• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน

by ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์

Title:

การเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน

Author(s):

ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์

Advisor:

อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1967

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

ความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพื่อให้กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นหูเป็นตาของรัฐบาล หรือเป็นมือของฝ่ายบริหารในการปกครองตำบลและหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดแนวความคิด และความพยายามที่จะปูพื้นฐานประชาธิปไตยขั้นมูลฐานในระดับหมู่บ้านอีกด้วย ส่วนความมุ่งหมายในการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปัจจุบัน ก็เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยแก่ประชาชนโดยการปฏิบัติ จากการศึกษาปรากฎว่าการเลือกตั้งสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและในปัจจุบันไม่บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีปัญหาและข้ออุปสรรคบางประการในการเลือกตั้ง ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้ง และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไข โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวิธีเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้เขียนให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนลับเพื่อให้ได้ผู้ใหญ่บ้านที่ประชาชนนิยมรักใคร่ ส่วนกำนันก็คงเป็นไปตามวิธีเลือกตั้งทางอ้อมเช่นเดิม เพราะเมื่อได้ผู้ใหญ่บ้านดีแล้วก็สามารถเลือกกำนันดีได้ ในด้านคุณวุฒิของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ควรไม่ต่ำกว่าประโยคประถมศึกษาปีที่ 4 ระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งควรกำหนดได้ประมาณคราวละ 4 หรือ 5 ปี ฐานะ ผลประโยชน์ ของกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ควรจะปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากรัฐบาลจะจัดหลักสูตรอบรมตามโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตยให้เหมาะสม แล้วควรเร่งรัดส่งเสริมประถมและมัธยมศึกษาให้แพร่หลายในท้องถิ่นมากขึ้น ในด้านการฝึกอบรมข้าราชการ ควรมีโครงการพัฒนาข้าราชการระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับโครงการของประชาชน เพื่อช่วยให้ข้าราชการเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและการบริหารของประเทศมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ผู้เขียนเห็นว่าการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกระบวนการพัฒนาชุมชนเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การปกครองตนเองของท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตย.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

Subject(s):

กำนัน -- การเลือกตั้ง
ผู้ใหญ่บ้าน -- การเลือกตั้ง

Resource type:

Thesis

Extent:

210 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1077
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b10492.pdf ( 5,792.59 KB )

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
nida-ths-b10492ab.pdf ( 333.89 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×