• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก

by นริศรา จริยะพันธุ์

ชื่อเรื่อง:

การศึกษาการจัดการเรียนการสอนและประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

A study of the instructional management and the effectiveness of alternative schoolsstudy on Ban Khum Dam Project

ผู้แต่ง:

นริศรา จริยะพันธุ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

อัญชนา ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อปริญญา:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

ปริญญาโท

สาขาวิชา:

รัฐประศาสนศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2555

ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ):

10.14457/NIDA.the.2012.26

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษา การจัดทรัพยากรทางการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาวิจัยจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มครูผู้สอน และกลุ่ มผู้ปกครอง จาก 7 โรงเรียนตาม 7 แนวคิดในการจัดการศึกษา ได้แก แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ ด้วยปัญญา แนวคิดวิถีพุทธ แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสต์ แนวคิดไฮสโคป แนวคิดวอลดอร์ฟ แนวคิดเรกจิโอ เอมิเลีย และแนวคิดมอนเตสซอรี่ ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนทางเลือกทุกโรงเรียนมีลักษณะการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น ผู้เรียนเป็นสําคัญโดยคํานึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ผ่านการลงมือทํา และการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะอย่างหลากหลาย แต่การจัดการเรียนการสอน ที่แตกต่างกัน คือ การจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรม และวิธีการประเมินผล ผู้เรียน สําหรับการจัดทรัพยากรทางการศึกษานั้นโรงเรียนทางเลือกส่วนใหญ่จัดให้มีการใช้สื่อ อุปกรณ์ และการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สําหรับแหล่งที่มาของรายได้ การคัดเลือก ครูผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและห้องเรียน และการใช้เทคโนโลยีสําหรับการเรียนรู้ ของแตละโรงเรียนมีความแตกต่างกน การศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนทางเลือก พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจตอแนวคิด วิธีการเรียนการสอน คุณลักษณะของครูผู้สอนและผู้บริหาร และ ผลลัพธ์ที่เกิดขึนกับผู้เรียน แต่ยังคงมีผู้ปกครองบางส่วนที่มีความกังวลใจต่อโรงเรียนทางเลือกเรื่อง การเข้าศึกษาต่อ และการปรับตัวของนักเรียน ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา จาก สมศ.ของทุกโรงเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ยอยูในระดับดีถึงดีมาก นอกจากนีโรงเรียนทางเลือกยังได้รับ การยอมรับให้เป็นรูปแบบที่จะนําไปใช้ และได้มีการเผยแพร่นวัตกรรมของโรงเรียนโดยการเป็น วิทยากรและที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานที่สนใจนํานวัตกรรมไปปรับใช้ แต่จากการศึกษายังคงพบว่า นักเรียนที่สามารถเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือกเป็นนักเรียนที่ผู้ปกครองมีความสามารถใน การจ่ายเท่านั้น ข้อเสนอแนะหลักของการศึกษา คือรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกยวข้องควรทบทวน กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนทางเลือก และควรสนับสนุนให้ นักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนทางเลือก

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การสอน
ระบบการเรียนการสอน

คำสำคัญ:

โรงเรียนทางเลือก

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

188 แผ่น ; 30 ซม.

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1091
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • nida-ths-b176603.pdf ( 4.21 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×