การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก
by นริศรา จริยะพันธุ์
Title: | การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก |
Other title(s): | A study of the instructional management and the effectiveness of alternative schoolsstudy on Ban Khum Dam Project |
Author(s): | นริศรา จริยะพันธุ์ |
Advisor: | อัญชนา ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | ปริญญาโท |
Degree discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2012 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2012.26 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่ มผู้ปกครอง จาก 7 โรงเรียนตาม 7 แนวคิดในการจัดการศึกษา ได้แก แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ด้วยปัญญา แนวคิดวิถีพุทธ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสต์ แนวคิดไฮสโคป แนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และแนวคิดมอนเตสซอรี่ ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนทางเลือกทุกโรงเรียนมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ผู้เรียนเป็นสําคัญโดยคํานึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ผ่านการลงมือทํา และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอย่างหลากหลาย แต่การจัดการเรียนการสอน ที่แตกต่างกัน คือ การจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรม และวิธีการประเมินผล ผู้เรียน สําหรับการจัดทรัพยากรทางการศึกษานั้นโรงเรียนทางเลือกส่วนใหญ่จัดให้มีการใช้สื่อ อุปกรณ์ และการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สําหรับแหล่งที่มาของรายได้ การคัดเลือก ครูผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและห้องเรียน และการใช้เทคโนโลยีสําหรับการเรียนรู้ ของแตละโรงเรียนมีความแตกต่างกน การศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจตอแนวคิด วิธีการเรียนการสอน คุณลักษณะของครูผู้สอนและผู้บริหาร และ ผลลัพธ์ที่เกิดขึนกับผู้เรียน แต่ยังคงมีผู้ปกครองบางส่วนที่มีความกังวลใจต่อโรงเรียนทางเลือกเรื่อง การเข้าศึกษาต่อ และการปรับตัวของนักเรียน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา จาก สมศ.ของทุกโรงเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยอยูในระดับดีถึงดีมาก นอกจากนีโรงเรียนทางเลือกยังได้รับ การยอมรับให้เป็นรูปแบบที่จะนําไปใช้ และได้มีการเผยแพร่นวัตกรรมของโรงเรียนโดยการเป็น วิทยากรและที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานที่สนใจนํานวัตกรรมไปปรับใช้ แต่จากการศึกษายังคงพบว่า นักเรียนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือกเป็นนักเรียนที่ผู้ปกครองมีความสามารถใน การจ่ายเท่านั้น ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกยวข้องควรทบทวน กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนทางเลือก และควรสนับสนุนให้ นักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือก |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012 |
Subject(s): | การสอน
ระบบการเรียนการสอน |
Keyword(s): | โรงเรียนทางเลือก |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 188 แผ่น ; 30 ซม. |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1091 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|