• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบ้านกุ่ม

by รจนา คำดีเกิด

Title:

การศึกษาความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขง จังหวัดอุบลราชธานี จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบ้านกุ่ม

Other title(s):

Community right awareness in management and protection of natural resources, culture and way of life of people in the greater mekong of Ubon Ratchathani Province a case study on Ban Khum Dam Project

Author(s):

รจนา คำดีเกิด

Advisor:

กฤษ เพิ่มทันจิตต์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2011

Digital Object Identifier (DOI):

10.14457/NIDA.the.2011.38

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของคนลุ่มนํ้ าโขง จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงศึกษาการรวมกลุ่ม การสื่อสาร ความตื่นตัว รูปแบบ ความตื่นตัว และปัจจัยที่มีผลต่อความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชน ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนลุ่มนํ้ าโขง จังหวัดอุบลราชธานี จากโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าเขื่อนบ้าน กุ่ม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา เน้นที่ชาวบ้านในชุมชน วิธีการศึกษาใช้ วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบ ไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าคนลุ่มนํ้ าโขงจังหวัดอุบลราชธานีมีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มนํ้าโขงเป็นอย่างมาก มีการสื่อสารเรื่องเขื่อนในหลายรูปแบบ มีความ ตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการและปกป้ องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต จากโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าเขื่อนบ้านกุ่ม ในสามลักษณะ คือ เพิกเฉย คัดค้าน และยอมรับเขื่อน มี รูปแบบความตื่นตัวในรูปแบบต่างๆ คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชุมชน การแสดงออกต่อ สาธารณะ การสอบถามข้อมูลจากภาครัฐ การแลกเปลี่ยนระหวางชุมชนที่เคยได้รับผลกระทบเรื่อง เขื่อน การศึกษาดูงาน และการเตรียมรับมือกบเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อความตื่นตัว ดังกล่าว แบ่งออกเป็ น 2 ปัจจัย คือ หนึ่ ง ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาครัฐ บริษัทเอกชน นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ชุมชนที่เคยมีบทเรียนเรื่องเขื่อน และสื่อต่างๆ สอง ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นํา ชุมชน การประเมินผลประโยชน์และผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของชุมชน การรับรู้และความ เชื่อมันในสิทธิของชุมชน รวมทั้งการตัดสินใจรับข้อมูลของคนในชุมชนด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ หนึ่ง ความเข้าใจเรื่องสิทธิชุมชนของชาวบ้านมี นิยามที่ต่างจากนักวิชาการ เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความผูกพันหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน สองความคิดเห็นในเรื่องเขื่อนมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งอาจเป็น การเปลี่ยนแปลงแบบส่งเสริมความรู้เดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากความรู้เดิมก็ได้ สามความขัด แย้งทางความคิดของชาวบ้านในเรื่องเขื่อน เป็นผลมาจากความขัดแย้งของแนวคิดการพัฒนา 2 กระแส ที่มาปะทะกน คือ หนึ่ง กระแสการพัฒนาที่มาจากแนวคิดทําให้ทันสมัย สอง กระแสการพัฒนาที่เน้นความยังยืน สี่ ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิชุมชนกรณีเขื่อนบ้านกุ่ม ไม่ได้สัมพันธ์กบั ระดับการศึกษาแต่สัมพันธ์กบความรักและความหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถี ชีวิตของคนในชุมชน ห้า ความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนของชาวบ้านต่อเขื่อนบ้านกุ่ม มีผลในทาง จิตวิทยา หน่วยงานต่างๆของภาครัฐต่างปฏิเสธถึงการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ หกการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านโครงการไฟฟ้ าพลังนํ้ าเขื่อนบ้านกุ่ม เป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ โดยรัฐ จะต้องมีความรอบคอบต่อระเบียบวิธีที่ถูกต้องตามกฎหมายและให้ความสําคัญกับภาคประชาชน มากขึ้น ในส่วนของประชาชน ก็ควรเรียนรู้วิธีรับมือกบโครงการต่างๆของรัฐที่จะเข้ามากระทบต่อ วิถีชีวิตของชุมชน ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ก่อนที่จะมีโครงการใดๆของรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ควรศึกษาและประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม และจัดให้มีการให้ข้อมูลและ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเสียก่อน ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เจ้าหน้าที่รัฐต้องยึด หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ต้องทําการผสานประโยชน์ของฝ่ ายต่างๆให้ได้ก่อนที่จะเกิด ข้อตกลงในการทําโครงการใดๆ ในส่วนของประชาชน ควรใส่ใจตื่นตัวหาข้อมูลกับสิ่งต่างๆที่จะ เกิดขึ้นกบชุมชน เพื่อรู้เท่าทันถึงประโยชน์หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในกรณีที่เกิดความคลุมเครือของ ข้อมูล ประชาชนควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลจากฝ่ ายต่างๆ พึงพิจารณาด้วยเหตุและผล ไม่หลงเชื่อข้อมูลที่มีที่มาไม่ชัดเจน นักพัฒนาเอกชนควรให้ข้อมูลที่เป็ นจริง ไม่โอนเอียงแก่ชาวบ้าน และควรร่วมมือกนกั บภาครัฐเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ถูกต้อง ความขัดแย้งระหว่างนักพัฒนาเอกชน และภาครัฐในปัจจุบัน ทําให้การพัฒนาเป็นเสมือนทางสองแพร่ง หากทั้งสองภาคส่วนเปิดใจและ ประนีประนอมกนมากขึ้น การพัฒนาก็จะดําเนินต่อไปได้ภายใต้ความยั่งยืน

Description:

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011

Subject(s):

สิทธิชุมชน -- ไทย -- อุบลราชธานี
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย -- อุบลราชธานี
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- อุบลราชธานี -- การมีส่วนร่วมของประชาชน

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

294 แผ่น ; 30 ซม.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1095
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b176599.pdf ( 8,359.26 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×