การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก
Publisher
Issued Date
2012
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
188 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
นริศรา จริยะพันธุ์ (2012). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1091.
Title
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก
Alternative Title(s)
A study of the instructional management and the effectiveness of alternative schoolsstudy on Ban Khum Dam Project
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่ มผู้ปกครอง จาก 7 โรงเรียนตาม 7 แนวคิดในการจัดการศึกษา ได้แก แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ด้วยปัญญา แนวคิดวิถีพุทธ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสต์ แนวคิดไฮสโคป แนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และแนวคิดมอนเตสซอรี่ ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนทางเลือกทุกโรงเรียนมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ผู้เรียนเป็นสําคัญโดยคํานึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ผ่านการลงมือทํา และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอย่างหลากหลาย แต่การจัดการเรียนการสอน ที่แตกต่างกัน คือ การจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรม และวิธีการประเมินผล ผู้เรียน สําหรับการจัดทรัพยากรทางการศึกษานั้นโรงเรียนทางเลือกส่วนใหญ่จัดให้มีการใช้สื่อ อุปกรณ์ และการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สําหรับแหล่งที่มาของรายได้ การคัดเลือก ครูผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและห้องเรียน และการใช้เทคโนโลยีสําหรับการเรียนรู้ ของแตละโรงเรียนมีความแตกต่างกน การศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจตอแนวคิด วิธีการเรียนการสอน คุณลักษณะของครูผู้สอนและผู้บริหาร และ ผลลัพธ์ที่เกิดขึนกับผู้เรียน แต่ยังคงมีผู้ปกครองบางส่วนที่มีความกังวลใจต่อโรงเรียนทางเลือกเรื่อง การเข้าศึกษาต่อ และการปรับตัวของนักเรียน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา จาก สมศ.ของทุกโรงเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยอยูในระดับดีถึงดีมาก นอกจากนีโรงเรียนทางเลือกยังได้รับ การยอมรับให้เป็นรูปแบบที่จะนําไปใช้ และได้มีการเผยแพร่นวัตกรรมของโรงเรียนโดยการเป็น วิทยากรและที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานที่สนใจนํานวัตกรรมไปปรับใช้ แต่จากการศึกษายังคงพบว่า นักเรียนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือกเป็นนักเรียนที่ผู้ปกครองมีความสามารถใน การจ่ายเท่านั้น ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกยวข้องควรทบทวน กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนทางเลือก และควรสนับสนุนให้ นักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012