาอย่างประหยัด
10. ค่านิยม "ระบบอาวุโส" (XC8) ควรให้ลดระดับลงมาอีกเล็กน้อย จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
11. ค่านิยม "เกียรติยศชื่อเสียง" (XC10) ควรให้มีเพิ่มขึ้นอีก จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
12. การลงทุนในตัวอาคารที่อยู่อาศัย (XC14) ควรให้ชลอการลงทุนในตัวอาคารที่อยู่อาศัยไว้ก่อน จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
13. ความสบายในที่อยู่อาศัย (XC15) ต้องพยายามจูงใจให้เกษตรกรพึงพอใจในที่อยู่อาศัย ความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงจึงจะเกิดขึ้น
14. การเจ็บป่วยในครัวเรือน (XC23) ต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ เกิดการเจ็บป่วยให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงจะส่งผลให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ง. กลุ่มการบริหาร มี 2 ตัวแปร คือ
15. ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ (XD1) ควรให้การศึกษาใหม่ในลักษณะที่สามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดีขึ้น จึงจะก่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
16. ความเข้าใจในเป้าหมายของสินเชื่อ (XD2) ควรให้การศึกษาใหม่ในลักษณะที่สามารถเข้าใจเป้าหมายสินเชื่อได้ดีขึ้น อันจะช่วยส่งผลให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ปัญหาข้อบกพร่องที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา เฉพาะที่สำคัญมี 4 ประการ คือ
1. หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ส่วนใหญ่ยังมีความภูมิใจในโอกาสที่ได้เข้าอยู่ในโครงการไม่มากพอ
2. หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเกษตรแผนใหม่น้อยอยู่
3. มีการกระจายของที่ดินทำกินมากเกินไป.
4. มีการบริหารโครงการยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเท่าที่ควร คือ
4.1 มีการวางโครงการไม่ถูกต้องและรัดกุมเท่าที่ควร.
4.2 มีการปฏิบัติตามแผน และการจัดองค์การเพื่อการบริหารโครงการไม่เหมาะสม
4.3 ไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการในลักษณะที่ให้ภาพพจน์ของโครงการที่แท้จริง.
และในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้น ควรที่จะสร้างความภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่ครัวเรือนสมาชิก ให้การศึกษาใหม่จนสามารถเข้าใจและสามารถใช้เทคนิคการเกษตรแผนใหม่ได้ เพิ่มขนาดของที่ดินทำกินให้ใหญ่ขึ้น แก้ไขแผนโดยการปรับแผนใหม่ให้ดีขึ้น ปฏิบัติตามแผนในลักษณะของการบริหารการพัฒนาที่แท้จริง และทำการประเมินผลงานที่ดำเนินการไปให้ถูกต้องตามหลักวิชา และในการนี้ควรที่จะเน้นที่การคัดเลือกผู้จัดการโครงการให้มีคุณสมบัติครบตามลักษณะของผู้จัดการโครงการที่ดี เพื่อที่จะให้โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ มีการสิ้นสุดลงด้วยดีในลักษณะที่มีการบรรลุเป้าหมายและ/หรือมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
ในการนี้ ได้แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็นหลัก และ 2 ประเด็นรอง โดยมีสมมติฐานหลักว่า.
1. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนช่วยให้ครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีรายได้ที่เป็นตัวเงินใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 18,000.00 บาทต่อปี ได้มากกว่าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์
2. โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนในการลดจำนวนครัวเรือนจน ของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ได้มากกว่าของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์ และมีสมมติฐานรองเป็นการเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า.
3. มีตัวแปรอิสระบางตัวที่มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา ในลักษณะที่สามารถอธิบายความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. มีปัญหาข้อบกพร่องบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา.
จากการศึกษาพบว่า ในด้านการบรรลุเป้าหมายเท่าที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ปี (2519-2522) ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมายังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้มีส่วนช่วยให้ครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีรายได้ที่เป็นตัวเงินใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 18,000.00 บาทต่อปี ได้มากกว่าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์" ได้ กับในด้านความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา ผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมายังไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ นี้ มีส่วนในการลดจำนวนครัวเรือนจน ของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ได้มากกว่าของครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านอื่นที่ไม่ได้ดำเนินการในรูปสหกรณ์" ได้เช่นเดียวกัน
ในด้านตัวแปรอิทธิพล มีตัวแปรอิสระจำนวน 16 ตัวแปร ที่สามารถอธิบายความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในลักษณะที่บอกได้ทั้งขนาดและทิศทาง แยกตามกลุ่มตัวแปรได้ดังนี้ คือ
ก. กลุ่มทั่วไป มี 1 ตัวแปร คือ
1. ความพึงพอใจในการเข้าอยู่ในโครงการ (XA6) ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการมีมากขึ้น จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ข. กลุ่มเศรษฐกิจ มี 6 ตัวแปร คือ
2. รายได้ที่ไม่ใช่ตัวเงิน (XB4) ต้องลดจำนวนลง จึงจะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
3. รายได้เฉพาะภาคเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยขณะอยู่ในโครงการ (XB5) ต้องส่งเสริมให้มีมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
4. การกระจายของที่ดินทำกิน (XB6) ต้องเพิ่มขนาดของที่ดินทำกินให้มากขึ้น เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการจึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
5. จำนวนทุนที่ให้ในการผลิตรวมต่อไร่ (XB11) ต้องให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการเพิ่มจำนวนทุนที่ใช้ในการผลิตรวมต่อไร่ให้มากขึ้น จึงจะทำให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
6. อำนาจการบริโภค (XB32) ต้องควบคุมไม่ให้อำนาจการบริโภคของเกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครการ เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 2.1 จึงจะทำให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
7. ประสิทธิภาพการผลิตรวม (XB39) ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีประสิทธิภาพการผลิตรวมมากกว่า 5.00 จึงจะทำให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ค. กลุ่มสังคม มี 7 ตัวแปร คือ
8. ความต้องการให้สมาชิกได้รับการศึกษา (XC2) ต้องจูงใจให้หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ เห็นความสำคัญของการศึกษา.
9. ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อคน (XC4) เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง ต้องใช้จ่ายด้านการศึกษาอย่างประหยัด
10. ค่านิยม "ระบบอาวุโส" (XC8) ควรให้ลดระดับลงมาอีกเล็กน้อย จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
11. ค่านิยม "เกียรติยศชื่อเสียง" (XC10) ควรให้มีเพิ่มขึ้นอีก จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
12. การลงทุนในตัวอาคารที่อยู่อาศัย (XC14) ควรให้ชลอการลงทุนในตัวอาคารที่อยู่อาศัยไว้ก่อน จึงจะมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
13. ความสบายในที่อยู่อาศัย (XC15) ต้องพยายามจูงใจให้เกษตรกรพึงพอใจในที่อยู่อาศัย ความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงจึงจะเกิดขึ้น
14. การเจ็บป่วยในครัวเรือน (XC23) ต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกษตรกรสมาชิกหมู่บ้านโครงการ เกิดการเจ็บป่วยให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงจะส่งผลให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ง. กลุ่มการบริหาร มี 2 ตัวแปร คือ
15. ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ (XD1) ควรให้การศึกษาใหม่ในลักษณะที่สามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดีขึ้น จึงจะก่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
16. ความเข้าใจในเป้าหมายของสินเชื่อ (XD2) ควรให้การศึกษาใหม่ในลักษณะที่สามารถเข้าใจเป้าหมายสินเชื่อได้ดีขึ้น อันจะช่วยส่งผลให้มีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูง.
ปัญหาข้อบกพร่องที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย หรือต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนา เฉพาะที่สำคัญมี 4 ประการ คือ
1. หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ส่วนใหญ่ยังมีความภูมิใจในโอกาสที่ได้เข้าอยู่ในโครงการไม่มากพอ
2. หัวหน้าครัวเรือนสมาชิกหมู่บ้านโครงการ ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการเกษตรแผนใหม่น้อยอยู่
3. มีการกระจายของที่ดินทำกินมากเกินไป.
4. มีการบริหารโครงการยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเท่าที่ควร คือ
4.1 มีการวางโครงการไม่ถูกต้องและรัดกุมเท่าที่ควร.
4.2 มีการปฏิบัติตามแผน และการจัดองค์การเพื่อการบริหารโครงการไม่เหมาะสม
4.3 ไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการในลักษณะที่ให้ภาพพจน์ของโครงการที่แท้จริง.
และในการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้น ควรที่จะสร้างความภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่ครัวเรือนสมาชิก ให้การศึกษาใหม่จนสามารถเข้าใจและสามารถใช้เทคนิคการเกษตรแผนใหม่ได้ เพิ่มขนาดของที่ดินทำกินให้ใหญ่ขึ้น แก้ไขแผนโดยการปรับแผนใหม่ให้ดีขึ้น ปฏิบัติตามแผนในลักษณะของการบริหารการพัฒนาที่แท้จริง และทำการประเมินผลงานที่ดำเนินการไปให้ถูกต้องตามหลักวิชา และในการนี้ควรที่จะเน้นที่การคัดเลือกผู้จัดการโครงการให้มีคุณสมบัติครบตามลักษณะของผู้จัดการโครงการที่ดี เพื่อที่จะให้โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ มีการสิ้นสุดลงด้วยดีในลักษณะที่มีการบรรลุเป้าหมายและ/หรือมีความสัมฤทธิ์ผลทางการพัฒนาสูงได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2524.