• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

LoginRegister

การวางแผนปฏิบัติงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่

by เพชร สิทธิสาร

Title:

การวางแผนปฏิบัติงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่

Author(s):

เพชร สิทธิสาร

Advisor:

ชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1966

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์.-
1. เพื่อศึกษาถึงกระบวนการวางแผน และการดำเนินงานของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นรูปใหม่อีกรูปหนึ่งว่ามีความเป็นมาอย่างไร.
2. เพื่อพิจารณาและศึกษาถึงจุดเด่นของงานที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเป็นส่วนมาก ว่ามีอยู่อย่างไร จะช่วยให้การพัฒนาตามโครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไรหรือไม่ และ
3. เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่จะศึกษาให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามโครงการหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ว่าอาจมีอยู่อย่างไร และจะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไรบ้าง.
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มุ่งเฉพาะการดำเนินงานวางแผนในขั้นต้น สำหรับผลการปฏิบัติงานนั้นผู้เขียนยังมิได้ประเมินให้ตรง แต่ศึกษาเพียงคร่าว ๆ เพื่อนำไปสู่ปัญหาบางประการ.
จากการศึกษาปรากฏว่าการดำเนินการวางแผน มีปัญหาสำคัญอยู่ดังนี้คือ.-
1. ปัญหาในการดำเนินงานโดยทั่วไป ปรากฏว่าการตั้งองค์การบริหารยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การจัดส่วนราชการเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่แต่ละชุดในเขตพัฒนาหนึ่ง ๆ น้อยไป จำนวนหมู่บ้านที่ชุดพัฒนาการเคลื่อนที่เข้าดำเนินการจริง ๆ ต่ำ และกระทรวงมหาดไทยยังไม่สามารถรับมอบเขตพัฒนาการของหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ เพราะยังขาดเงิน อุปกรณ์ และขาดครู บริการบางอย่างไม่จำเป็นแก่ประชาชนในท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์กับประชาชนในท้องถิ่นยังไม่กว้างขวาง.
2. ปัญหาเกี่ยวกับด้านบุคคล เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดำเนินงานยังไม่เพียงพอ และตัวเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาแต่ละเขตควรจะได้คัดเลือกผู้มีภูมิลำเนาในท้องถิ่น หรือสันทัดในสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นนั้นจริง ๆ ให้มากที่สุด นอกจากนี้ในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ควรจะได้พิจารณาถึงสาระสำคัญบางประการเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย และระยะเวลาการฝึกอบรมควรขยายให้ยาวขึ้นอีก และควรจัดให้มีผู้นำท้องถิ่นในเขตพัฒนาที่จะเปิดขึ้นได้มีส่วนในการฝึกอบรมด้วย และหลังจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ได้ถอนตัวออกจากเขตพัฒนาแล้ว ควรจัดให้มีการฝึกอบรมอีกครั้ง เพื่อช่วยให้เกิดข้อคิดในการปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในโอกาสต่อไปให้ดีขึ้น นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และปัญหาในการดำเนินงานขั้นต่อไป ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะข้อแก้ไขไว้โดยละเอียด

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.

Subject(s):

การพัฒนาชุมชน

Resource type:

Thesis

Extent:

189 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Access rights:

สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มเฉพาะ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เท่านั้น

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1082
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
nida-ths-b9402.pdf ( 5,553.56 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [261]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×